ครม.ไฟเขียว เคาะช่วย ลูกหนี้ NPL พักจ่ายดอกเบี้ย 3 ปี – ช่วยลูกหนี้รายย่อย

ครม.ไฟเขียวเคาะช่วย แก้หนี้ NPL 3 กลุ่ม บ้าน รถ SMEs พร้อมลดเงินต้น 3 ปี เป็นขั้นบันได 50-90% เป็นขั้นบันได ใช้ 3 แหล่งเงินในการแก้หนี้ พักดอกเบี้ย 3 ปี พร้อมจ้าย หนี้รายย่อย ไม่เกิน 5,000 จ่าย 10% ปิดหนี้ได้เลย
วันที่ 11 ธ.ค.2567 การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ที่มี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่นๆของสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่เป็นหนี้เสียระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับถึงวันที่ 31 ต.ค.2567
ในส่วนของหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ และหนี้ SMEs โดยจะเป็นการพักชำระดอกเบี้ยให้ไม่เกินสามปี โดยลูกหนี้ที่สมัครเข้าโครงการจะได้รับสิทธิในการผ่อนจ่ายเงินต้นโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย โดยต้องมีหนี้เสียในวงเงินไม่เกินดังนี้ 1.หนี้บ้านไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย 2.หนี้รถยนต์ไม่เกิน 800,000 บาทต่อราย 3.หนี้ SMEs ไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อราย ทั้งนี้จะมีการลดหนี้เงินต้นให้ด้วยในปี ที่ 50% ปีที่ 2 70% และปีที่ 3 90% ของหนี้คงค้างสำหรับคนที่จ่ายหนี้ดี
โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ต้องการช่วยเหลือลูกหนี้เสีย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหนี้บ้าน รถยนต์ และเอสเอ็มอี ผ่านการพักชำระดอกเบี้ยนาน 3 ปี คือ กลุ่มหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ เอสเอ็มอี โดยทั้ง 3 กลุ่มจะต้องเป็นหนี้เสียอายุไม่เกิน 1 ปี และต้องเป็นหนี้เสียภายใน 31 ต.ค.2567 โดยมีจำนวนลูกหนี้ที่เข้าข่าย 2.3 ล้านบัญชี มูลหนี้รวม 1.31 ล้านล้านบาท โดยแหล่งเงินมาจาก 3 แหล่งได้แก่ 1.การลดการจ่ายเงินสมทบกองทุน FIDF 50% จาก 0.46% ต่อปีเหลือ 0.23% ต่อปี 2.การใช้เงินกู้ของภาครัฐ ตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังมาตรา 28 และ 3.ซอฟต์โลนของธนาคารออมสิน
นอกจากนี้มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในส่วนที่สอง คือช่วยรายย่อยที่ติดหนี้เครดิตบูโร ไม่เกิน 5,000 บาทต่อราย โดยมาตรการนี้จะให้ลูกหนี้กลับมาจ่ายหนี้ 10% แล้วจะยกหนี้ให้ทั้งหมด และให้พ้นจากบัญชีหนี้เสียที่ติดเครดิตบูโรด้วย ส่วนรายละเอียดนั้นกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธ.ป.ท.) จะมีการแถลงข่าวร่วมกัน โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเป็นประธานงานเปิดตัวโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และเอสเอ็มอี ทั้งนี้ มีปลัดกระทรวงการคลัง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และหนังสือแสดงเจตนารมณ์ ระหว่าง กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย (TBA) และสมาคมธนาคารนานาชาติ (AIB)