ผู้ว่าฯรฟม. ปัดรับผิดชอบร่วมคดี ‘แอชตันอโศก’ ชี้ศาลฯไม่ได้เพิกถอนใบอนุญาตทางผ่าน

“ภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ” ผู้ว่าฯรฟม. โต้ บริษัท อนันดา ยันรฟม.ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ คดี ‘แอชตันอโศก’ ชี้ศาลปกครอง ไม่ได้เพิกถอนใบอนุญาตทางผ่าน แนะหาทางออกกับกทม.ดีกว่า

กรณีศาลปกครองมีคำพิพากษา เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศก เมื่อวันที่ 27 ก.ค.66 ในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนยื่นฟ้อง บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศก

ขณฯะที่ บริษัท อนันดาฯ ได้ทำหนังสือชี้แจง ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตต่างๆ รวมทั้งสภาพที่ดินของโครงการอย่างรอบคอบรัดกุม โดยการพิจารณาอนุมัติทำโครงการ ยังได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติและภายใต้การกำกับควบคุม จากหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า 8 หน่วยงาน จึงยืนยันได้ว่า บริษัทดำเนินการไปด้วยความสุจริต และชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งทุกประการเท่าที่บริษัทจะทำได้ ด้วยความเชื่อถือโดยสุจริตว่าการอนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว

รวมถึงจะดำเนินการประสานงานคณะกรรมการนิติบุคคลแอชตัน อโศก และท่านเจ้าของร่วมเพื่อขอเข้าพบผู้ว่าราชราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) และผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อทวงถามความรับผิดชอบในความเสียหายในความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นภายใน 14 วัน ทั้งนี้บริษัทจึงขอความเป็นธรรมจากทุกภาคส่วน ที่จะร่วมกันแก้ไขภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นคดีนี้อีก และเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ ได้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว อย่างไม่อาจปฎิเสธความรับผิดชอบได้ต่อเจ้าของร่วมอาคารชุดและบริษัท

ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 28 ก.ค.66 นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟม.ยังไม่ได้รับการแจ้งนัดจากบริษัทอนันดา ทางฝ่ายกฎหมายรฟม.กำลังศึกษาคำพิพากษาของศาลฯ

และขอยืนยันว่า รฟม.ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ เพราะศาลไม่ได้เพิกถอนใบอนุญาตของ รฟม.ที่อนุญาตให้ใช้ทางผ่าน แต่ศาลเพิกถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องของบริษัทต้องไปดำเนินการและหาทางออกกับกทม. ไม่เกี่ยวกับรฟม. เพราะรฟม.ยึดตามคำพิพากษาของศาล

“ถ้าอนันดาจะยื่นฟ้องรฟม.ให้ร่วมรับผิดชอบด้วยนั้น ก็เป็นสิทธิ์ของเขา ก็สู้ความกันไปตามกฎหมาย แต่ผมมีคำพิพากษายืนยันอยู่แล้วว่ารฟม.ไม่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ก็จบแล้ว ผมจะรับผิดชอบอะไร เพียงแต่เขาเอาใบอนุญาตของเราไปประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคารไม่ได้ เพราะที่ดินที่ตั้งโครงการอยู่บนถนนเป็นภาระจำยอม มีความกว้างแค่ 6.40 เมตร ไม่สามารถก่อสร้างตึกสูงได้

และศาลถือว่า ทางผ่านของรฟม.ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ไม่ได้ทำให้ที่ดินของโครงการติดถนนสาธารณะ เพราะศาลถือว่าถนนของรฟม.ไม่ใช่สาธารณะ จะเอามาผูกพันเพื่อขออนุญาตสร้างอาคารไม่ได้ และการที่เอกชนจะซื้อที่ดินรัฐซึ่งได้มาจากการเวนคืนไม่สามาถทำได้เช่นกัน และปัจจุบันรฟม.ยังไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริษัท 97 ล้านบาท ตามที่บริษัทระบุ และผมจะไม่รับด้วย” นายภคพงศ์ กล่าว

ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวต่อว่า ส่วนที่บริษัทบอกว่ามีอีก 13 โครงการมีลักษณะคล้ายกันนั้น คำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความ แต่ละโครงการมีข้อเท็จจริงแตกต่างกัน เพราะไม่ใช่ลักษณะเดียวกันทั้งหมด อย่าเหมารวม เนื่องจากการสร้างทางเชื่อมหรือสกายวอล์กกับสถานีรถไฟฟ้า เป็นการเชื่อมสถานี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถไฟฟ้าไปยังอาคารต่างๆ ทำให้คนโดยสารรถไฟฟ้าไม่ต้องลงมาเดินทางเท้า

แต่การเชื่อมทางในลักษณะของบริษัทอนันดา ซึ่งได้รับอนุญาตเมื่อปี 2557 เป็นการเชื่อมจากอาคารหรือที่ดินของเอกชน เพื่อออกสู่สาธารณะ ไม่ได้ถือเป็นการเชื่อมกับการบริการรถไฟฟ้า เป็นเรื่องเฉพาะโครงการที่จะทำให้โครงการสามารถเข้าออกสู่สาธารณะได้ ตามกฎกระทรวงของพ.ร.บ.ควบคุมอาคารและรฟม.จะไม่มีการอนุญาตในลักษณะนี้อีกแล้ว ส่วนการอนุญาตสกายวอล์กเป็นคนละกรณีกัน.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password