กมธ. ไอซีทีวุฒิฯ รุกสู้มิจฉาชีพไซเบอร์! ตั้งคณะทำงานติดตามมาตรการป้องกันช่วยคนไทย

กมธ.ไอซีที วุฒิสภา ไปต่อไม่รอสภาผู้แทนราษฎร! เดินหน้าตั้งคณะทำงานติดตามมาตรการป้องกันภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะปมการดูดเงินจากบัญชีเงินฝาก สร้างความเสียหายให้กับคนไทยจำนวนมาก พร้อมเดินหน้ายกระดับประเทศไทย ขึ้นชั้นเป็น  ASEAN Digital Hub เชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ตกับประเทศเพื่อนบ้าน

พล.อ.อนันตพร กาญจรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ประชุมหารือเกี่ยวกับการตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามและประสานกับหลายหน่วยงาน ร่วมป้องกันปัญหา Call Center แอปดูดเงิน หลังจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. …. โดยมีหลายหน่วยงานร่วมกัน ทั้ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้ให้บริการทรู เอไอเอส ดีแทค เอ็นที และไลน์ ให้ตรวจสอบปิดไลน์ปลอม จัดการชื่อผู้ส่ง sms ปลอม, ปิดกั้น URL  เว็บไซต์ที่เป็นอันตราย เนื่องจากการดำเนินการต้องใช้เวลาถึง 7 วันในการป้องกันภัยไซเบอร์ แต่การโอนเงินทำได้เพียง 15 วินาที นับว่า สิ่งนี้ได้ทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก แต่ทว่า ขณะนี้ยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้

ขณะที่ ธปท. ได้ออกมาตรการประกาศให้สถาบันการเงิน งดการส่งลิงค์ผ่าน SMS การจำกัดบัญชีผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้ง เพียง 1 คน ต่อบัญชีเงินฝาก การเปิดบัญชีเงินฝากต้องยืนยันตัวตนอย่างเข้มงวด ที่ประชุมยังเสนอการจำกัดการใช้ซิมมือถือ 5 ซิม ต่อ 1 คน แต่ยอมรับว่า การใช้ซิมมือถือ 1 ซิม บางครั้งใช้โทรนับ 1,000 ครั้ง มองว่า ค่ายมือถือควรร่วมมือกับตำรวจงดการใช้ซิมดังกล่าวได้ เพื่อยับยั้งความเสียหายกับประชาชนในทันที

นอกจากนี้ ที่ประชุม กมธ.ไอซีที วุฒิสภา ยังได้หารือเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตระหว่าง ประเทศไทย กับ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และ สปป.สาว ภายใต้การโครงการ   “ASEAN Digital Hub”  โดยมุ่งหวังให้ Global Contcnt / Cloud Provider เข้ามาลงทุนตั้งฐานในประเทศไทยด้วยต้นทุนลดลง รวมทั้งผู้ประกอบการของประเทศเพื่อนบ้าน เปลี่ยนมาเชื่อมต่อ Content ในประเทศไทย หรือเปลี่ยนมาเชื่อมต่อผ่านประเทศไทยแทน ทำให้ประเทศไทยกลายเป็น Digital Hub ของประเทศ ASEAN ตอนบนได้ โดยปัจจุบันมีผู้ให้บริการรายใหญ่ เข้ามาตั้งฐานและเปิด การเชื่อมต่อในประเทศไทยแล้ว คือ Google,  Microsoft และAWS สำหรับMeta (Facebook เดิม) ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ทั้งนี้ด้วยความพร้อม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายที่เชื่อมโยงไปยังชายแดน และระบบเคเบิลใต้น้ำ ช่วยให้ประเทศไทยมี Bandwidth  รองรับใช้งานโดยรวมเพิ่มมากขึ้น  โดยเอกชนบางราย ประกาศเข้าลงทุนในประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว เช่น AWS  มีแผนลงทุน 1.9 แสนล้านบาท เปิดตัว AWS Region วางโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้พบว่า การใช้งานโครงข่ายระหว่างประเทศภายใต้โครงการ ASEAN Digital Hub รวมถึงการใช้งานบริการต่าง ๆ อาทิ บริการ International Private Line Circuit (IPLC) บริการ International  Internet Gateway (II) ของ บริษัท NT มีปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น  สะท้อนให้เห็นว่ามีความต้องการใช้งานโครงข่ายระหว่างเชื่อมโยงมายังประเทศไทยอย่างเติบโตเช่นเดียวกับประเทศที่มีศักยภาพในภูมิภาคเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ซึ่งสามารถชี้วัดได้ว่า ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น ASEAN Digital Hub แล้ว  ทั้งนี้ ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2565 การใช้งานความจุโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังชายแดนกับประเทศก้มพูชา ลาว และเมียนมาร์   ใช้งานทั้งสิ้นแล้วคิดเป็นร้อยละ 61 และการใช้งานความจุของระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 70

สำหรับ ระบบเคเบิลใต้น้ำเส้นใหม่ นั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 แต่ยังมี Global Content/Cloud Provider หลายรายต้องการใช้งานความจุขนาดใหญ่ และขอจองใช้ล่วงหน้า ด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งโครงข่ายเชื่อมโยงไปยังชายแดน และระบบเคเบิลใต้น้ำ ช่วยให้ประเทศไทยมี Bandwidth ที่ใช้งานโดยรวมเพิ่มมากขึ้น จากเดิมบริการ IIG ใช้งานอยู่ที่ 749 Gbps เพิ่มเป็น 1,257 Gbps และบริการ IPLC มี Bandwidth เชื่อมต่อระหว่างประเทศเพิ่มจาก 1.42 Tbps เป็น 3.35 Tbps ซึ่ง Bandwidth ส่วนหนึ่งมาจากการใช้งานของ Global Cloud/OTT provider เหล่านี้เป็นหลักด้วย.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password