จับตา! ศาลรธน. รับคำร้องส่งชื่อ “พิธา” โหวตนายกฯซ้ำได้หรือไม่? ขณะ “จรัญ”ชี้ ไม่มีอำนาจ
จับตา ศาลรธน. จะรับคำร้อง หรือ ไม่รับ หลัง ผู้ตรวจฯ มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญสั่งรัฐสภาหยุดโหวตเลือกนายกฯ ไว้ก่อน ขณะที่ อดีตตุลาการ ชี้ ศาล รธน. ไม่มีอำนาจ ก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญยัติ ป็นเรื่องกิจการภายในของสภา
วันที่ 25 ก.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก วานนี้ (24 ก.ค.) พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เป็นเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลง กรณี มีผู้ร้องให้ ผู้ตรวจพิจาารณา ถึงมติของที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2566 ที่เห็นว่า การเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นมติซ้ำ กระทำไม่ได้ โดยที่ประชุม ผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่า กรณีดังกล่าว ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การอ้างนำข้อบังคับที่ 41 มาใช้ ถือว่ากระทำไม่ได้ เพราะขัดต่อ กฎหมาย มาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 ที่ระบุว่า ตราบใดที่กระบวนการเลือกนายกฯยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ย่อมสามารถถูกเสนอชื่อต่อไปได้เรื่อยๆ โดยจะนำมติของผู้ตรวจการไปยื่นให้ ศาลรธน.วินิจฉัยต่าอไป ภายใน 1-2 วันนี้ เพื่อให้ทันต่อการ โหวตนายกฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 ก.ค.นี้ โดยจะขอให้ ศาลรธน.มีคำสั่งให้ชะลอการโหวตนายกฯ ในวันดังกล่าวออกไปก่อน
ด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และอดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยในรายการเจาะลึกทั่วไทย ที่ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท ช่วงเช้าที่ผ่านมาวันนี้ (25 ก.ค.) ถึงกรณีที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีมติรัฐสภาเรื่องข้อบังคับที่ 41 ที่ไม่ให้เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและแคนดิเดตนายกพรรคก้าวไกลซ้ำ เพราะถือว่าเป็นมติที่ตกไปแล้ว และขอให้ศาลฯสั่งให้สภาไม่ให้โหวตนายก รอจนกว่าศาลรธน.จะมีคำสั่งนั้น ว่า จากการพิจารณาข้อกฎหมายแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจเหนือคดีนี้ ดังนั้นอยู่ที่ว่าศาลท่านระรับหรือไม่รับคดีนี้ก็ได้ เพราะท่านเห็นว่าไม่มีโอกาสพิจารณา หรือไม่อยู่ในอำนาจ
ทั้งนี้สำหรับอำนาจที่ศาลรธน.ทำได้เป็นเรื่อง ที่ถูกละเมิดโดยตรง เช่น พ.ร.บ.ประกอบ รธน.มาตรา 47 ที่ให้อำนาจไว้ เช่นเรื่องที่ผู้ตรวจการส่งมาจะต้องเป็นเรื่องที่ถูกละเมิดโดยตรงจากเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ หรือ เจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามการที่เป็นเช่นนี้ เพราะระบบกฎหมายของเรา ศาลก็ดี สภาก็ดี ท่านไม่ใช่ผู้ใช้อำนาจรัฐในการปกครอง แต่เป็นผู้ใช้อำนาจของประชาชน ซึ่งรวมทั้งศาลรธน.ที่จะเข้าไปตรวจสอบของสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานหรือการทำงานภายในของเขาไม่ได้ เพราะเรื่องเหล่านี้จะต้องใช้กฎหมายใดก็ใช้บทบัญญัติกม.นั้น ต้องเป็นกฎหมายระดับ พ.ร.บ.ยกเว้น พระราชกฤษฎีกาที่ที่ออกตามกฎหมายรธน.
นายจรัญกล่าวว่า หากตรวจสอบจริงๆ เรื่องนี้ เป็นเรื่องของศาลปกครอง ซึ่งก็ไม่มีอำนาจหน้าที่ไปตรวจสอบระดับการเมือง ครม. หรือ รัฐสภา เมื่อไม่ใช่บทบัญติระดับกฎหมายพ.ร.บ. ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ตามมาตรา 48 และ 46 วรรคสุดท้าย กลายเป็นศาลไม่มีอยู่ในเขตอำนาจรับไว้ในคดี ส่วนจะใช้กฎหมายใด เป็นเรื่องของรัฐสภาว่าจะใช้กม.ใด
ถามว่า ศาลรธน.ตรวจสอบในประเด็นใดบ้าง นั้น มองว่า ในประเด็นนี้ ไม่มีบทบัญญัติในมาตรการใดเลยที่จะให้ไปตรวจสอบข้อบังคับรัฐสภา เว้นแต่ตรวจสอบร่างข้อบังคับก่อนประกาศใช้เพื่อกลั่นกรองให้รอบคอบให้กับรัฐสภา แต่ถ้าประกาศใช้แล้วก็ไม่มีอื่นใดเลย จะให้ศาลรธน.สั่งให้ระงับหรือโหวตนายกชั่วคราวไปก่อนไม่ได้ ห้ามศาลใดศาลหนึ่ง แต่สามารถสั่ง ส.ส. หรือ ส.ว. หรือ รัฐมนตรีหยุดทำหน้าที่ได้ หากมีความจำเป็น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนี้ต้องติดตามว่า ศาลรัฐธรรมนูญ จะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร โดยนักวิชาการด้านกฎหมายหมายเชื่อว่าจะมี 3 แนวทาง คือ 1. รับคำร้อง 2. รับคำร้องและสั่งให้การโหวตนายกฯวันที่ 27 ก.ค.นี้ ชะลอไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย และ 3. ไม่รับคำร้อง.