เมื่อ “การเมือง” ไร้เสถียรภาพ ย่อมกระทบถึงทุกภาคส่วน อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น !

การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน เมื่อ กติการะบุให้คนที่มีอายุ18ปีขึ้นไป ต้องทำหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ”แม่พิมพ์” ของอำนาจ “นิติบัญญัติ” 1 ใน 3 อธิปไตย ที่เราใช้ปกครองบ้านเมือง ตามรูปแบบ สากลที่นานาชาติยอมรับ

เมื่อเป็นดังนั้น เราต้องยอมรับความจริง แม้ “ตาสี ยายสา” ที่อยู่ หลังเขา ก็ ต้อง ยอมรับ แม้ ว่า แกจะ ไม่เคยไป เลือกตั้งแม้แต่ครั้งเดียว เพราะคิดว่า “เลือกไป” ก็เท่านั้น ชีวิต ก็ยังเหมือนเดิม ต่างกับ ลูก หลาน คนรุ่นใหม่ ที่ ดีอกดีใจ ได้ทำหน้าที่ตามกฎหมาย แต่ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ทุกคนก็ต้องยอมรับกติกาดังว่า

หลัง14พ.ค.2566 ซึ่ง ประเทศจะผ่านการเลือกตั้งมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลยังมองไม่เห็น การจับขั้วตั้งรัฐบาลยังไม่แน่นอน ขณะที่การเมืองไทยยังไม่เข้าใกล้บทสรุป ปัญหาเศรษฐกิจทั้งในบ้านและนอกบ้านก็ซบเซาพร้อมถดถอยตลอดเวลา ภาพรวมการเมืองไทยวันนี้ คือ

ปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศ จุดลงตัวของการเมืองบ้านเรายังมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ แม้ผ่านการเลือกตั้งทั่วประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลยังมองไม่เห็น การจับขั้วตั้งรัฐบาลยังไม่แน่นอน ขณะที่การเมืองไทยยังไม่เข้าใกล้บทสรุป ปัญหาเศรษฐกิจทั้งในบ้านและนอกบ้านก็ซบเซาพร้อมถดถอยตลอดเวลา

ค่าเงินบาทวานนี้ (22 มิ.ย.) ปิดตลาดอ่อนค่าสูงสุดที่ระดับ 35.05 บาท นับว่าอ่อนค่าสุดในภูมิภาคจากปัจจัยลบมากมาย การเมืองไทยไม่ชัด ความไม่แน่นอนสูง ต่างชาติตั้งตารอรัฐบาลใหม่ การเมืองที่ไร้ความหวัง ส่งผลให้นโยบายทุกด้านของไทยรวมถึงนโยบายต่างประเทศชะงัก

ไม่ใช่แค่ประชาชน แต่ภาคเอกชนยังอยากเห็นการตั้งรัฐบาลเร็ว ไม่สะดุด ยิ่งล่าช้าจะยิ่งเสียหาย ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาต่อเนื่องทั้งจากภาคส่งออกที่ประเทศคู่ค้าหลัก ทั้ง สหรัฐอเมริกา อียู รวมถึง ประเทศจีนเศรษฐกิจทรุดตัว การว่างงานสูงกระทบคำสั่งซื้อ การท่องเที่ยวแม้จะเป็นเครื่องยนต์หลักก็ไม่ได้ฟื้นตัวดีมากอย่างที่คาด

ทั้งหมดเป็นปัจจัยทำให้การบริโภคจับจ่ายใช้สอยช่วงนี้เงียบเหงา ไม่เป็นผลดีต่อการจ้างงานและส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นและบรรยากาศต่อการลงทุน ช่องว่างที่เป็นสุญญากาศทางการเมืองที่อึมครึม การเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการใช้งบประมาณก็มีข้อจำกัด ข้าราชการหน่วยงานรัฐต่างๆ ก็เกียร์ว่างรอรัฐบาลตัวจริง รอผู้บังคับบัญชาใหม่เข้ามาสั่งการ กระทบต่อความเชื่อมั่นในระดับประเทศ

ขณะที่เศรษฐกิจไทยช่วงครึ่งปีหลังยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญอีกมากมาย ทั้งความไม่แน่นอนในต่างประเทศ ส่งผลกระทบทั้งการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนทุกอย่าง การส่งออกไทยจนถึงวันนี้ยังติดลบ แม้ว่าคาดการณ์ปลายปีจะกลับมาเป็นบวก ปัจจัยที่เป็นตัวฉุดสำคัญ คือ การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า ระบบภาครัฐติดขัด เพราะยังไม่มีรัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ ปัจจัยผลกระทบเหล่านี้กระทบไปยังภาคเอกชน เอกชนชะลอลงทุน ชะลอการตัดสินใจ

ที่น่าตกใจอีกเรื่อง คือ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI ก็ดูไม่สู้ดีนัก เราเห็นการขยับของนักลงทุนต่างชาติ ที่พร้อมจะหนี หรือย้ายฐานจากไทยไปที่อื่น ขณะที่คงเป็นเรื่องยากหากเราหวังจังหวะที่โลกสองขั้วเกิดความขัดแย้ง สงครามการค้าปะทุ นักลงทุนคิดย้ายฐาน ซึ่งเขาก็คงไม่อยากเลือกประเทศไทยที่ยังไม่มีรัฐบาล แต่อาจเลือกไปเวียดนาม อินโดนีเซีย หรือประเทศอื่นแทน เสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย หากประเทศไทย ยังมีทิศทางการเมืองที่เลื่อนลอย ไร้เสถียรภาพ อันดับความน่าลงทุนของไทยคงดิ่งพื้นติดฟลอร์ จนไร้ตัวตนบนเวทีโลก.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password