ต้นแบบ’ 7-Eleven จากไทย สร้างโอกาสใหม่ให้เพื่อนบ้านอาเซียน

ความสำเร็จของ “ต้นแบบ” ร้าน 7-Eleven จากไทย สร้างโอกาสดีๆ แก่ชาว “กัมพูชา – สปป.ลาว” ในการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างงาน สร้างอาชีพ สนับสนุนผู้ประกอบท้องถิ่น สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ รวมถึงยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อความสะดวกสบายให้ผู้บริโภคอยู่เคียงข้างชุมชนและสังคม

นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น และเซเว่น เดลิเวอรี่ เคยกล่าวตอนหนึ่งระหว่างเป็นประธานเปิดงาน CP ALL Creator & Influencer Trend 2023 ครั้งที่ 2 เมื่อช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น B อาคาร เดอะ ทารา ถนนแจ้งวัฒนา ถึงการปรับตัวของทุกองค์กรในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เอง ก็ต้องปรับตัวเช่นกัน ด้วยการเพิ่มบริการความสะดวก 7Delivery เพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่โทรสั่งจากที่อยู่พักอาศัย ผ่าน 2 ช่องทางคือ สั่งผ่านแอปพลิเคชั่น  7Delivery หรือผ่านทางเบอร์โทร 1371

“เราต้องรู้ความต้องการของลูกค้า เอาลูกค้าตั้ง (Market in) อย่าเอาการผลิตนำ (Product out) และเราก็จะต้องปรับตัวตามความต้องการของลูกค้า” นายยุทธศักดิ์ กล่าว พร้อมกับระบุทิ้งท้ายว่า…

“จากจุดเริ่มต้นที่วางตำแหน่งให้ ร้าน 7-Eleven เป็น “ร้านสะดวกซื้อ” ต่อมาก็เปลี่ยน Product Mix ด้วยมอตโต้ ที่ว่า “หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา” แม้วลีนี้ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่จากวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา เราจำเป็นจะต้องปรับวิธีดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น โดยปรับ Business Platfrom ไปสู่ 7Delivery จากนั้น ก็ได้ปรับเปลี่ยน รูปแบบร้านเซเว่นที่เน้นร้านในรูปแบบ Stand alone ด้วยขนาดพื้นที่ของร้านฯที่กว้างมากขึ้น และมีที่จอดรถรองรับความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

อัตลักษณ์ความเป็นร้านเซเว่นฯสัญชาติไทย ที่มีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ด้วยการนำสินค้าของผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก กลาง ใหญ่จำนวนมากและหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้อำนวยความสะดวก และการเพิ่มขนาดพื้นที่ของร้าน

ทำให้ ร้าน 7-Eleven ภายใต้การบริหารงานของ บมจ. ซีพี ออลล์ แตกต่างไปจากร้านเซเว่นฯ ในต่างแดน และทำให้ “ยูทูบเบอร์” และ Influencer ชาวต่างชาติ ทั้งสายดื่มกิน และสายท่องเที่ยว ต่างตบเท้า “รีวิว” ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย พร้อมชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างจากร้านเซเว่นฯในประเทศอื่นๆ

หลายเสียงของเขาและเธอเหล่านั้น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า… ร้าน 7-Eleven ในประเทศไทย ถือว่าเป็นที่สุดของร้าน 7-Eleven เมื่อเทียบกับร้าน 7-Eleven อื่นๆ ในต่างประเทศ” นั่นเพราะ…ร้าน 7-Eleven มีสินค้าหลากหลายให้เลือกสรรทั้งของกิน ของใช้ รวมถึงสินค้าในท้องถิ่น ยกตัวอย่างน้ำพริกของเอสเอ็มอี มีมากกว่า 10 แบรนด์ให้เลือกซื้อ หรือเชลล์เครื่องสำอางค์มีทั้งแบรนด์ดังในโลกโซเชียล แบรนด์ดังระดับโลก แบรนด์ดังระดับประเทศ

รายการสินค้าแทบทุกเซ็กเม้นท์ โดยเฉพาะในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็น…กลุ่มเมนูหลัก เมนูรอง หรือเมนูเสริม ล้วนถูกนำมาวางให้ลูกค้าได้เลือกสรรอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ชนิดมาซื้อได้ทุกวันและได้สินค้ากลับไปโดยไม่ซ้ำกัน ต่างจาก ร้าน 7-Eleven ในต่างแดน ที่ยังขาดความหลากหลายในเรื่องของประเภทและปริมาณสินค้าภายในร้านฯ

เมื่อผนวกรวมกับการนำเอาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของไทยมาใช้ นั่นคือ การเป็นคนนอบโน้ม ให้ความเคารพลูกค้า ด้วยกริยา (ยกมือไหว้) วาจา (คำกล่าวต้อนรับ) และน้ำเสียงที่สุภาพ จึงทำให้ร้านเซเว่นฯสัญชาติไทย แตกต่างอย่างโดดเด่น เมื่อเทียบกับร้านเซเว่นฯในดินแดนอื่นๆ

จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ ร้าน 7-Eleven สัญชาติไทย ภายใต้การบริหารของ บมจ. ซีพี ออลล์ จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้คนในประเทศที่ไปเปิดสาขา โดยเฉพาะประเทศกัมพูชา ซึ่งที่นี่… บริษัท ซีพี ออลล์ (กัมพูชา) จำกัด หรือ CP ALL (Cambodia) Co., Ltd. ในกลุ่มซีพี ออลล์ ทำหน้าที่ในการบริหาร ร้าน 7-Eleven ในประเทศกัมพูชา โดยเปิดดำเนินการ “สาขาแรก” Chroy Changva ในกรุงพนมเปญ มาตั้งแต่ปี 2564 (30 สิงหาคม) ขณะที่ ร้าน 7-Eleven ที่ตั้งอยู่ภายในสถานีบริการน้ำมัน PTT แห่งแรกคือ สาขา ORKH Prek Pnov เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 และขยายออกไปนอกกรุงพนมเปญ คือ สาขา Season Mall Poipet ใน จ.บันเตียเมียนเจย

จนถึงกลางปี 2566 มี 7-Eleven เปิดให้บริการในกัมพูชาทั้งที่อยู่ในชุมชน และในสถานีบริการน้ำมันแล้วทั้งสิ้น 67 สาขา ใน 15 จังหวัดทั่วประเทศ

การขยายธุรกิจ ร้าน 7-Eleven ในยังประเทศกัมพูชา ถือเป็นก้าวสำคัญของ บมจ.ซีพี ออลล์ ในการเติบโตสู่อาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัมพูชาเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาค การเมืองมีเสถียรภาพ สังคมมีความสงบเรียบร้อย เป็นปัจจัยบวกในด้านการลงทุน ขณะเดียวกัน ยังมีทรัพยากรมนุษย์ที่คุณภาพ มีบุคลากรวัยทำงานที่พร้อมต่อการเติมเต็มในด้านแรงงาน

สำหรับ 7-Eleven แล้ว ยังคงชูจุดแข็งด้านบริการที่มีเอกลักษณ์ มุ่งเน้นการทำธุรกิจควบคู่การสร้างคุณค่าให้กับสังคมตามปณิธาน “Giving and Sharing” และยึดหลัก ค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งประกอบด้วย การสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร

ทั้งนี้ บริษัท ซีพี ออลล์ (กัมพูชา) จำกัด ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ในการจัดตั้งและดําเนินการร้าน 7-Eleven ในประเทศกัมพูชาเป็น ระยะเวลา 30 ปี โดยอาจตกลงต่ออายุสัญญาได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละยี่สิบปี

นอกจากประเทศกัมพูชาแล้ว ยังมี สปป.ลาว อีกหนึ่งประเทศ ที่ บมจ.ซีพี ออลล์ ได้รับสิทธิแฟรนไชส์ในการจัดตั้งและดําเนินการร้าน 7-Eleven นอกประเทศไทย จาก “บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น” (เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิ้ง) โดยมีแผนจะเปิดสาขาแรกใน สปป.ลาว ช่วงปลายปี 2566 นี้

ซึ่ง บมจ.ซีพี ออลล์ ได้จัดตั้ง บริษัท ซีพี ออลล์ ลาว จำกัด หรือ CP ALL LAOS CO., LTD. ในกลุ่มซีพี ออลล์ โดยได้รับสิทธิแฟรนไชส์ในการจัดตั้งและดำเนินการ ร้าน 7-Eleven ใน สปป.ลาว เป็นระยะเวลา 30 ปี ซึ่งอาจตกลงต่ออายุสัญญาได้อีกสองครั้ง ครั้ง ละ 20 ปี

ด้วยภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีงามของ ร้าน 7-Eleven ในประเทศไทย ในฐานะ “ต้นแบบ” ประกอบกับการยอมรับในมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไทย ในราคาที่เหมาะสม จากผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนด้านตะวันออก รวมถึงความสะดวกสบายในการหาซื้อสินค้าภายใน ร้าน 7-Eleven โดยไม่ต้องข้ามแดนมายังประเทศไทย

เหตุผลข้างต้น จึงทำให้ทุกการ “รีวิว” ร้าน 7-Eleven ของชาวกัมพูชา และนักท่องเที่ยวต่างชาติ (รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทย) ล้วนเป็นไปใน “ภาพบวก” อันจะส่งผลต่อมายัง ร้าน 7-Eleven และการท่องเที่ยวในประเทศไทย อย่างยากจะจินตนาการถึง…

ความสำเร็จข้างต้นทั้งหมด ล้วนได้รับการส่งต่อมาจาก ปณิธาน ของ บมจ.ซีพี ออลล์ ที่ยังคงยึดมั่น Giving and Sharing และ ค่านิยม 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เช่นเดียวกับการบริหารร้าน 7-Eleven ในประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา) นั่นคือ…

การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ร่วมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างงาน สร้างอาชีพ สนับสนุนผู้ประกอบท้องถิ่นเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อความสะดวกสบายให้ผู้บริโภคอยู่เคียงข้างชุมชนและสังคม.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password