บอร์ด PPP อนุมัติ 3 โครงการร่วมทุนมูลค่ากว่า 9.4 พันล.

“สุพัฒนพงษ์” ควง “ปลัดฯกฤษฎา” ร่วมประชุมออนไลน์บอร์ด PPP ก่อนมีมติ “ไฟเขียว” 3 โครงการสำคัญ มูลค่ากว่า 9.4 พันล้านบาท หนุนเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ พร้อมออกเกณฑ์ข้อตกลงคุณธรรม ยกระดับความโปร่งใสโครงการร่วมภาครัฐและเอกชน

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผย ผลการประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพุธที่ 19 มกราคม 2565 โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ และมี นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เข้าร่วมประชุมฯ โดยมีผลการประชุมสรุปได้ดังนี้

1. คณะกรรมการ PPP ได้เห็นชอบโครงการการพัฒนาและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) 
บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ของกรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราชา (ช่วงชลบุรี – พัทยา) มูลค่า 2,929 ล้านบาท และโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง (ช่วงพัทยา – มาบตาพุด) มูลค่า 1,317 ล้านบาท โดยรัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน และเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างองค์ประกอบ และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ของโครงการ พร้อมจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการต่างๆ ตามมาตรฐานของ ทล. รวมถึงบริหารจัดการและบำรุงรักษาโครงการ ตลอดระยะเวลา 30 ปี โดย ทล. จะได้รับผลตอบแทนจากเอกชนตลอดอายุสัญญา เพื่อเพิ่มจุดแวะพักจากการเดินทางของประชาชน รวมถึงช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนของผู้ใช้ทางบนสายทางดังกล่าว  

2. คณะกรรมการ PPP เห็นชอบหลักการของโครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไป ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ตามขอบเขตของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562(พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562) มูลค่ารวม 5,112 ล้านบาท ในรูปแบบการให้เอกชนบริหารจัดการโดยให้สัมปทาน 30 ปี ซึ่ง กนอ. จะมอบสิทธิแก่เอกชนเข้าใช้ทรัพย์สินเดิมของโครงการและดาเนินโครงการ ทั้งนี้ เอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานทั้งหมด โดยภาครัฐไม่มีภาระการลงทุน และไม่มีการสนับสนุนทางการเงินแก่เอกชน รวมทั้ง กนอ. จะได้รับผลตอบแทนจากเอกชนตลอดอายุสัญญา เพื่อสนับสนุนการประกอบกิจการของผู้ประกอบการในพื้นที่กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียง อย่างไรก็ดี คณะกรรมการ PPP มีข้อสังเกตเกี่ยวกับความพร้อมและแผนการส่งมอบพื้นที่โครงการให้กับเอกชน และการนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินโครงการ เป็นต้น และให้รายงานคณะกรรมการ PPP เพื่อทราบ 
ก่อนนาเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

3. คณะกรรมการ PPP รับทราบการประกาศใช้แนวทางปฏิบัติการนำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) มาใช้กับโครงการ PPP ที่ดำเนินการตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ ปี 2562 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการดำเนินโครงการ และยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนภาคเอกชน

4. คณะกรรมการ PPP มอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัด และหน่วยงานเจ้าของโครงการที่มีสัญญาร่วมลงทุนที่จะหมดอายุในช่วง 5 ปี เร่งพิจารณาการดำเนินโครงการต่อเนื่องภายหลังสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุด เพื่อให้การให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบต่อผู้ใช้บริการของโครงการ.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password