“พิมพ์ภัทรา” เดินหน้าปลุกเสือให้ตื่น ดันไทยเป็นฮับต่อเนื่องจาก “ฐานผลิตอีวี”

รมว.อุตสาหกรรม เดินหน้าปลุกเสือให้ตื่น ชูอุตสาหกรรมไทยเป็นเครื่องมือส่งเสริมผู้ประกอบการ หนุนการทำงานสะดวก ดันไทยเป็นเซอร์คูลาร์ ฮับต่อเนื่องจากฐานผลิตอีวี

25 ม.ค. 2567 น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเสวนาในหัวข้อ “เปิดโฉมอุตสาหกรรม – การทูตยุคใหม่ ในมุมมอง รมต.New Gen” ว่า สำหรับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม คือมีหน้าที่ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ทุกคนตระหนักดีว่าเป็นกระทรวงที่สำคัญ เป็นมันเป็นเหมือนเสือหลับอยู่ เพราะฉะนั้น วันนี้คือการไปกระตุ้น เสือให้ตื่น ซึ่งต้องยอมรับว่าท่านนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ขยันทำงาน เดินทางไปต่างประเทศให้นักลงทุนได้มั่นใจว่าประเทศไทยมีความพร้อมขนาดไหน เพราะฉะนั้นกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องเป็นกระทรวงที่ส่งเสริมและสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถทำงานได้ และสนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวก

“เราบอกเสมอว่า เราจะต้องไม่เป็นอุปสรรค เพราะทุกวันนี้เอกชนก้าวหน้ารัฐบาลไปมากแล้ว อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรค ต้องลดเลิกให้ได้ และวันนี้ไทยเราพร้อมจริงๆ ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงกลไกต่างๆ ที่รัฐบาลพยายามขับเคลื่อนด้วยกัน เราต้องทำงานด้วยกัน เพราะอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน” น.ส.พิมพ์ภัทรา กล่าว

น.ส.พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า อุตสาหกรรม S-Curve ที่มีโอกาสมากที่สุดวันนี้ คงหนีไม่พ้น อุตสาหกรรมอีวี โดยเชื่อมโยง ตั้งแต่รัฐบาลก่อนหน้า คือ นโยบายอีวี 3.0 จนมาถึงรัฐบาลนี้ คือ อีวี 3.5 ซึ่งต้องมองถึงทั้งวงจร คือเรื่องของแบตเตอรี่ที่เอาเข้ามาใช้แล้ว เมื่อเสื่อมสภาพก็ต้องมีแนวทางจัดการต่อ จึงมองว่าประเทศไทยก็สามารถจะพัฒนาให้กลายเป็นฐานอุตสาหกรรมหมุนเวียน (เซอร์คูลาร์ ฮับ) โดยนำแนวคิดการรีไซเคิลแบตเตอรี่นี้มานำ นอกเหนือจากจะเป็นฐ่นการผลิตอีวี

“อีกอุตสาหกรรมที่เป็นโอกาส แต่เอ่ยชื่อไปหลายคนอาจจะตกใจ คือ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ หมายถึง การผลิตยุทโธปกรณ์ อาทิ รถถัง เรือรบ ปืน หรือแม้แต่กระสุน แล้วส่งออกได้จำนวนมาก จึงเป็นอุตสาหกรรมอีกประเภททที่ควรจะต้องส่งเสริม ทั้งนี้ เพื่อเป็นให้เกิดการสนับสนุนที่มากขึ้น คงต้องไปหารือ กับ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต หรือ กระทรวงกลาโหม ในการดูเรื่องภาษี อาทิ รถถัง นำเข้าทั้งคัน ภาษีถูกกว่า การนำเข้ามาประกอบ ดังนั้น จึงต้องไปดูเพื่อให้เกิดความเท่าเทียม หรือเพื่อมขีดการแข่งขัน ผู้ผลิตในประเทศจะได้มีโอกาสแข่งขันกับผู้นำเข้าได้”น.ส.พิมพ์ภัทรา กล่าว.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password