“ธนชาตประกันภัย” ร่วมสืบสานงานบุญประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต 

ธนชาตประกันภัย ร่วมสืบสานประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต ปี 2565 มั่นใจปีนี้กลับมาจัดเต็มรูปแบบเรียกความคึกคักให้กับพื้นที่ได้อีกครั้งคาดดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนและฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน พร้อมเชิญชวนคนเที่ยวงาน อิ่มกาย สบายใจ ได้บุญ วันที่ 26 กันยายน – 4 ตุลาคม

นางวิชินี โอรพันธ์ Chief Sales Channels Officer บมจ.ธนชาตประกันภัย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิดที่คลายตัวลงและภาครัฐสนับสนุนภาคธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือกระตุ้นให้ท่องเที่ยวในประเทศ รวมถึงจากข้อมูลที่เราได้ศึกษาเกี่ยวพฤติกรรมของประชาชนซึ่งรวมถึงลูกค้าของธน ชาตประกันภัยที่มีอยู่กว่า 1 ล้านราย พบว่ามีความต้องการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพื่อชดเชยช่วงเวลาจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดังนั้น แผนการส่งเสริมการตลาดของบริษัทฯ ในปีนี้ จึงได้ร่วมมือกับทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี พันธมิตรธุรกิจ สนับสนุนการจัดงานประเพณีของแต่ภูมิภาคมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานเทศกาลสงกรานต์ จ.ขอนแก่น

และได้สนับสนุนการจัดงานประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต ปี 2565 ให้กับ 7 ศาลเจ้าได้แก่ ศาลเจ้าท่าเรือ ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ศาลเจ้าปุดจ้อ ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สะพานหิน ศาลเจ้ากวนอู บ้านนาบอน ศาลเจ้าบางเหนียว และศาลเจ้ากะทู้ ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 4 ตุลาคมนี้ เพื่อร่วมแรงร่วมใจในการสืบสานและเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่มีมานานกว่า 200 ปี

โดยการจัดงานปีนี้จะกลับมาจัดกิจกรรมเต็มรูปแบบอีกครั้งหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 คลี่คลาย และเป็นการเปิดรับนักท่องเที่ยวด้วยเทศกาลงานประเพณียิ่งใหญ่ที่ขึ้นชื่อว่าได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เชื่อว่าจะทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยในพื้นที่กลับมาคึกคัก ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและโดยภาพรวมของประเทศ

นางวิชินี กล่าวต่อไปว่า เทศกาลถือศีลกินผัก (กินเจ) ของ จ.ภูเก็ต ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงและจัดกิจกรรมได้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ และถือเป็นหนึ่งในเทศกาลของ จ.ภูเก็ตและภาคใต้ที่ได้รับความนิยม โดยปีนี้จังหวัดได้เปิดกว้างให้ทุกศาลเจ้า หรือ “อ๊าม” กลับมาจัดงานได้เต็มรูปแบบ ให้ควบคุมดูแลกันเองเรื่องมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ทั้งนี้ นอกจากพิธีอัญเชิญและขบวนแห่เทพเจ้าจากศาลเจ้า หรือ “อ๊าม” ซึ่งแต่ละแห่งมีเทพเจ้าที่สถิตอยู่แตกต่างกันแล้ว แต่ละวันศาลเจ้าในพื้นที่ยังมีการจัดกิจกรรมและประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเข้าร่วมได้ทุกวันตลอดการจัดงาน ทั้งพิธีโกกุ้น หรือเลี้ยงอาหารทหารที่รักษาศาลเจ้า ,พิธีโก้ยห่าน หรือ สะเดาะเคราะห์, พิธีโก้ยโห้ย (พิธีลุยไฟ) พิธีซงเก้ง (สวดมนต์) ฯลฯ รวมถึงการจำหน่ายอาหารเจจากร้านอาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกว่า 100 ร้านค้า.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password