“อาคม” ร่วมประชุมADB เกาหลี พร้อมจับเข่าหารือ ทวิภาคีศก.ภาคเอกชน

รมว.คลังของไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB ที่ สาธารณรัฐเกาหลี และ ร่วมสัมมนา “Policies to Support Asia’s Rebound” พร้อมหารือ ทวิภาคีด้านเศรษฐกิจกับผู้บริหารภาคเอกชน

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ ADB ในฐานะผู้ว่าการของประเทศไทยใน ADB ระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี โดยในวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุม ซึ่งมีนาย Yoon Suk Yeol ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประธานกล่าวเปิดประชุม โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือที่แน่นเฟ้นของประเทศสมาชิก สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีความเข้มแข็งด้านการผลิตชิ้นส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor) จะสนับสนุนการผลิตในห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกและในระดับโลก และได้กล่าวถึงความร่วมมือระหว่าง ADB และสาธารณรัฐเกาหลีที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเริ่มตั้งแต่โครงการทางพิเศษแห่งแรกของประเทศในปี 2511

นาย Makatsugu Asakawa ประธาน ADB ได้แถลงต่อที่ประชุมถึงวิวัฒนาการของ ADB ที่ผ่านมาและได้กล่าวว่าสถานการณ์ปัจจุบันส่งผลให้ ADB มีความจำเป็นต้องวิวัฒนาการอย่างสำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดย ADB จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับการดำเนินการใน3 ด้านได้แก่(1) ตอบสนองและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (2) เป็นผู้นำในด้านการลงทุนในสินค้าสาธารณะระดับโลก (3) เป็นผู้นำในการเพิ่มแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาของโลกจากระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ยังได้เข้าร่วมการสัมมนาหัวข้อ “Policies to Support Asia’s Rebound” ซึ่งมีผู้ว่าการจากประเทศสมาชิกแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการดำเนินนโยบายที่สนับสนุนการฟื้นตัวของแต่ละประเทศ และได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกับผู้บริหารระดับสูงของภาคเอกชนเพื่อหารือในประเด็นเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การเงินสีเขียวและการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางการเงินเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม ทั้งนี้ หน่วยงานภาคเอกชนได้ชื่นชมพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศไทยและแสดงความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยต่อไป.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password