อดีตบิ๊ก SME D Bank แนะบันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จช่วยเอสเอ็มอีไทย

อดีต เอ็มดี. SME D Bank “มงคล ลีลาธรรม” ฝากโจทย์ท้าทายเอสเอ็มไทย ต้องไต่ “บันได 5 ขั้น” เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ “My Set – Morden – Standard – Online – Story”

นายมงคล ลีลาธรรม อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) กล่าวถึงถึงความท้าทายธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ผ่านรายการ “ฝนทั่งให้เป็นทอง” ทาง FM 89.5 MHz ว่า  ในจำนวนประชากรราว 67 ล้านคนไทยโดยประมาณนั้น มีคนวัยทำงานเพียง 40 ล้านคน เป็นลูกจ้างรัฐและภาคเอกชนราว 15 ล้านคน โดย 3 ล้านคนเป็นลูกจ้างหน่วยงานภาครัฐ (ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้าง และอื่น ๆ) ที่เหลืออยู่ในภาคธุรกิจเอกชน คนกลุ่มนี้จะได้รับค่าจ้าง เงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ ขณะที่ คนไทยส่วนที่เหลืออีก 25 ล้านคน ไม่มีนายจ้าง ครึ่งหนึ่งมีอาชีพเกษตรกร อีกครึ่งเป็นเอสเอ็มอี มีอาชีพอิสระ

สะท้อนให้เห็นว่าคนกลุ่มใหญ่ไม่อยู่ในระบบการจ้างงานมากถึง 25 ล้าน ซึ่งในประเทศที่เจริญแล้ว 25 ล้านคนจะก่อให้เกิดผลผลิตของรายได้ประชาชาติ (จีดีพี) มากกว่า 60% แม้คนกลุ่มใหญ่จะไม่มีนายจ้าง แต่รายได้ที่เกิดขึ้นก็ไม่มีเพดานด้วย ทว่าในบ้านเรากลับตรงกันข้าม คนกลุ่มนี้ ซึ่งรวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี และเกษตรกรสร้างรายได้เพียงแค่ 32% เท่านั้น ดังนั้น คนกลุ่มนี้ จึงถือเป็นคนกลุ่มเปราะบาง หากไม่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ โอกาสรอดคงมีเพียงแค่ครึ่งเดียว”  นายมงคล กล่าวและยอมรับว่า การแข่งทางธุรกิจจะเป็นธรรมไม่ได้ คนแข็งแรงกว่าย่อมได้เปรียบ ไม่เหมือนกีฬากอล์ฟยังมีแต้มต่อให้สำหรับคนที่เพิ่งหัดเล่น  หากรัฐบาลไม่เข้ามาช่วยเหลือเป็นไม้ค้ำยันให้โอกาสรอดของธุรกิจเอสเอ็มอีคงเกิดยาก

พระพุทธเจ้าเปรียบคนเป็นดอกบัว 4 กลุ่ม เอสเอ็มอีก็เปรียบเสมือนบัวสองกลุ่มแรก คือ บัวปริ่มน้ำ กลุ่มนี้โอกาสรอดมีแต่รัฐต้องช่วย อีกกลุ่มเป็น บัวใต้น้ำ โอกาสจะโผล่พ้นน้ำน้อยมากหรือไม่มีเลย ถ้ามีก็ต้องใช้เวลา  ส่วนกลุ่มที่โผล่พ้นน้ำแล้วก็ใช่ว่าจะมั่นคงแข็งแรง ถ้าไม่มีไม้ค้ำยันจากรัฐ ลมพัดแรง ๆ ก็ล้ม ฝนตกแดดออกมากไปก็มีปัญหา เพราะรายได้ของคนกลุ่มนี้ยังไม่สม่ำเสมอ”

อดีต เอ็มดี. SME D Bank ยังเสนอแนะถึง “บันได 5 ขั้นสู่ความสำเร็จ” ของธุรกิจเอสเอ็มอี ว่า เริ่มจาก (1) แนวคิดการทำธุรกิจ (My Set) ซึ่งอาจมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นสภาพแวดล้อมครอบครัว ความเหลื่อมล้ำ ฐานะ การศึกษา  เป็นต้น ประการต่อมา (2) จะต้องก้าวทันเทคโนโลยี นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกิจ (Morden) เนื่องจากปัจจุบันการเปลี่ยนแลปงในเรื่องเทคโนดลยีเร็วมาก ใครที่สามารถปรับตัวใช้เทคโนโลยีได้เร็วจะโตแบบทวีคูณ แต่ถ้าใครปรับตัวไม่ได้ทำเหมือนเดิมจะตกลงไปหลุมดำเป็นเรื่องที่น่าเศร้าของเอสเอ็มอีหลายรายที่ต้องเจอสภาวะเช่นนี้

ประการที่สาม (3) เป็นเรื่องที่สำคัญมาก นั่นคือ มาตรฐานของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (Standard) อีกครั้งจะต้องมีความปลอดภัย สำคัญที่สุดกระบวนการผลิตจะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือกรีน ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นพิเศษ หากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบสากลสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เราจะอยู่ไม่ได้ และยังถูกตราหน้าว่าเป้นต้นเหตุของภาวะดลกร้อนอีกด้วย

เดี่ยวนี้ถ้าใครทำธุรกิจแล้วสินค้าไม่มีมาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัยและไม่รับผิดชอบต่อสังคมพร้อม ๆ กับการทำธุรกิจจะอยู่ไม่ได้ จะถูกสังคมตราหน้า วันนี้อากาศร้อนขึ้น มีฝุ่นพีเอ็ม2.5 เพิ่มขึ้น ถ้ามีข่าวว่าใครเป็นต้นเหตุของเรื่องนี้ก็จบเลยชายของไม่ได้แล้วก็ขายต่างประเทศไม่ได้เลย” นายมงคล ระบุและย้ำว่า

ประการที่สี่ (4) เป็นเรื่อง ดิจิตอล การใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ (Online) เพราโลกธุรกิจทุกวันนี้เปลี่ยนเร็วมาก การค้าขายทางออนไลน์กลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในเวลานี้ ส่วน ประการที่ห้า (5) น่าจะสำคัญมากที่สุดสำหรับเอสเอ็มอีไทย นั่นคือสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายจะต้องใส่ เรื่องราวที่น่าสนใจ (Story) ถึงความเป็นมาและเป็นไป เพื่อจะได้เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

“การขายทุกชนิดไม่สามารถขายด้วยตัวของมันเองได้ แต่เราสามารถบอกกล่าวให้คนจดจำแตกต่างจากคนอื่นได้ เรียกว่ามีสตอรี่ มีเรื่องราวยิ่งถ้าเราผูกพันมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของเราแล้วก็เอามาใช้ซิครับ” อดีต เอ็มดี. SME D Bank กล่าวสรุป.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password