ส.ว.ฟ้องเอาผิด ม.157 ‘มานะพงษ์’ ออกหมายจับมิชอบ – ศาลนัดอีกครั้ง 11 เม.ย.นี้

“สว.อุปกิต” ส่งทนายฟ้อง อดีต “สารวัตรมานะพงษ์” ผิดรวดหลายมาตรา 91, 157 และ 200 วรรคสอง พ่วงผิดตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2561 มาตรา  4 และมาตรา 172 พร้อมยื่นศาลออกหมายจับโดยมิชอบ ด้านศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 11 เม.ย.66

เมื่อวันที่ 24 มี.ค.2566 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ, นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)  มอบอำนาจให้ทนายความเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.มานะพงษ์ วงศ์พิวัฒน์ อดีตสารวัตร กองกำกับการสืบสวน2 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล(อดีตสว.สส.กก.2 บช.น.)

โดยคำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า ตามคำร้องขอหมายจับโจทก์ของจำเลย จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มี อำนาจสืบสวนคดีอาญา เป็นตำแหน่งในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในวันที่ 3 ต.ค.65  จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอหมายจับพร้อมกับพยานเอกสารประกอบคำร้องขอหมายจับโจทก์ต่อศาลอาญา เพื่อขอให้ ศาลอาญาพิจารณาออกหมายจับโจทก์ ซึ่งจำเลยเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ได้ทำการสืบสวนมาโดย ตลอด และจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า โจทก์มีสถานะหรือดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นข้าราชการทางการเมืองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบกับมีพยานหลักฐานอย่างชัดเจนโดยไม่ต้องสืบค้นว่า โจทก์มีที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยอย่างเป็น หลักแหล่ง สามารถออกหมายเรียกให้มาพบได้โดยง่าย และก็ไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนีหรือมีพฤติการณ์ ที่จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานในคดีนี้ได้เลย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีอยู่ แล้ว   แต่จำเลยกลับไปยื่นคำร้องขอหมายจับโจทก์ต่อศาลอาญา โดยฝ่าฝืนต่อคำสั่งสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ (ตร.) ที่ 419/2556ลง 1 ก.ค.56

อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้ผู้พิพากษาเวรทราบ ด้วยวาจาอีกครั้งขณะผู้พิพากษาเวรทำการไต่สวน ว่าโจทก์เป็นสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้ผู้พิพากษาเวรของ ศาลอาญาได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการ ออกคำสั่งหรือหมายอาญา พ.ศ.2548 และฉบับที่ 2-5 ประกอบ กับป.วิอาญามาตรา มาตรา 58-68 และคำสั่งของศาลอาญาที่ 110/2565 เพราะการออกหมายจับบุคคลทางการเมือง เป็นที่สนใจของประชาชน และมีผลกระทบต่อฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศไทย เพื่อจะได้พิจารณาการขอ ออกหมายจับบุคคลดังกล่าวนั้นและจะได้มีการประชุมปรึกษาหารือให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับ ของประธานศาลฎีกากำหนดไว้ด้วยเช่นเดียวกับการขอออกหมายจับบุคคลสำคัญในคดีสำคัญอื่นๆ ที่ผ่าน มา แต่ในคำร้องขอหมายจับจำเลยได้พิมพ์ระบุว่า โจทก์เป็นสมาชิกวุฒิสภาครั้งเดียวในหน้าที่ 2 ของคำร้อง ขอหมายจับ ประกอบกับเนื้อหารายงานการสืบสวนซึ่งเป็นพยานเอกสารประกอบคำร้องขอหมายจับ โจทก์ ไม่มีการสั่งการของผู้กำกับการสืบสวน 2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ผกก.สส.2 บช.น.)ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือ ตนโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่แสดงให้เห็นได้ว่าผู้บังคับบัญชาของจำเลยได้พิจารณาแล้วและได้สั่งการให้ จำเลยมาขอออกหมายจับโจทก์ต่อศาลอาญา เพื่อให้ชอบด้วยกฎหมายและคำสั่งของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ

ดังนั้น การมายื่นคำร้องขอหมายจับโจทก์ต่อศาลอาญาของจำเลย เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยผู้บังคับบัญชาเหนือตนของจำเลย ไม่ได้ทราบและไม่ได้สั่งการให้จำเลยมาขอหมายจับโจทก์ต่อศาล อาญา เป็นการนึกคิดเอาเองโดยไม่รอคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเหนือตนที่มีหน้าที่ในการกำกับการ ดูแล และควบคุม เพื่อให้ไปตามกฎหมายและคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงพฤติการณ์อื่นๆ ตามที่ปรากฎ

พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวข้างต้นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นเจ้า พนักงานตำรวจที่มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา แต่ไม่มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาและไม่มีอำนาจไปขอหมายจับโจทก์และไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเหนือตนให้ไปขอหมายจับโจทก์ และไม่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ซึ่งคดีนี้อยู่ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนแล้ว และจำเลยได้รวบรวมพยานหลักฐานจากการสืบสวน เป็นภาพการสนทนาทางโทรศัพท์ของโจทก์กับ Mr.Tum Min Latt ผู้ต้องหาที่ได้ถูกจับกุมไปแล้ว โดยเป็นการสนทนากันเป็นภาษาอังกฤษระหว่างกัน แต่ จำเลยได้ทำการแปลและอธิบายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานที่ปรากฏที่ แท้จริง และไม่มีล่ามแปลรับรองเนื้อหาแห่งความถูกต้องในพยานหลักฐานดังกล่าว แต่จำเลยได้ทำการ แปลและอธิบายและรับรองเอกสารความถูกต้องด้วยตนเอง เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า  ฝ่ายโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาที่ถูกจับไปแล้ว เพื่อให้ศาลอนุมัติออกหมายจับโจทก์ให้จงได้ ประกอบกับจำเลยได้ทำ หนังสือรายงานการสืบสวนและกล่าวโทษโจทก์ ตามฐานความผิดดังกล่าว เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตน โปรดพิจารณา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องมีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติและต้องรอคำสั่งของ ผู้บังคับบัญชาของตนว่าจะให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างไร แต่จำเลยกลับไปขอหมายจับโจทก์โดยไม่ทำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เท่ากับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยในการขอหมายจับโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ โจทก์ อาจทำให้สูญเสียเสรีภาพและชื่อเสียงที่ได้สร้างสะสมมายาวนานและความเสียหายต่อทรัพย์สิน และการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและหน่วยงานของรัฐอีก ด้วยและสุ่มเสี่ยงที่จะถูกฟ้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายจากต้นสังกัดของจำเลยซึ่งสุดท้ายอาจต้องนำเงิน ภาษีของประชาชนมาชำระค่าเสียหาย และยังเป็นการกระทำการเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้องได้รับโทษทาง อาญา

ดังนั้น การกระทำของจำเลยเช่นนี้ อันเป็นความผิดฐาน “เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มี อำนาจสืบสวนคดีอาญา ได้กระทำการหรือไม่กระทำการนั้น เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด ต้องรับโทษทางอาญา และเจ้าพนักงานของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด”

อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคสอง และ พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2561 มาตรา  4และมาตรา 172  เหตุเกิดที่ ศาลอาญา และกองบัญชาการตำรวจนครบาลต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน

โดยศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเพื่อมีคำสั่งหรือคำพิพากษา ชั้นตรวจคำฟ้องวันที่ 11 เม.ย.เวลา 09.30 น.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password