ไฟ-ฟ้า โดยทีทีบี ปลุกเด็กไทย ‘รับมืออย่างไรเมื่อถูกบูลลี่’ สร้างวัฒนธรรมเชิงบวกสู้ตอบโต้ด้วยความรุนแรง

ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี มุ่งจุดประกายเยาวชน เพื่อเสริมสร้างสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคมไทย รุกสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขพฤติกรรมรุนแรง กลั่นแกล้งและรังแกผู้อื่น หรือ บูลลี่ (Bully) ผ่านการจัดกิจกรรม “รับมืออย่างไรเมื่อถูกบูลลี่” ชวนอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ชื่อดัง “แพรี่-ไพรวัลย์” มาบอกเล่าประสบการณ์และวิธีรับมือเมื่อถูกบลูลี่ให้กับเด็กไฟ-ฟ้า ณ ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้านนทบุรี พร้อมเปิดกว้างให้คนทั่วไปรับชมในช่องทางออนไลน์ไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊ก fai-fah by ttb เพื่อสร้างวัฒนธรรมเชิงบวกแทนการต่อสู้กับการกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่นด้วยการลงโทษ

รู้จักคำว่า “บูลลี่” พฤติกรรมแบบไหนไม่ควรไม่ทำ! :

คุณแพรี่ มีความคิดเห็นว่า ไม่ควรมีใครถูกบูลลี่และไม่ควรมองว่าการบูลลี่เป็นเรื่องปกติ เพราะอาจสร้างผลกระทบทางด้านความรู้สึกมากมายจนอาจเกิดเป็นแผลทางใจฝังลึกจนยากเยียวยา หรือมีโอกาสลุกลามไปจนเกิดการปะทะ และสร้างบาดแผลทางกายได้ โดยพฤติกรรมการบูลลี่จำแนกได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ทางกาย เป็นการใช้ความรุนแรง การทำร้ายร่างกายคนอื่นให้ได้รับความเจ็บปวด และบางกรณีอาจส่งผลต่อจิตใจอีกด้วย 2. ทางวาจา เป็นการพูดส่อเสียด ล้อเลียน ใส่ร้าย ซึ่งนอกจากจะสร้างความอับอาย วิตกกังวล อาจสร้างความเครียดและกลายเป็นบาดแผลทางใจ  3. ทางสังคม เป็นการสร้างกระแสกีดกันทางสังคม มีการเปรียบเทียบด้อยค่า หรือยืมมือคนรอบข้างมาทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติ และ 4. ไซเบอร์บูลลี่ เป็นการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก หรือไอจี และโซเชียลอื่น ๆ จะเห็นได้ว่ามีคอมเมนต์ในแง่ลบเยอะมาก จนทำให้สังคมไม่ค่อยน่าอยู่

“อยากให้น้อง ๆ รู้จักและเข้าใจการบูลลี่อย่างแท้จริง จะได้ระมัดระวังไม่ไปบูลลี่คนอื่น เพราะบางครั้งคนบูลลี่ก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังทำสิ่งที่ก่อให้คนอื่นรู้สึกด้อยค่า หรืออับอาย ยิ่งในปัจจุบันโลกยุคดิจิทัล เป็นเรื่องง่ายมากที่จะหยิบมือถือขึ้นมาแล้วกลั่นแกล้งใครสักคน แถมบางคนแค่เห็นคอมเมนต์แย่ ๆ ก็เข้าไปผสมโรงกับคนอื่นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เราควรพูดหรือทำสิ่งที่ให้กำลังใจกัน ทำให้สังคมดีขึ้น เพื่อสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข มีความอบอุ่นเอื้ออาทรต่อกัน เชื่อว่าทุกคนคงไม่อยากอยู่ในสังคมที่มีการเปรียบเทียบ กลั่นแกล้งหรือด่าทอกัน แต่สำหรับคนที่ชอบเล่นโซเชียล อยากมีเพื่อนเยอะ ๆ อยากเป็นเน็ตไอดอล ก็ต้องเตรียมใจและเตรียมพร้อมรับมือกับความไม่น่ารักของคนที่เราไม่รู้จัก”

ยอมรับสิ่งที่เป็น พร้อมพัฒนาตัวเองดีกว่าเดิม :

แม้หลายครั้งการบูลลี่จะเกิดขึ้นเพราะความสนุกชั่ววูบหรือความโกรธชั่วคราว แต่ผลที่ตามมาอาจมากมาย ดังนั้น การรู้จักรับมือกับการบูลลี่จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะอาจช่วยหลีกเลี่ยงบาดแผลทั้งทางกาย ใจ และสังคม โดย คุณแพรี่ แนะนำว่า วิธีรับมือกับคนที่ใช้ความรุนแรงบนโซเชียลคือ หากเป็นคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ใช่เพื่อนที่มีตัวตนจริง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องสนใจในสิ่งที่เขาแสดงออก ที่สำคัญต้องไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง แม้ว่าจะเจอกับคนที่ใช้ความรุนแรง

“ไม่มีวิธีการรับมือกับการบูลลี่จากคนอื่นที่ทำให้รู้สึกว่าเราพอใจ เพราะเราเปลี่ยนความคิดคนอื่นไม่ได้ และทุกคนเกิดมาไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปทุกอย่าง ดังนั้น จึงต้องยอมรับในสิ่งที่เราเป็น แต่ต้องพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นมากกว่าเดิมบนพื้นฐานที่เป็นตัวเรา ต้องรักตัวเองให้มาก ๆ แม้เราเปลี่ยนโลกทั้งใบไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือเปลี่ยนวิธีคิดของตัวเอง คิดว่าเราก็มีความเพอร์เฟกต์หรือดูดีในแบบของเรา ต้องมั่นใจในแบบของตัวเอง ไม่ต้องเลียนแบบใคร ทำอะไรแล้วรู้สึกมั่นใจมีความสุขก็ทำไป นี่คือวิธีการรับมือที่จะทำให้การบูลลี่ของคนอื่นเบาลง อยากให้จำไว้ว่าคำพูดของคนอื่นจะเบามากเมื่อเราพอใจในตัวเอง คำพูดเหล่านั้นแทบจะไม่มีความหมาย แต่วันไหนที่ความพอใจของเราไปขึ้นอยู่กับคนอื่น คำพูดของคนอื่นจะดังมาก”

ไม่เพิกเฉยเมื่อเพื่อนถูกบูลลี่ ช่วยสร้างสังคมน่าอยู่ :

คุณแพรี่ ฝากทิ้งท้ายว่า “ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนอื่นจะไม่เข้าใจเรา เพราะบางครั้งเราก็ไม่เข้าใจตัวเอง หลายครั้งที่ตัดสินใจทำสิ่งใดก็ไม่ได้เข้าใจในสิ่งนั้น และที่ตัดสินใจทำไปเพียงแค่อยากเรียนรู้ แต่อาจจะผิดหรือถูกก็ได้ ซึ่งการที่เราต้องการเลือกใช้ชีวิตแบบไหนหรือทำอะไร ก็ไม่ต้องรอให้คนที่ไม่ได้มีบทบาทสำคัญในชีวิตเรามาอนุญาต ไม่เช่นนั้นเราคงไม่มีทางได้ใช้ชีวิต ใครจะยอมรับได้หรือไม่ได้เป็นเรื่องของเขา สิ่งที่เราต้องทำคือตัดสินใจว่าอยากทำหรืออยากเป็นอะไร และเราเรียนรู้กับสิ่งนั้นอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ สิ่งที่อยากฝากน้อง ๆ เพิ่มเติม คือเมื่อเห็นเพื่อนถูกกลั่นแกล้งรังแก ต้องไม่เพิกเฉย แต่ห้ามใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา และหากเราช่วยไม่ได้ให้พึ่งคุณครูหรือคนที่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องช่วยกันสร้างสังคมที่น่าอยู่” 

ด้าน น้องโชค-สุขสิทธิ์ หลิน เด็กไฟ-ฟ้า ปี 2 ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า ประชาอุทิศ เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ให้ความเห็นว่า “ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้มาก เพราะเป็นคนหนึ่งที่บางครั้งก็โดนเพื่อนบูลลี่เหมือนกัน แต่ผมเป็นคนที่ไม่คิดอะไรมาก ซึ่งการได้รับคำแนะนำถึงวิธีการรับมือในวันนี้ เชื่อว่าหากเจอปัญหาจะสามารถนำไปปรับใช้ได้มากยิ่งขึ้น และในบางครั้งเราก็ไปบูลลี่คนอื่นโดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน และการร่วมกิจกรรมเป็นการตอกย้ำให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ทำให้ความคิดปรับเปลี่ยนไปบ้าง ในช่วงที่ผ่านมาบางที่เราไม่เคยคิดเลยว่าต้องเจอกับอะไรแบบนี้ พอมานั่งฟังก็คิดว่าเขารู้สึกแบบไหน นอกจากตัวเราได้รับประโยชน์แล้ว ยังสามารถนำไปส่งต่อให้คนอื่นได้ โดยตอนนี้ผมเรียนจิตวิทยาพร้อมให้คำปรึกษากับคนอื่นอยู่แล้ว ก็จะนำสิ่งที่ได้รับไปให้คำปรึกษาอื่น ๆ ด้วย”

ไฟ-ฟ้า โดย ทีทีบี มุ่งมั่นและตั้งใจเดินหน้าจุดประกายเยาวชนและชุมชน เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ติดตามกิจกรรมดี ๆ ต่อได้ที่ https://www.ttbfoundation.org

#ไฟฟ้าโดยทีทีบี #faifahbyttb #ให้ชีวิตการเงินดีทั้งวันนี้และอนาคต #เปลี่ยนเพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น

#ttb #MakeREALChange

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password