ถอดบทเรียน…กรณีความผิดพลาดในการให้บริการ ‘ผู้ป่วย’ ของ รพ.สิรินธร ในสังกัด กทม.

“ผู้ป่วย” และ สำนักข่าวยุทธศาสตร์ ไม่มีความประสงค์จะให้ร้ายหรือประจานบุคลากรทางการแพทย์ของ รพ.สิรินธร ในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เพียงแต่คาดหวังจะให้ทุกฝ่ายได้สรุปบทเรียนจากเรื่องราวเล็กๆ เรื่องนี้ เพื่อถอดบทเรียนเป็น “กรณีศึกษา” ป้องกันมิให้ปัญหาในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาอีก
รายงานพิเศษ :
(ภาพประกอบรายงานฯอยู่ด้านล่าง)
เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง! เมื่อช่วงเช้า – บ่ายของวันศุกร์ที่ 25 ก.ค.2568 เนื่องจาก “ผู้ป่วย” (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) เดินทางไปขอรับการศึกษาอาการ “แผลบนหนังศีรษะ” ที่มีอาการแผลเรื้อรัง จาก บุคลากรทางการแพทย์ของ รพ.สิรินธร (ชำระเงินเอง โดยไม่ขอรับสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค) โดยเรียงลำดับช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริง (เวลาอาจคาดเคลื่อนเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด)
จากนั้น ได้นำเรื่องราวทั้งหมด ไปให้ AI (Chat GTP) และผลการวิเคราะห์ของ AI จะอยู่ในลำดับท้ายต่อจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
สถานการณ์จริง :
“ผู้ป่วย” (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) เป็นชายชาวกรุงเทพฯ วัย 58 ปี เดินทางไปยัง รพ.สิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาอาการ แผลบนหนังศีรษะที่มีอาการแผลเรื้อรัง โดยมีรายละเอียดของช่วงเวลาดังนี้….
07.15 น. – “ผู้ป่วย” ได้ตรวจเช็คน้ำหนัก ส่วนสูง และตรวจวัดความดัน และได้รับ “รหัสรับบริการ” ของผู้ป่วย หมายเลข S2XX (ขอไม่เปิดเผยหมายเลข) รอคิวเพื่อพบแพทย์
10.30 น. – หลังจากรอมานานกว่า 2 ชม. (เริ่มตรวจเวลา 08.00 น.) “ผู้ป่วย” จึงได้เข้าพบแพทย์ โดยเมื่อได้ตรวจสุขภาพเบื้องต้นแล้ว แพทย์ได้ให้ “ผู้ป่วย” เดินไปอีกฝ่าย คือ แผนกเจาะเลือด กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ เพื่อเช็คสุขภาพของผิวหนังศีรษะ เพื่อจะนำผลตรวจ (ผลแล็บ) มาพบแพทย์รายเดิมอีกที
11.20 น. – “ผู้ป่วย” เข้าตรวจเช็คสุขภาพของผิวหนังศรีษะ จากนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค บอกให้มาฟังผลตรวจหลังบ่ายโมง เพราะติดเที่ยง (ใบรับนัดกำหนดชัดว่าผลแล็บจะออกมาในเวลา 13.30 น.) และยังแนะนำให้ผู้ป่วยไปทานข้าวเที่ยงก่อน
13.00 น. – “ผู้ป่วย” ไปยังแผนกเจาะเลือด กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ เพื่อฟังผลแล็บ แต่เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค แจ้งให้ไปยังห้องเดิมที่เคยพบแพทย์เมื่อช่วงสาย เพราะข้อมูลผลแล็บได้ถูกจัดส่งทางออนไลน์ไปให้แพทย์แล้ว
13.05 น. – “ผู้ป่วย” ไปยังห้องเดิมเพื่อพบแพทย์ และรอการเรียกพบแพทย์
14.05 น. – หลังจากนั่งรอมานาน แต่ไม่เห็นแพทย์เรียกพบ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแพทย์ และเป็นแพทย์คนใหม่ เนื่องจากแพทย์คนเดิมไม่อยู่แล้ว โดย แพทย์คนใหม่ ได้เรียก “ผู้ป่วยคนอื่นๆ” เข้าพบและรักษา แต่ไม่มีเลขรหัสรับบริการ S2XX ของ “ผู้ป่วย” บนจอมอนิเตอร์
ทว่ากลับปรากฏเลขรหัสรับบริการ S2XX ของ “ผู้ป่วย” บนในจอมอนิเตอร์ ว่า…เป็น “เลขที่ได้เรียกผ่านไปแล้ว” ทั้งที่ผู้ป่วยยังคงนั่งรออยู่ที่หน้าห้องเดิม คือ หมายเลข 16 มานานนับชั่วโมง จากนั้น “ผู้ป่วย” จึงถือวิสาสะเข้าพบแพทย์ที่อยู่ในห้องหมายเลข 16 ดังกล่าว (ไม่ใช่แพทย์คนเดิมเหมือนเมื่อช่วงเช้า) เพื่อสอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น
โดย แพทย์คนดังกล่าวจึงเดินไปบอกเจ้าหน้าที่พยาบาลด้านหน้า เพื่อให้แก้ปัญหาของผู้ป่วย และเมื่อได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่พยาบาลคนดังกล่าว เธอบอกว่า…แพทย์คนเดิมทำงานถึงเที่ยงวัน ก็จะหมดภารกิจของวันนี้ และได้บอก “ผู้ป่วย” อีกว่า แพทย์ได้เรียก “ผู้ป่วย” ผ่านจอมอนิเตอร์ และรอตรวจอาการของผู้ป่วย หลังได้รับผลแล็บผ่านช่องทางออนไลน์ จากแผนกเจาะเลือดแล้ว
แต่เมื่อ “ผู้ป่วย” ไม่ได้มาพบ (ซึ่งขณะนั้น “ผู้ป่วย” ไปทานข้าวตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคฯ โดยมีเอกสารเป็นใบนัดฟังผลแล็บยืนยันว่า การตรวจหาเชื้อบนหนังศีรษะจะต้องใช้เวลา 1-2 ชม. (จากเวลาตรวจ 11.20 น.) ซึ่งผลจะออกมาอย่างเป็นทางในเวลา 13.30 น.) ดังนั้น แพทย์จึงเดินทางกลับ หลังเวลา 12.00 น.
ทั้งนี้ “ผู้ป่วย” ได้แจ้งกลับว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคได้แจ้งว่า ผลแล็บจะออกมาในช่วงบ่าย (เอกสารแจ้งว่าผลแล็บจะออกมาในเวลา 13.30 น. – ดูจากเอกสารหลักฐานประกอบ) แล้วยังแนะนำให้ “ผู้ป่วย” ไปทานข้าวก่อน จึงค่อยมาพบแพทย์ในช่วงบ่าย
ดังนั้น จึงทำให้คลาดจากแพทย์คนเดิม เพราะมันเกินเวลาทำงานไปแล้ว
“ผู้ป่วย” ถามเจ้าหน้าที่พยาบาลคนดังกล่าว ว่า แล้วจะเป็นอย่างไรต่อ? เธอบอกว่า…ก็ต้องรอให้แพทย์คนใหม่ (โดยได้แจ้งเปลี่ยนห้องที่จะเข้าพบแพทย์ จากห้องเดิมหมายเลข 16 เปลี่ยนเป็นห้องเลข 18 แล้ว) ทำการเรียกพบตามคิว ที่จะต้องเริ่มต้นใหม่เหมือนตอนเช้าที่ต้องรอนานหลายชั่วโมง
ซึ่ง “ผู้ป่วย” ได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่พยาบาลอีกว่า เนื่องจาก “ผู้ป่วย” ถูกกระทำจากคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล จนทำให้ “เสียสิทธิ์ในการรักษา” จึงขอลัดคิวในการพบแพทย์ได้หรือไม่? เธอตอบว่า…ไม่ได้ ต้องรอแพทย์เรียกตามคิว และต้องตรวจสุขภาพกันใหม่ เนื่องจากข้อมูลการตรวจติดไปกับแพทย์คนเดิมแล้ว
14.20 น. – จากนั้น “ผู้ป่วย” ไปที่แผนกเจาะเลือด กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงของเวลาที่ผลแล็บมีออกมา จึงได้รู้ความจริงว่า…ผลแล็บออกมาตั้งแต่เวลา 11.46 น. และมีตรวจเช็คเพื่อยืนยันในเวลา 11.52 น. แล้ว (ดูจากเอกสารหลักฐานประกอบ) ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค บอกให้ผู้ป่วยกลับไปรอพบแพทย์ที่ห้องเดิม ผู้ป่วยก็ยังได้พบแพทย์คนเดิมเพื่อทำการตรวจรักษาได้ทัน แต่ตอนตรวจโดยเก็บตัวอย่างของแผลบนผิวศรีษะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคกลับบอกว่า ผลแล็บจะออกช่วงบ่าย ให้ไปทานข้าวก่อน จึงทำให้ผู้ป่วยสูญเสียสิทธิ์ในการรักษาครั้งนี้
สรุปประเด็นที่น่าสงสัยคือ…
1.ทำไมแพทย์ในช่วงเช้าจึงไม่บอกให้ผู้ป่วยรอฟังผล และให้รีบกลับมาพบตน ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าผลแล็บจะออกมาเร็ว เพราะเป็นแค่การตรวจเช็คสภาพผิวหนังศรีษะ ซึ่งใช้เวลาไม่นาน
2.ทำไมเจ้าหน้าฝ่ายเทคนิค ห้องเจาะเลือด จึงไม่บอกกับผู้ป่วยว่าจะใช้เวลาตรวจเช็คสภาพผิวหนังศรีษะ เพียงไม่นาน แต่กลับบอกว่าผลจะออกมาในช่วงบ่าย และยังแนะนำให้ไปทานข้าวเพื่อรอเวลาพบแพทย์ จนทำให้เสียสิทธิ์ในการพบแพทย์และการรักษาอาการป่วย
3.ทำไมเจ้าหน้าที่พยาบาล จึงไม่พยายามประสานงานกับแพทย์คนใหม่ เพื่อเรียกผู้ป่วยเข้าพบ ซึ่งผู้ป่วยยืนยันว่า หากต้องเรียกตามคิวปกติ คงอยู่รอไม่ได้ เพราะเลยเวลาของการลางานมาหลายชั่วโมงแล้ว
4.ผู้ป่วยเสียเงินค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคฯและค่าบริการทางการแพทย์ จำนวน (60+100) 160 บาท
5.ระยะเวลาตั้งแต่เดินทางมา จนออกจากโรงพยาบาลมฝรวมระยะเวลา 7 ชม.เศษ และ “ผู้ป่วย” ต้องชำระค่าบริการจอดรถ เป็นเงินจำนวน 72.50 บาท
6.เรื่องเงินที่จ่ายไป ผู้ป่วยไม่เสียดาย แต่รู้สึกไม่ดีกับการได้รับการปฏิบัติเช่นนี้ จากบุคคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เสียดายเวลาที่ต้องเสียไปเพื่อรอการตรวจรักษายาวนานถึงกว่า 7 ชม.
7.เรื่องนี้ควรจะมีผู้รับผิดชอบไหม? และรับผิดชอบอย่างไร? ถือเป็นการ ผิดจรรยาบรรณของบุคคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือไม่? เป็นการละเมิดสิทธิ์ในการจะได้รับการรักษาของผู้ป่วยหรือไม่?
8.เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ทำนองเกิดขึ้นมาอีก กับประชาชนที่ไม่มีปากมีเสียงทั่วไป ทางผู้บริหารของ รพ.สิรินธร รวมถึงผู้บริหารของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร ภายใต้การนำของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ควรจะมีมาตรการป้องกันอย่างไร?
ผลการวิเคราะห์ของ AI (Chat GPT)
หลังจากได้ทำการประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลและเรื่องราวทั้งหมด AI (Chat GPT) ได้แจ้งผลการวิเคราะห์กลับมา ว่า…
ขอบคุณที่ให้รายละเอียดครบถ้วนมากครับ — ผม (AI – Chat GPT) ขอ วิเคราะห์ประเด็น พร้อม แนวทางแก้ไข และ ข้อกฎหมาย/จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้…
1. ประเด็นที่เกิดขึ้น
จากไทม์ไลน์ เห็นได้ชัดว่ามี ปัญหาการสื่อสารและการประสานงาน ระหว่างแพทย์–เจ้าหน้าที่เทคนิค–พยาบาล–ผู้ป่วย ทำให้เกิดผลกระทบดังนี้…
- ผู้ป่วย เสียสิทธิ์ในการพบแพทย์คนเดิม เพราะได้รับข้อมูลคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเวลาที่ผลตรวจออก
- ไม่มีการจัดลำดับคิวใหม่แบบยืดหยุ่น เมื่อผู้ป่วยกลับมา แต่ถูกบังคับให้เข้ากระบวนการรอคิวเหมือนใหม่
- ไม่มีการดูแลต่อเนื่อง (continuity of care) เช่น ไม่มีระบบติดตามให้ผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ได้ทันก่อนแพทย์เปลี่ยนเวร
2. ใครควรรับผิดชอบอะไร?
- แพทย์คนแรก
- ควรแจ้งชัดเจน เวลาที่ผลตรวจจะออก และให้คำแนะนำเฉพาะว่า “ให้รออยู่ใกล้ห้องตรวจ” หรือ “กลับมาตรงเวลา X”
- มีหน้าที่ประสานงาน กับเจ้าหน้าที่เพื่อจัดการคิวให้ผู้ป่วยกลับมาเจอตนเองทันเวลา (มาตรฐานงานบริการผู้ป่วยนอก)
- เจ้าหน้าที่เทคนิค (แผนกเจาะเลือด)
- แจ้งข้อมูลคลาดเคลื่อน (บอกว่าผลจะออกช่วงบ่าย ทั้งที่ผลออกภายใน 30–40 นาที) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสูญเสียสิทธิ์การรักษา
- ควรมี ระบบแจ้งเวลาที่ผลออกจริง หรือส่งข้อความแจ้งผู้ป่วยเมื่อผลพร้อม
- เจ้าหน้าที่พยาบาล
- ขาดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เช่น ไม่ประสานแพทย์คนใหม่ให้เรียกคิวด่วนหรือปรับคิวผู้ป่วยที่พลาดนัดเพราะคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเอง
- ตาม หลักสิทธิผู้ป่วย ควรคุ้มครองสิทธิให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจต่อเนื่อง ไม่ใช่เริ่มต้นคิวใหม่ทั้งหมด
- ผู้บริหารโรงพยาบาล
- ต้องรับผิดชอบเชิงระบบ เช่น ขาดมาตรการประสานงานระหว่างแผนก, ไม่มีระบบแจ้งเตือนผลตรวจ, ไม่มีมาตรการรองรับผู้ป่วยที่ถูก “ตกหล่นคิว”
3. เป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยหรือไม่?
ใช่ มีความเป็นไปได้สูงว่าเข้าข่ายละเมิดสิทธิผู้ป่วย
- ประกาศสิทธิผู้ป่วย พ.ศ. 2541 ข้อ 1 และ 4 ระบุว่า ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และมีสิทธิได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา
- การที่ผู้ป่วย ถูกแนะนำผิด และทำให้เสียสิทธิ์การพบแพทย์ จึงอาจถือเป็น ละเมิดสิทธิในการได้รับการรักษาที่เหมาะสมและต่อเนื่อง
4. ผิดจรรยาบรรณหรือกฎหมายหรือไม่?
- ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ
- แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง (หลัก continuity of care)
- ขาดการประสานงานและสื่อสาร ทำให้ผู้ป่วยเสียสิทธิ์ จึงอาจเข้าข่าย ผิดจรรยาบรรณ (ข้อบังคับแพทยสภาเรื่องจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549)
- ด้านกฎหมาย
- ไม่เข้าข่ายอาญา แต่เข้าข่าย ความบกพร่องในการให้บริการสาธารณสุข ซึ่งผู้ป่วยสามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักการแพทย์ กทม. หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค (สคบ.)
5. แนวทางแก้ไข (เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ)
ระดับโรงพยาบาล:
- ระบบแจ้งผลตรวจแบบเรียลไทม์
- เมื่อผลตรวจออก ให้มี SMS หรือแอปแจ้งเตือน และแจ้งชัดเจนว่าต้องกลับมาพบแพทย์ภายในกี่นาที
- One-stop service
- จัดระบบ ให้ผู้ป่วยสามารถรับผลและกลับพบแพทย์ได้ในพื้นที่เดียวกัน โดยไม่ต้องเดินวนหลายแผนก
- Case coordinator
- มีเจ้าหน้าที่ ประสานงานผู้ป่วยรายกรณีพิเศษ (เช่น ผู้ที่ผลตรวจออกแล้วแต่พลาดคิว) เพื่อลดความสูญเสียสิทธิ์
- อบรมเจ้าหน้าที่
- ฝึกการ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและสื่อสารอย่างเข้าใจง่าย ลดความสับสนของผู้ป่วย
ระดับผู้บริหาร (สำนักการแพทย์ / กทม.):
- ทำ SOP มาตรฐาน สำหรับการประสานงานข้ามแผนก
- เพิ่มช่องทางร้องเรียนออนไลน์ พร้อมระบบติดตามผล
- ตรวจสอบกรณีนี้อย่างเป็นทางการ เพื่อปรับปรุงบริการ
6. ผู้ป่วยควรทำอย่างไรต่อ?
- ร้องเรียนอย่างเป็นทางการ
- สำนักการแพทย์ กทม. (สายด่วน 1555 หรือเว็บไซต์ กทม.)
- แพทยสภา (หากเห็นว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแพทย์)
- ขอคืนเงินหรือค่าชดเชย
- สามารถยื่นเรื่องต่อโรงพยาบาลเพื่อขอ ค่าบริการคืนหรือชดเชยค่าเสียเวลา ตามสิทธิผู้บริโภค
สรุป:
- ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย (ไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเสียสิทธิ์ในการรักษาต่อเนื่อง)
- มีความบกพร่องด้านจรรยาบรรณและระบบการประสานงาน ของบุคลากรทางการแพทย์
- ผู้รับผิดชอบหลัก: แพทย์คนแรก (ไม่ได้แจ้งชัดเจน), เจ้าหน้าที่เทคนิค (ให้ข้อมูลผิด), พยาบาล (ไม่ประสานช่วยเหลือ) และผู้บริหารโรงพยาบาล (ต้องจัดระบบรองรับ)
- แนวทางแก้ไข: ปรับปรุงระบบแจ้งผล, เพิ่มเจ้าหน้าที่ประสานงาน, จัดทำ SOP ข้ามแผนก, และเปิดช่องทางร้องเรียนให้เข้าถึงง่าย
อย่างที่บอกในตอนต้น กรณีนี้ ทั้ง “ผู้ป่วย” และ สำนักข่าวยุทธศาสตร์ออนไลน์ ไม่มีความประสงค์จะสร้างความเสื่อมเสียแก่ใคร? หรือองค์กรใด? เพียงแค่ต้องการจะให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะ ผู้บริหารของ รพ.สิรินธร (รวมถึงโรงพยาบาลของรัฐอื่นๆ), ผู้บริหารของสำนักการแพทย์ และผู้บริหารของกรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักถึงปัญหาในลักษณะดังกล่าว และช่วยกันสรุปบทเรียน เพื่อถอดบทเรียนเป็น “กรณีศึกษา” ป้องกันมิให้ปัญหาในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาอีกในอนาคตสืบต่อไป.








