สุริยะ สั่ง อุตฯ จังหวัด เร่งแก้ปัญหาเครื่องจักรโรงงานปาล์มน้ํามันหยุดชะงัก

“สุริยะ” สั่งการ อุตฯ จังหวัด ส่งทีมวิศวกรเร่งแก้ปัญหาเครื่องจักรโรงงานปาล์มน้ํามันหยุดชะงัก คาดไม่เกิน 3 วัน ระบายสต๊อกได้ทุกโรงงาน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงกรณีสถานการณ์โรงงานสกัด น้ำมันปาล์มและลานเทในหลายจังหวัด หยุดรับซื้อผลปาล์มน้ำมันเป็นการชั่วคราว โดยอ้างเหตุผลการหยุดซ่อม เครื่องจักร ทําให้ผลผลิตตกค้างเป็นจํานวนมาก และราคาผลปาล์มตกต่ำลงอย่างผิดปกติ ว่าได้สั่งการให้ อุตสาหกรรมจังหวัดลงพื้นที่เพื่อสํารวจ ตรวจสอบ และช่วยเหลือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มใน 12 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นราธิวาส สงขลา พัทลุง ระนอง พังงา ปัตตานี และสตูล

ทั้งนี้ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับข้อสั่งการไปดําเนินการ และได้รับรายงาน ว่าสถานการณ์ราคาผลปาล์มน้ำมันที่ต่ำลง ส่วนหนึ่งมาจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจํานวนหนึ่งหยุดดําเนินการ ในช่วงเทศกาลปีใหม่นานกว่าปกติ ส่งผลให้มีผลผลิตปาล์มค้างหรือติดคิวอยู่ที่ลานเทและที่โรงงาน ซึ่งอาจทําให้ผลปาล์มที่ค้างอยู่บางส่วนมีคุณภาพต่ำและมีความเป็นกรดสูง จึงทําให้อาจมีราคาต่ำลง

ขณะที่ประเด็นการซ่อม เครื่องจักร จากการตรวจสอบล่าสุด (16 ม.ค.66) พบว่า โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มทั้งหมดภาคใต้ จํานวน 83 โรงงาน มีกําลังการผลิตรวม 3,532.80 ตัน/ชั่วโมง พบว่า ภายหลังจากที่ให้มีการขอความร่วมมือให้เปิดดําเนินการ มีเพียงเครือบริษัทเดียวที่มีโรงงานอยู่ทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช ยังยืนยันที่จะปิดซ่อมบํารุง เครื่องจักรในช่วงนี้ ส่งผลให้กําลังการผลิตรวมของโรงงานสกัดน้ำมันที่เปิดเดินเครื่องอยู่ 3,487.80 ตัน/ชั่วโมง (ร้อยละ 98.83 )

นายณัฐพล กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ตระหนักว่าเรื่องนี้ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่เกษตรกร ผมจึงได้สั่งการให้สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจัดส่งวิศวกร ลงพื้นที่เพื่อเร่งช่วยเหลือให้โรงงานที่เครื่องจักรประสบปัญหาให้สามารถดําเนินการได้ทั้งหมด โดยเร็วที่สุด

รวมทั้ง กําชับโรงงานว่าหากมีแผนซ่อมบํารุงรักษาเครื่องจักรก็ขอให้เลื่อนแผนการบํารุงรักษาออกไปก่อน เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกร สําหรับความสามารถการจัดการผลปาล์มที่ค้างหรือติดคิว จากการหารือระหว่าง สํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มล่าสุด เมื่อ 17 มกราคม 2566 พบว่า โรงงานมีความสามารถ ระบายสต๊อกผลปาล์มที่ค้างหรือติดคิวได้ทุกโรงงาน โดยคาดว่าจะใช้เวลาดําเนินการอย่างช้าสุดไม่เกิน 3 วัน

“ผมขอความร่วมมือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่การปลูก การแปรรูป และการตลาดซึ่งช่วงนี้เกษตรกรเดือดร้อน ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของภาครัฐ ผู้ประกอบการ สามารถช่วยกันได้ก็ขอให้ช่วยพี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มภาคใต้ด้วยกัน” นายณัฐพล กล่าว

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password