สตช.แนะวิธีเช็คเพจเฟซบุ๊กปลอม-จริง! โชว์หน้าเพจปลอมหลอกโอนเงิน
ภัยออนไลน์ลามไปไกลถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ล่าสุด องค์กรตำรวจต้องแจ้งเตือนเป็นการด่วน! หลังพบมีประชาชนจำนวนมากถูกหลอกลวงจนได้รับความเสียหาย ด้วยการสร้าง Page Facebook ตำรวจปลอมขึ้นมาแอบอ้างรับแจ้งความออนไลน์ แนะวิธีสังเกตเพจปลอม-จริง! พร้อมฉายตัวอย่างเพจปลอมในโลกออนไลน์
ภัยออนไลน์…ภัยไซเบอร์ ไม่ว่าจะเรียกพฤติการณ์ฉ้อฉลในลักษณะนี้ว่าอย่างไร? ทว่ามันคือภยันตรายที่ทำเอาใครหลายคนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แจ้งเตือนไปยังพี่น้องประชาชนคนไทย เพื่อให้พึงระวังถึงอันตรายจากการตกเป็นเหยื่อออนไลน์ดังกล่าว ผ่านการข้อสังเกตเพื่อแยกแยะ Page Facebook ปลอมและพฤติการณ์ ดังนี้
ปลอมขึ้นมา โดย ตั้งชื่อเพจเป็น หน่วยงานตำรวจหรือศูนย์ช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ทางเทคโนโลยี และยังได้เผยแพร่โฆษณาผ่านทาง Facebook เพื่อเพิ่มโอกาสให้เหยื่อมองเห็น Page มากขึ้น โดยนำคลิปวิดีโอและเนื้อหาจากเพจตำรวจจริงมาใส่ในโฆษณาเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ เมื่อเหยื่อซึ่งมีประสงค์ที่จะแจ้งความดำเนินคดีกับคนร้ายพบเห็น Page หรือโฆษณาดังกล่าว โดยเหยื่อได้ติดต่อ Page ปลอมของคนร้ายไปเพื่อจะแจ้งความ คนร้ายจะให้เหยื่อแจ้งข้อมูลส่วนตัว ส่งหลักฐาน แล้วแอบอ้างว่าจะนำเงินที่เหยื่อถูกโกงไปมาคืนเหยื่อ แต่ต้องโอนเงินเป็นค่าดำเนินการ/ค่าล่อซื้อ/ค่าทนาย ฯลฯ ให้แก่คนร้ายที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ สุดท้ายเหยื่อไม่ได้เงินที่ถูกหลอกไปคืน แถมยังเสียเงินเพิ่มจากการถูก Page Facebook ปลอมหลอกซ้ำอีก
ทั้งนี้ จุดสังเกต Page Facebook ปลอมเป็นของตำรวจ คือ ชื่อเพจมักเป็นชื่อหน่วยงานที่ไม่มีอยู่จริง หรือชื่อผิด เพจปลอมไม่มีเครื่องหมายยืนยันตัวตนท้ายชื่อเพจ เพจเหล่านี้มักสร้างมาไม่นาน หรืออาจเป็นเพจที่มีการซื้อต่อมาและเปลี่ยนชื่อในภายหลัง คนร้ายพยายามปลอมยอดผู้ติดตามโดยพิมพ์เลขยอดคนกดถูกใจ/ติดตาม ไว้ที่รายละเอียดของเพจ และ เพจแท้มีเครื่องหมาย blue tick (แต่เพจคนร้ายจะนำ blue tick ( ) มาใส่ไว้ที่หน้าภาพหน่วยงาน) จะอยู่หลังชื่อเพจ
สำหรับ วิธีป้องกัน คือ เพจจริงของทางตำรวจมีเครื่องหมายยืนยันตัวตนท้ายชื่อเพจและมีข้อมูลความโปร่งใสเพจครบถ้วน และเพจของทางตำรวจไม่มีการรับเรื่องร้องทุกข์/แจ้งความ/ส่งหลักฐานในการดำเนินคดีผ่านทางเพจ.