“สภาพัฒน์”แนะรัฐบาลใหม่ เร่งลงทุนสร้างความเชื่อมั่นต่างชาติ

เลขาธิการ “สภาพัฒน์”แนะนำรัฐบาลใหม่ ต้องเร่งฟื้นฟูการส่งออกในปี 2566 ลงทุนสร้างความเชื่อมั่นต่างชาติ ติงนโยบายเพิ่มค่าแรง จะกระทบต้นทุนผู้ประกอบการ ทำต่างชาติยกฐานการผลิตหนี

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ “สภาพัฒน์” กล่าวว่าภารกิจสำคัญของรัฐบาลชุดใหม่ ต้องหาทางฟื้นฟูการส่งออกในปี 2566 คาดว่าหดตัว 1.6% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการหาตลาดใหม่ทดแทน การรักษาบรรยากาศการลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะแนวทางส่งเสริมการลงทุน การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า หากรัฐบาลใหม่กำหนดชัดเจน จะดึงดูดการลงทุนไม่เบนเข็มหนีไปลงทุนประเทศอื่นแทน

สำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2567 ที่ยังล่าช้าในช่วงการเลือกตั้งมีอยู่ 2 ทางเลือก คือ แนวทางแรกรัฐบาลใหม่นำกรอบงบประมาณเดิม 3.55 ล้านล้านบาทหลังจาก 4 หน่วยงานหลัก กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สศช. สำนักงบประมาณจัดทำเอาไว้แล้วเบื้องต้นนำมาปรับปรุงเล็กน้อย เพื่อเร่งขับเคลื่อนเงินลงทุน แนวทางที่สอง รัฐบาลนำมาพิจารณาทบทวนทั้งหมด เพื่อประเมินรายได้ รายจ่าย รองรับการหาเสียง ยอมรับว่าการคาดการณ์ปัจจัยต่างๆ ไม่ต่างจากเดิมมากนัก เพราะมีข้อจำกัดหลายด้าน แต่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่จะเลือกแนวทางไหน เพราะส่วนหนึ่งต้องใช้เงินตามนโยบายที่หาเสียงไว้ สศช. ประเมินจากขั้นตอนการจัดตั้งรัฐบาล คาดว่างบประมาณลงทุนปี 2567 จะอัดเงินเข้าระบบได้ในไตรมาสแรกปีหน้า

ในช่วงการรอเงินลงทุนงบประมาณรายจ่าย จึงต้องใช้งบลงทุนจากรัฐวิสาหกิจมาอัดฉีดเงินออกสู่ระบบแทน ผ่านการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ใช้งบลงทุนในโครงการขนาดใหญ่เมื่อทุกรัฐวิสาหกิจเตรียมขั้นตอนจัดซื้อจัดจ้างเอาไว้ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ใหม่พิจารณาช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม คาดจะมีเงินลงทุนสู่ระบบปลายปีได้ประมาณ2 แสนล้านบาท ขณะที่รัฐวิสาหกิจจัดทำงบตามปีปฏิทิน เสนอบอร์ดรัฐวิสาหกิจพิจารณาเงินลงทุนและครม.ชุดใหม่ได้ช่วงปลายปี 2566 คาดว่าเงินออกสู่ระบบได้ 2 แสนล้านบาท เพื่อรอเงินลงทุนจากงบประมาณรัฐบาลที่ยังล่าช้า จากการจัดการเลือกตั้ง

ในส่วนของนโยบายหาเสียง ในการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ ทั้งการเพิ่มค่าแรง การเพิ่มต้นทุนด้านต่างๆ อาจทำให้ผู้ประกอบการต้องผลักภาระไปยังราคาสินค้าเพิ่ม ส่งผลไปยังอัตราเงินเฟ้อเพิ่ม นักลงทุนต่างชาติอาจต้องคิดหนักจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ยืนยันว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยผ่านวิกฤตและเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 แล้ว หลายประเทศต้องกู้เงินมาเยียวยาเหมือนกับไทย จากนี้ไปต้องจัดทำนโยบายการเงินการคลัง นำไปสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุล หากปล่อยให้ขาดดุลงบประมาณเป็นเวลานาน สถาบันระหว่างประเทศจับตาอยู่ อาจกระทบต่อการจัดอันดับเครดิตประเทศ ส่งผลต่อเนื่องไปยังการกู้เงิน และกระทบอีกหลายด้าน

ทั้งนี้ รัฐบาลชุดใหม่ ยังต้องมุ่งก้าวข้ามปัญหากับดักรายได้ปานกลางของไทย ทั้งการยกระดับพัฒนาฝีมือแรงงาน การให้สวัสดิการรายย่อย ต้องหาทางส่งเสริมการสร้างรายได้ อาชีพเสริม การช่วยเหลือแบบตรงเป้าหมาย เพื่อให้ผู้รับสวัสดิการ หลุดพ้นจากการรับเงินช่วยเหลือเดิมๆ ไม่งั้น จะต้องจัดสรรงบประมาณดูแลเยียวยาไปเรื่อยๆ กระทบต่องบประมาณจำนวนมาก กระทบฐานะการคลังระยะยาว อนาคตข้างหน้ายังมีปัญหาเศรษฐกิจโลก ความขัดแข้ง.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password