ทีมพาณิชย์สุดปลื้ม! ทุ่มทุนลุยตลาดแอฟริกาใต้ ทำ เจรจาขายข้าวไทยเพิ่มเกิน 4 แสนตัน

“วรวงศ์ รามางกูร“ แจงผลสำเร็จเยือนแอฟริกาใต้ เผย! ผลเจรจาไปได้สวย “ผู้ค้าข้าวในตลาดแอฟริกาใต้” นำเข้าข้าวนึ่งเพิ่มจาก 3.9 แสนตันเป็นกว่า 4 แสนตัน ชี้! แม้เจอหลายปัจจัยกระทบราคาข้าวทั่วโลก แถมราคาข้าวไทยไม่สูงมาก แต่มั่นใจในความร่วมมือกับภาคเอกชนและทูตพาณิชย์ทั่วโลก เร่งหาตลาดดันส่งออกข้าวไทยทั้งปี พุ่งถึงกว่า 7.5 ล้านตัน

เวลาท้องถิ่น 11.30 น. ของวันที่ 27 มีนาคม 2568 ที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ นายวรวงศ์ รามางกูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ พร้อมกับ นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นางอารดา เฟื่องทอง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้ประชุมหารือ แนวทางการยกระดับการค้าข้าวร่วมกับบริษัทผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ของแอฟริกาใต้ พร้อมเปิดงาน Thailand Ultimate Friendship ซึ่งประกอบด้วย การลงนามความบันทึกข้อตกลง (MOU) ซื้อขายข้าวระหว่างบริษัทผู้ส่งออกข้าวไทย 5 บริษัท กับบริษัทผู้นำเข้าข้าวแอฟริกาใต้ 6 บริษัท การมอบรางวัล Thailand Ultimate Friendship ให้กับผู้นำเข้าข้าวไทยในแอฟริกาใต้ และ การมอบเกียรติบัตร Thai SELECT และประชาสัมพันธ์เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย (ตราเขียว) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รู้จักวิธีเลือกซื้อข้าวหอมมะลิไทย และการจัดแสดงตัวอย่างและการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานข้าวไทยอีกด้วย

นายวรวงศ์ กล่าวว่า การทำบันทึกความเข้าใจซื้อขายข้าว (MOU) ระหว่างบริษัทผู้ส่งออกข้าวไทยกับบริษัทผู้นำเข้าข้าวแอฟริกาใต้ ครั้งนี้มีปริมาณรวม 400,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 204.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 7,157.50 ล้านบาท โดยครั้งนี้สร้างความมั่นใจว่า จะช่วยดึงปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกของไทยในตลาดประมาณ 1 ล้านตัน ซึ่งเตรียมการส่งมอบระหว่างเดือนมี.ค. – มิ.ย.นี้ และจากการประชุมหารือระหว่างผู้นำเข้าข้าวในแอฟริกาใต้กับผู้ส่งออกข้าวไทย ยังช่วยตอกย้ำให้เชื่อมั่นได้ว่า ปี 2568 ปริมาณการส่งออกข้าวไทยไปแอฟริกาใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกข้าวไทยโดยภาพรวมเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ทั้งปี 2568 ปริมาณ 7.5 ล้านตัน

“ปริมาณการซื้อขายข้าวจากการลงนาม MOU ครั้งนี้ มีการเจรจาขอให้ซื้อข้าวไทยเพิ่มอีก 9,000 ตัน จากก่อนหน้านี้เจรจาได้ 3.1 แสนตัน จึงขยับเป็น 400,000 ตัน การทำ MOU ยังสะท้อนให้เห็นว่าตลาดแอฟริกาใต้ยังคงมีความต้องการข้าวไทยอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานข้าวไทย” นายวรวงศ์ กล่าว

ด้าน นางอารดา กล่าวว่า แม้ปี 2567 สถานการณ์การค้าข้าวระหว่างประเทศมีความผันผวนส่งกระทบให้แอฟริกาใต้นำเข้าข้าวไทยลดลง แต่ผลจากการจัดงานในวันนี้ ตนมีความเชื่อมั่นว่า ข้าวไทยยังคงเป็นแหล่งนำเข้าข้าวอันดับ 1 ของแอฟริกาใต้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพการเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวไทยรายใหญ่ของโลก และเป็นเวทีให้ผู้ซื้อ ผู้นำเข้าข้าวรายสำคัญของโลกได้พบปะเจรจาธุรกิจการค้าข้าวระหว่างกัน กรมกำหนดจะจัดงาน Thailand Rice Convention (TRC 2025) วันที่ 25 – 27 พ.ค.นี้ และยังมีแผนจะนำคณะผู้ส่งออกข้าวไทยเดินทางไปกระชับความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าข้าวและจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และจีน ในเดือน ส.ค. – ก.ย.2568 โดยกรมตั้งเป้าหมายในตลาดแอฟริกาใต้จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 8.3 แสนตันปีนี้น่าจะเพิ่มเป็น 9 แสนตัน ที่สำคัญผู้นำเข้าข้าวไทยในตลาดแอฟริกาใต้ขอให้ไทยช่วยดูแลคุณภาพข้าวไทยให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น หลังทราบข่าวมาข้าวไทยในช่วงหลังจะไม่ค่อยมีคุณภาพ ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมถึงภาคเอกชนและเกษตรกรชาวนาไทยจะร่วมมือกันรักษาคุณภาพข้าวไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ และกรมฯ จะมอบรางวัล Thailand Ultimate Friendship ให้กับผู้นำเข้าข้าวไทย ในทุกประเทศที่เป็นผู้ค้ากันมานาน กว่า 10 ปี มีการหารือลดอุปสรรคต่างๆ และนำเข้าข้าวไทยสม่ำเสมอ เป็นส่วนหนึ่งจูงใจซื้อข้าวไทยต่อเนื่อง โดยเริ่มครั้งแรกในครั้งนี้ ส่วนบริษัทซื้อขายข้าวประกอบด้วย…1.บริษัท ไทยแกรนลักซ์จัมโบ้พรีแพคเกอร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ไรซ์ จำกัด และบริษัท โกลด์คีย์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (พีทีวาย) จำกัด 2.บริษัท เอเซีย โกลเด้น ไรซ์ จำกัด กับM/S Stastic Rice บริษัท คอร์ปอเรชั่น จำกัด 3.บริษัท ไทยหัว (2511) จำกัด กับ Goldkeys บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล (พีทีวาย) จำกัด 4.บริษัท เจเนอรัล มิลส์ จำกัด กับบริษัท ซาริโก้ ฟู้ดส์ (พีทีวาย) จำกัด และ 5.บริษัท ริชแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ไทเกอร์ แบรนด์ส (พีทีวาย) จำกัด บริษัท เจเนอรัล มิลส์ จำกัด

ด้าน นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า แอฟริกาใต้ นิยมข้าวไทย ปีก่อนนำเข้าข้าวไทย 8.3 แสนตัน ปีนี้คาดเกิน 9 แสนตัน ส่วนใหญ่กว่า 80 % เป็นข้าวนึ่ง จากที่แอฟริกาใต้นำเข้าข้าวรวมกว่า 1.2 ล้านตัน ดังนั้น ปีนี้ ราคาข้าวอ่อนตัวลง จากปีก่อนกว่า 600 เหรียญต่อตัน ตอนนี้เหลือ 450 เหรียญ จึงสร้างยอดส่งออกข้าวได้มากขึ้น แม้ 3 เดือนปีนี้จะกังวลเรื่องนโยบายนำภาษีของทรัมป์ แต่ทั่วโลกยังเร่งนำเข้าข้าวต่อเนื่อง แต่ขึ้นกับว่าประเทศส่งออกใดจะแข่งขันด้านราคาได้มากกว่ากัน ครั้งนี้เฉลี่ยขายได้ 450 ตันต่อเหรียญเป็นต้น.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password