รัฐผุดแผนพัฒนาทักษะทางการเงิน รับ ‘สังคมไทยสู่ภาวะสูงวัย – แก้ปมบริโภคนิยมเกินตัว’

รองโฆษกรัฐบาล เผย! “รัฐบาล – กระทรวงการคลัง” คลอดแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินปี 65-70 สอดรับแนวนโยบาย “สร้างรายได้ ลดรายจ่าย และเสริมทักษะ” หวังแก้ปมสังคมผู้สูงวัยและบริโภคนิยม เน้นเพิ่มวินัยทางการเงินให้คนไทยทุกช่วงวัย

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคมที่มีความเป็นบริโภคนิยมมากขึ้น ว่า นับเป็นความท้าทายของประเทศไทยในการรับมือและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะหากขาดการวางแผนที่ดีและการร่วมมือกันแก้ปัญหาจากหลากหลายภาคส่วน สิ่งนี้อาจนำไปสู่ปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว โดยเฉพาะถึงปัญหาทางการเงินและหนี้สินภาคครัวเรือนได้

ที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง ในฐานะหน่วยงานของรัฐบาล ได้ดำเนินการจัดทำ แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 เพื่อกำหนดกรอบนโยบายและกลไกการบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางการเงินของประเทศไทย โดยแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ครอบคลุมประชาชนไทยทุกช่วงวัย โดยได้ระบุกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างเร่งด่วน เนื่องจากความรุนแรงของสภาพปัญหา ได้แก่ กลุ่มผู้มีความเปราะบางทางการเงินสูง ประกอบด้วย ผู้ประสบปัญหาภาวะหนี้รุนแรงและปัญหาความยากจน กลุ่มผู้พิการ กลุ่มประชาชนระดับฐานราก กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงวัย

รวมถึงการดำเนินงานที่รัฐบาลกำลังเร่งรัดในการจัดทำ นโยบายสร้างรายได้ เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และปรับฐานเงินเดือนคนจบปริญญาตรีภายในปี พ.ศ. 2570 อีกทั้ง มีนโยบายสนับสนุน Soft Power และในกลุ่มของเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย และ นโยบายลดรายจ่าย เช่น การพักหนี้เกษตรกร และการลดค่าพลังงาน รวมถึง นโยบายเสริมทักษะ อาทิ มาตรการทางเศรษฐกิจแบบเจาะจงตามความเหมาะสมกับปัญหาของพื้นที่หรือกลุ่มประชาชนหรือที่เรียกว่า Tailor-Made Policy ที่อาศัยประโยชน์จากการพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายและนำส่งความช่วยเหลือได้มากขึ้น ทำให้การจัดสรรงบประมาณที่ภาครัฐมีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนไทยมีระดับทักษะทางการเงินที่เพิ่มขึ้น

“แนวนโยบายสร้างรายได้ ลดรายจ่าย และเสริมทักษะ จะดำเนินไปในแนวทางที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินฯ นำไปสู่ระดับทักษะทางการเงินที่เพิ่มขึ้นของประชาชนและนำไปสู่สุขภาวะทางการเงิน (financial well-being) หรือผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่จะช่วยสร้างความมั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงต่อไป” รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ระบุ.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password