สรรพากรรีดภาษีปี’67 เข้าเป้า! ปีหน้าตั้งสูง 2.76 ลล. – จ่อแก้ Pillar 2 เก็บภาษีคนอยู่ในไทยเกิน 180 วัน ทันที!

“อธิบดีกรมสรรพากร” เผย! กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศดีขึ้น ทำผลจัดเก็บรายได้ 11 เดือนแรกปี 2567 เกินเป้าเล็กน้อยที่ 1.963 ล้านล้านบาท มั่นใจรายได้ทั้งปีเกินเป้า 2.3725 ล้านล้านบาทแน่ ส่วนเป้าจัดเก็บรายได้ปี 2568 ออกมาแล้วที่ 2.767 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.2%

พร้อมเดินหน้ายกระดับ ตามนโยบาย “SMILE RD” มุ่งหน้าสู่ Digital First เต็มรูปแบบ หนึ่งในนั้นมีเสนอแก้กฎหมาย Pillar 2 จัดเก็บรายได้บุคคลที่อาศัยในไทยเกิน 180 วันใน 1 ปี ต้องยื่นคำนวณเสียภาษีเงินได้ฯ โดยไม่ต้องรอให้นำเงินเข้าประเทศอีกแล้ว ระบุ! ต้นปีหน้า ประกาศใช้ ภงด.3 ทางอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้การยื่นเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ทำได้ง่ายขึ้น มั่นใจ ถือข้อมูลผู้มีรายได้ที่ต้องยื่นภาษีฯครบเกือบ 100%  

อธิบดีกรมสรรพากร ย้ำว่าโดยหลักการ บุคคลผู้มีรายได้ย่อมต้องเสียภาษีเงินได้ฯ ทั้งนี้ บุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันใน 1 ปี (นับรวมกัน) เมื่อมีรายได้ในต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมฯจะจัดเก็บภาษีต่อเมื่อมีการนำเงินรายได้เข้าประเทศมาแล้วเท่านั้น แต่หากกฎหมายผ่านสภาฯจนประกาศใช้ออกมาแล้ว จะต้องเสียภาษีไม่ว่าจะนำเข้าหรือยังไม่นำเข้าก็ตาม (ตามหลักการ Pillar 2) โดยหากรายได้เกิดขึ้นในประเทศที่มี “อนุสัญญาภาษีซ้อน” กับประเทศไทย ก็จะถูกนำมาคำนวณเพื่อชำระภาษี เช่น หาก นาย ก. มีรายได้จากประเทศหนึ่ง ที่จัดเก็บภาษีเงินได้ฯเฉลี่ยร้อยละ 20 หากในประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีเงินได้ฯที่อัตราร้อยละ 30 นาย ก. ก็จะต้องมีภาระภาษีเงินได้ฯที่จะต้องจ่ายเพิ่มอีกร้อยละ 10 ขณะเดียวกัน หากประเทศที่มีรายได้มีการจัดเก็บภาษีเงินฯเกินกว่าอัตราที่จัดเก็บในประเทศไทย ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่จะไม่ได้รับคืนเงินภาษีส่วนที่จ่ายเกินไปแล้ว เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้จัดเก็บภาษีและไม่มีรายได้ในส่วนนี้ นอกจากนี้ หากประเทศที่มีรายได้และไม่มี “อนุสัญญาภาษีซ้อน” ก็จะต้องเสียภาษีเต็มจำนวน

“การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายตัวนี้ ครอบคลุมทั้งคนไทยที่มีรายได้ในต่างประเทศและอาศัยอยู่ในประเทศเกิน 180 วันตลอด 1 ปี รวมถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันด้วย” น.ส.กุลยา กล่าวและว่า หลังจาก กรมสรรพากรสามารถต่อยอดการกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงต้นปีหน้า จะทำให้กรมฯมีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลผู้มีรายได้และจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีฯครบเกือบ 100% ซึ่งจะช่วยให้กรมฯมีข้อมูลมากพอจะใช้เพื่อการวางแผนเชิงนโยบายของรัฐ และจัดเก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึง การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรในช่วง11 เดือนของปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 – สิงหาคม 2567) ว่า สามารถจัดเก็บภาษีได้กว่า 1,963,205 ล้านบาทสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณฯ 8,482 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 47,911 ล้านบาทหรือกว่าร้อยละ 2.5 ส่วนหนึ่งสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับ มาตรการด้านภาษีของรัฐบาล ในช่วงที่ผ่านมา อาทิ มาตรการ “Easy E-Receipt” ที่ช่วยเหลือประชาชนและร้านค้าที่เข้าร่วมออก ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice & e-Receipt) ซึ่งเป็น มาตรการภาษีสำหรับประชาชนที่ใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากร้านค้าดังกล่าวสามารถนำมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2567 และ มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ ที่เป็นแรงส่งให้การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศ ยังคงขยายตัวได้ดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่าร้อยละ 7.7

ดังนั้น การที่กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมายที่กระทรวงการคลังได้มอบหมายไว้ เป็นส่วนสำคัญในการรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศเอาไว้ได้ ท่ามกลางสถานการณ์ที่เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ ณ ขณะจัดทำประมาณการปี 2567 ซึ่งคาดว่า GDP จะขยายตัวกว่าร้อยละ 3.2 แต่ล่าสุด สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ปรับลดแนวโน้ม GDP ปี 2567 ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.5 จากตัวเลข GDP ครึ่งปีที่ขยายตัวต่ำที่เพียงร้อยละ 1.9

ถือเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร ที่พร้อมใจกันขับเคลื่อนกรมสรรพากรให้เป็นองค์กรที่นำเทคโนโลยีมายกระดับการบริการ และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้จริง ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุตัวผู้เสียภาษี ที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี พร้อมกับส่งจดหมายแจ้งเตือนผู้เสียภาษีให้เข้าสู่ระบบภาษีหรือให้ชำระภาษีตามกำหนดเวลา การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีในการตรวจสอบและ Pre-Fill ข้อมูลเงินได้ สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านระบบ My Tax Account สำหรับผู้เสียภาษีที่ยืนยันตัวตนด้วย Digital ID ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เสียภาษีสามารถตรวจสอบข้อมูลทางภาษีได้สะดวกขึ้น ล้วนมีส่วนสนับสนุนให้การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปตามเป้าหมายทั้งสิ้น” อธิบดีกรมสรรพากร กล่าว และเพิ่มเติมว่า…

ปัจจุบันกรมสรรพากรได้มีกลยุทธ์ในการจัดเก็บภาษี “SMILE RD” ซึ่งเริ่มใช้ในปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียดคือ…

S : Simplification การทำภาษีให้ง่ายและไร้รอยต่อ

M : Modernization มีความทันสมัย

I : Inclusivity and Innovation มีความทั่วถึง และมีนวัตกรรมด้วย

L : Legality and Compliance ถูกต้องตามระเบียบและข้อกฎหมาย

E : Efficiency มีประสิทธิภาพ

R : Responsiveness ตอบสนองความต้องการทั้งเจ้าหน้าที่และผู้เสียภาษี

D : Digitization ปรับองค์กรมุ่งสู่ Digital First

ทั้งนี้ กรมสรรพากรยังคงเดินหน้าสานต่อนโยบาย “oneRD : ONE TEAM ONE SEAMLESS

TAX ECOSYSTEM” ตามที่ ปลัดกระทรวงการคลัง (นายลวรณ แสงสนิท) ได้ริเริ่มไว้ ทำภาษีให้ง่ายและไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น เตรียมความพร้อมสู่ระบบภาษีอากรที่เป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงต้นปี พ.ศ.2568 โดย กรมสรรพากรจะยกระดับบริการทางภาษีและแสดงข้อมูลทางภาษีให้ครบถ้วน โดยเปิดให้บริการ One Portal : My Tax เริ่มให้บริการ กลุ่มผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และต่อยอดการกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 ทางอิเล็กทรอนิกส์ เท่านั้น ซึ่งได้เริ่มใช้ในปีที่ผ่านมากับแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ก พิเศษ นอกจากนี้ ได้วางแผนการพัฒนา น้องอารีย์ Chatbot ด้วยการนำ ChatGPT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการตอบคำถาม ในมิติของการทำงานของเจ้าหน้าที่

กรมสรรพากร ยังมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการใช้เทคโนโลยี AI กับการประมวลผลข้อมูลภายในของกรมสรรพากร ร่วมกับข้อมูลที่ได้รับจากการเชื่อมโยง หรือแลกเปลี่ยนจากภายนอก เช่น ข้อมูลบัญชีทางการเงินที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ ข้อมูลบัญชีพิเศษ จากอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ข้อมูลที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศแบบอัตโนมัติ เป็นต้น ในการประเมินและวิเคราะห์หาพฤติกรรมของผู้เสียภาษี ซึ่งจะช่วยเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร

ในการจัดกลุ่มผู้เสียภาษีตามความเสี่ยงและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในมิติต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบก่อนการคืนเงินภาษี หากเป็นผู้เสียภาษีกลุ่มเสี่ยง ก็จะต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด ก่อนคืนเงินภาษี

สำหรับการสร้างความเป็นธรรมและความทั่วถึงในการจัดเก็บภาษีอากร กรมสรรพากร ยังคงให้ความสำคัญในการเสนอแนะและจัดทำนโยบายทางภาษีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน เช่น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขาย Low-Value Goods รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์หรือกฎหมายการจัดเก็บภาษีให้มีความทันสมัย โดย กรมสรรพากรอยู่ระหว่างเร่งเสนอกฎหมายและเตรียมความพร้อมรองรับการจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม ตามหลักการ Pillar 2 การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ที่กำหนดให้กลุ่มนิติบุคคลข้ามชาติขนาดใหญ่เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษี ที่แท้จริงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15

อธิบดีกรมสรรพากร ย้ำว่าโดยหลักการ บุคคลผู้มีรายได้ย่อมต้องเสียภาษีเงินได้ฯ ทั้งนี้ บุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันใน 1 ปี (นับรวมกัน) เมื่อมีรายได้ในต่างประเทศจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมฯจะจัดเก็บภาษีต่อเมื่อมีการนำเงินรายได้เข้าประเทศมาแล้วเท่านั้น แต่หากกฎหมายผ่านสภาฯจนประกาศใช้ออกมาแล้ว จะต้องเสียภาษีไม่ว่าจะนำเข้าหรือยังไม่นำเข้าก็ตาม (ตามหลักการ Pillar 2) โดยหากรายได้เกิดขึ้นในประเทศที่มี “อนุสัญญาภาษีซ้อน” กับประเทศไทย ก็จะถูกนำมาคำนวณเพื่อชำระภาษี เช่น หาก นาย ก. มีรายได้จากประเทศหนึ่ง ที่จัดเก็บภาษีเงินได้ฯเฉลี่ยร้อยละ 20 หากในประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีเงินได้ฯที่อัตราร้อยละ 30 นาย ก. ก็จะต้องมีภาระภาษีเงินได้ฯที่จะต้องจ่ายเพิ่มอีกร้อยละ 10 ขณะเดียวกัน หากประเทศที่มีรายได้มีการจัดเก็บภาษีเงินฯเกินกว่าอัตราที่จัดเก็บในประเทศไทย ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่จะไม่ได้รับคืนเงินภาษีส่วนที่จ่ายเกินไปแล้ว เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้จัดเก็บภาษีและไม่มีรายได้ในส่วนนี้ นอกจากนี้ หากประเทศที่มีรายได้และไม่มี “อนุสัญญาภาษีซ้อน” ก็จะต้องเสียภาษีเต็มจำนวน

“การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายตัวนี้ ครอบคลุมทั้งคนไทยที่มีรายได้ในต่างประเทศและอาศัยอยู่ในประเทศเกิน 180 วันตลอด 1 ปี รวมถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันด้วย” น.ส.กุลยา กล่าวและว่า หลังจาก กรมสรรพากรสามารถต่อยอดการกำหนดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงต้นปีหน้า จะทำให้กรมฯมีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลผู้มีรายได้และจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีฯครบเกือบ 100% ซึ่งจะช่วยให้กรมฯมีข้อมูลมากพอจะใช้เพื่อการวางแผนเชิงนโยบายของรัฐ และจัดเก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับประมาณการการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2568 นั้น กรมสรรพากรได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้จัดเก็บรายได้รวม 2.767 ล้านล้านบาท สูงกว่าปีก่อนประมาณร้อยละ 4.2% โดยในปี 2567 กรมฯได้รับมอบหมายจัดเก็บรายได้ 2.3725 ล้านล้านบาท ซึ่ง 11 เดือนแรกจัดเก็บไปแล้วกว่า 1.963 ล้านล้านบาท คาดว่าช่วงเวลาที่เหลือ (1 เดือน) กรมฯสามารถจัดเก็บรายได้เกินกว่าเป้าหมายทั้งปี 2567 ได้เล็กน้อย.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password