กสิกรฯคาดเงินเพ้อพุ่งรอบ 7 ด. – ช่วย กนง.คง ดบ.เท่าเดิม 2.5% ตลอดทั้งปี

ผู้บริหารฯศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย! เงินเฟ้อ เม.ย.2567 พลิกกลับมาเป็นบวกในรอบ 7 เดือน เหตุจากราคาน้ำมันขยับตัวจากปมขักแย้งอิสราเอล-อิหร่าน พ่วงวิกฤติโลกร้อนทำราคาสินค้าเกษตรพุ่ง คาดปัจจัยเงินเพ้อพุ่งและมีแน้วโน้มขยับขึ้นต่อเนื่อง ลดแรงกดดันบีบ กนง. ดึงดอกเบี้ยนโยบายลงมา มั่นใจทั้งปีคงอัตราดอกเบี้ยนบายไว้เท่าเดิมที่ 2.5%  

ดร.ลลิตา เธียรประสิทธิ์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทความเกี่ยวกับ สถานการณ์เงินเฟ้อของไทยในเดือนเมษายน 2567 ว่า ได้พลิกกลับเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ที่ 0.19% YoY และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้า ปรับเพิ่มขึ้นที่ 0.85% MoM โดยเป็นผลมาจาก ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นตามสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ประกอบกับมีการทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศ อีกทั้ง ราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะผักสดและผลไม้สดปรับสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ในขณะที่ หากหักราคาอาหารสดและพลังงานออกเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน เม.ย. 2567 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าโดยอยู่ที่ 0.37% YoY สะท้อนว่าการปรับขึ้นของเงินเฟ้อเป็นผลจากราคาพลังงานและสินค้าเกษตรเป็นหลัก ขณะที่แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากอุปสงค์ในประเทศยังมีจำกัด ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ -0.54% YoY และเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 0.42% YoY

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงมองเงินเฟ้อทั่วไปของไทยหลังจากนี้มีแนวโน้มเป็นบวกต่อเนื่อง โดยยังคงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 2567 ที่ 0.8%

• ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่กรอบ 80-90 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล ในช่วงที่เหลือของปีนี้ท่ามกลางความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ แต่คาดว่าจะไม่ขยายวงกว้างเป็นสงครามภูมิภาค

• แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ทรงตัวในระดับสูง จะส่งผลให้ต้นทุนของการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศนั้นเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ภาครัฐอาจทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ

• ภาวะภัยแล้งจากสภาพอากาศร้อนจัดและฝนทิ้งช่วง คาดว่าจะส่งผลให้ราคาผักสดและผลไม้สดมีแนวโน้มยังยืนอยู่ในระดับสูง แม้อาจทยอยปรับลดลงตามปัจจัยฤดูกาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือน ก.ย.เป็นต้นไปที่จะเริ่มมีฝนและสภาพอากาศจะเปลี่ยนเป็นลานีญา นอกจากนี้ ปัจจัยฐานสูงในปีก่อนหน้าของราคาเนื้อหมู

มีแนวโน้มทยอยลดลงส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงของราคาเนื้อหมูมีทิศทางทยอยติดลบลดลงและมีโอกาสพลิกกลับเป็นบวกได้ในระยะข้างหน้า

• การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศในเดือนต.ค. 2567 ที่รัฐบาลเสนอไว้คาดว่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อทั่วไปของไทยที่ราว 0.1% ในปีนี้ อย่างไรก็ดี นโยบายดังกล่าวยังจำเป็นต้องผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการค่าจ้างหรือไตรภาคี

ดร.ลลิตา เชื่อว่า…เงินเฟ้อที่พลิกกลับเป็นบวกในเดือน เม.ย. 2567 และมีแนวโน้มกลับเข้าสู่เป้าหมายของกนง. ที่ 1-3% ในช่วงไตรมาสที่เหลือของปีนี้ ส่งผลให้แรงกดดันให้ กนง. ลดดอกเบี้ยนโยบายนั้นมีลดลง ขณะที่ กนง. มีแนวโน้มจะให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงิน รวมถึงความผันผวนของค่าเงินบาทมากขึ้น ซึ่งท่ามกลางแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นและแรงกดดันจากนโยบายการเงินทั่วโลกที่ตึงตัวนานกว่า คาดส่งผลให้ กนง.มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50%

ไปตลอดทั้งปี 2024.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password