ชิงถล่ม!

โลกแห่งความเป็นจริง! ในวันที่ “ผู้นำ” ตกอยู่ในสถานการณ์เพลี้ยงพล้ำ? คะแนนนิยมตกต่ำ! จะด้วยปัจจัยและเหตุผลใดก็ตาม หลายคนในหลายๆ ครั้ง ได้กระทำการบางอย่าง? ที่เป็นมากกว่า…การดึงเอาคะแนนนิยมกลับคืนมา นั่นคือ…การรักษาอำนาจทางการเมือง

ในอดีต “ผู้นำ” หลายชาติ ประกาศกลยุทธ์ในการทำสงครามกับศัตรู ก็เพื่อ…เบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาในประเทศ, กระตุ้นกระแสชาตินิยม และต้องการจะรวมศูนย์อำนาจไว้กับตัว

มีหลายกรณีศึกษาที่น่าสนใจ…

ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศทำสงครามเวียดนามและกัมพูชา (1970) เพราะตัวเองกำลังเผชิญวิกฤต Watergate และการต่อต้านสงครามเวียดนาม โดยการประกาศขยายการโจมตีเข้าไปในกัมพูชา ทั้งที่ไม่เคยประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ

นายกรัฐมนตรี มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ แห่งอังกฤษ ประกาศสงครามกับรัฐบาลอาร์เจนตินา เพื่อทวงคือหมู่เกาะฟอล์กแลนด์” (1982) เพราะรัฐบาลของเธอกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ การว่างงาน และคะแนนนิยมต่ำ

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ประกาศสงครามกับยูเครน (2022) เพื่อหวังจะกระตุ้นกระแสชาตินิยม และเบี่ยงเบนความสนใจจากปัญหาภายใน ทั้งเรื่องเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การคอร์รัปชันในระบบและการประท้วงที่มีเพิ่มขึ้น

นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู อิสราเอล ใช้นโยบายแข็งกร้าวกับปาเลสไตน์ (2023-2024) พร้อมกับเปิดฉากโจมตีหนักในดินแดน “ฉนวนกาซา”

นั่นแค่บางส่วน ความเป็นจริงยังมีมากกว่านี้เยอะ

หันกลับมาที่ประเทศไทย!…ในวันที่หลายสิ่งหลายอย่างไม่เป็นใจกับ “รัฐบาลแพทอง” และ คนเป็นพ่อ อย่าง…นายทักษิณ ชินวัตร ทั้งในเรื่อง…

อุดมการณ์ในทางการเมืองตกต่ำถึงขั้นติดลบ

การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่ไร้ประสิทธิภาพ เงินหายไปจากระบบแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จีดีพีก็หดตัวลงทุกวัน ทำให้ช่องว่างระหว่างคนจน…คนรวย ยิ่งห่างกันมากยิ่งขึ้น ปัญหาหนี้สินทั้งในระดับหนี้สาธารณะ (ของรัฐบาล) และหนี้สินภาคครัวเรือน (ของคนไทย) ก็ไม่ได้ดีขึ้นสักเท่าใด?

กระทบคะแนนนิยมทั้งต่อตัวคน (ตระกูลชินวัตร), ต่อรัฐบาล และต่อพรรคเพื่อไทย

แม้ภาพความเป็นจริง กองทัพกับรัฐบาลเพื่อไทย จะไม่ได้เป็น “เนื้อเดียวกัน” มาตั้งแต่ปีแรกๆ ที่ นายทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาลไทยรักไทย นับแต่ปี 2544 มาเป็นต้นมา ก็ตาม

ทว่า…ในสถานการณ์ที่ฝั่งกัมพูชา วางทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (Anti-Personnel Landmines) บริเวณเนิน 481 ในพื้นที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี ต่อมาพบว่าเป็น PMN-2 ซึ่งผลิตในรัสเซีย กระทั่ง ทหารไทยได้รับบาดเจ็บถึงขั้นขาดขาด เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 16 ก.ค.2568

ถือเป็นการกระทำผิดตามอนุสัญญาออตตาวา (Ottawa Treaty)

ล่าสุด ผลสรุปของกองทัพไทย ชี้ชัดว่า…ทุ่นระเบิดดังกล่าวเป็นการ “วางใหม่” ของทหารกัมพูชา และจุดที่ยืนยันได้ชัดเจนคือ…ทุนระเบิดดังกล่าวตั้งอยู่ในอยู่ในพิกัดที่เคยระบุว่าเป็นพื้นที่ หรือเขตที่ได้เคลียร์ระเบิดไปแล้ว (Mine-Free Zone) อีกทั้งชนิดของระเบิด…ก็เป็นแบบผลิตใหม่ ที่ไม่มีในบัญชีระเบิดเดิม

ยิ่งเมื่อ ตรวจสอบจากภาพถ่ายดาวเทียม จะพบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของทหารกัมพูชา แล้วยังมีการรายงานจากหน่วยในพื้นที่และชาวบ้านที่พบเห็น…ทหารกัมพูชา มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยและอาจเชื่อมโยงไปถึงวางการทุ่นระเบิดสังหาร PMN-2

ข้อมูลและเหตุปัจจัยข้างต้นทั้งหลายทั้งปวง “รัฐบาลแพทองธาร” มีทางเลือก 2 ทางหลัก กล่าวคือ….

1.เลือกใช้แนวทางสันติวิธี ด้วยการนำเสนอข้อมูลในทุกมิติ เพื่อยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ ที่ประชุมภาคีอนุสัญญาออตตาวา ตามมาด้วยการแจ้งตรงถึง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) หากเห็นว่าการกระทำดังกล่าวกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคง รวมถึงยืนเรื่องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เพราะกองทัพกัมพูชาได้ทำการละเมิดอนุสัญญาออตตาวาอย่างเป็นระบบ

ควบคู่ไปกับการที่รัฐบาลไทย เร่งรัดดำเนินการทางการทูตด้วยการ “ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต” จากระดับเอกอัครราชทูต เหลือเพียงอุปทูต จากนั้น…

“เรียกทูตไทยกลับ” (Recall Ambassador) อันเป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจในระดับรุนแรง ขณะเดียวกันก็ “ไล่ทูตกัมพูชา” (Persona non grata) ออกจากประเทศไทย แล้วประกาศให้ “เอกอัครราชทูตกัมพูชา” เป็นบุคคลไม่พึงปรารถนา

หรือ อีกแนวทาง อันเป็นแนวทางที่ “ผู้นำ” หลายชาติ เคยทำกันไว้ เช่นที่ได้เกริ่นเอาไว้ในตอนต้น กล่าวคือ 2.ประกาศสงครามกับกัมพูชา เพื่อทั้งเรียกคืนคะแนนนิยมกลับคืนมา และเพื่อ การรักษาอำนาจทางการเมือง เอาไว้

อย่างที่บอก…แม้ในอดีต กองทัพกับรัฐบาลทักษิณ และรัฐบาลเครือข่ายที่มีตามมา จะไม่เป็นเนื้อเดียวกันมาก่อน แต่ในสถานการณ์นี้ ที่ทหารไทยได้รับบาดเจ็บถึงขั้นพิการขา จากทุ่นระเบิดที่ทหารกัมพูชาวางเอาไว้

ดังนั้น การมี “ศัตรูร่วมกัน” ระหว่าง…นายทักษิณ และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ กองทัพไทย ก็ไม่แน่ว่า…สิ่งที่หลายๆ คนวิเคราะห์เชิงลึกทำนอง…ที่กองทัพไทยจะประกาศสงครามกับกัมพูชา มีน้อยถึงน้อยมาก…

เพราะได้ไม่คุ้มเสีย!!!

หรือหากจะมี ก็เป็นได้แค่…การปะทะในระดับท้องถิ่น (Localized Skirmish) เช่น เหตุปะทะกันแบบ “สงครามจำกัดพื้นที่” (Limited Border Conflict) คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นบริเวณปราสาทพระวิหารในช่วงปี 2551-2554 แต่จะไม่ใช่การประกาศสงครามอย่างเต็มรูปแบบ

ถึงขั้น บูรณาการทั้ง 3 เหล่าทัพ “บก – เรือ – อากาศ” โจมตีกัมพูชา พร้อมกันทุกทิศทุกทาง…ไม่น่าจะเกิดขึ้น!!!

อีกทั้งในกัมพูชาที่มีทุนจีนสยายปีกเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนเงินมหาศาล รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทั้งทุนสหรัฐฯ อียู ญี่ปุ่น แม้กระทั่ง ทุนจีนเอง ก็เข้ามาลงอย่างมากมาย

บรรดา “ขาใหญ่” ไม่อยากเห็นสงครามเกิดขึ้นในย่านนี้ เพราะเกรงจะกระทบธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่พวกเขาได้ทุ่มทุนลงขันเอาไว้เป็นจำนวนมหาศาล

ทว่าเมื่อถึงระดับที่ต้องตัดสินใจ…ก็ไม่แน่ว่าทั้ง “ทักษิณ – แพทองธาร” และกองทัพไทย จะไม่ทำอะไรสักอย่าง? เพื่อเป็นการรักษาหน้าและสางแค้นกัมพูชาในคราวเดียวกัน

ส่วนใครจะมีผลประโยชน์แฝงถึงขั้น…ต้องการดึงเอาคะแนนนิยมกลับคืนมา และการรักษาอำนาจทางการเมืองของตัวเอง ก็ช่างปะไร???

วันนี้…คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหมไหนอีกแล้ว…ขอแค่ รัฐบาลและกองทัพไทย ชิงถล่ม! กัมพูชา ให้สิ้นซากในทุกทิศทุกอย่างไปก่อน

อย่างอื่นค่อยมาว่ากันทีหลัง!!!.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password