ฟันธงอสังหาฯปีเสือฟื้น มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ทะลุ9แสนล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุ สถานการณ์ธุรกิจที่อยู่อาศัยในปี 2565 จะมีมูลค่าประมาณ 9.09 แสนล้านบาท โดยจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ ทั้งโครงการแนวราบและอาคารชุด ที่จะค่อยฟื้นตัวจาก stock ที่ลดลง

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยถึงสถานการณ์ธุรกิจที่อยู่อาศัยในปี 2564 ว่า มีการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ 6.6 หมื่นหน่วย ลดลงจากปีก่อนหน้าถึง 23.9% ต่ำสุดในรอบ 15 ปี

ส่วนการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มี 4.6 หมื่นหน่วย ลดลงจากปี 2563 ถึง 29.6% มูลค่าที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ 1.9 แสนล้านบาท ลดลงจากปี 2563 ถึง 42.8% ต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ปีที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในปี 2564 มีจำนวน 7.7 หมื่นหน่วย ลดลงจากปี 2563 ถึง 30.5%ต่ำที่สุดในรอบ 11 ปีเช่นเดียวกัน

ส่วนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์คาดว่าปี 2565 จะมีมูลค่าประมาณ 9.09 แสนล้านบาท มูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ ประมาณ 6.27 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.5% และจะมีมูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลคงค้างประมาณ 4.7 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.5%

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ได้จัดทำดัชนีที่จะสามารถบ่งชี้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในหมวดที่อยู่อาศัย ในแต่ละช่วงเวลาว่ามีการเปลี่ยนแปลงในอัตราร้อยละเท่าไหร่ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใดจัดทำมาก่อนพบว่าในปี 2564 ดัชนีรวมตลาดอสังหาฯปรับตัวลดลง 2.9% จากปี 2563 และคาดว่าปี 2565 ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์จะขยับขึ้นไปอยู่ที่ 83.8 เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ประมาณ 14.2%

จากการประเมินสถานการณ์ภาพรวมปี 2565จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ เพิ่มมากกว่าปี 2564โครงการแนวราบจะมีสัดส่วนมากกว่าอาคารชุด ขณะที่อาคารชุดจะค่อยๆ ฟื้นตัวจาก stock ที่ลดลงผู้ประกอบการบ้านใหม่จะยังมีโปรโมชั่น ส่วนลดและของแถมเพื่อจูงใจผู้ซื้อแต่จะไม่ลดลง เท่าปี 2564 โดยตลาดยังเป็นของผู้ซื้อ จะมีการขยายตัวในกลุ่มการโอนกรรมสิทธิ์บ้านมือสอง ฐานลูกค้าต่างชาติจะไม่ใช่ลูกค้าหลักของห้องชุด แต่จะเป็นคนไทยที่เป็นกลุ่ม gen y และ gen z ลงมา

อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ยังมีสิ่งที่ต้องระวัง หากมีการแพร่ระบาดของ COVID จนต้องมีการล็อกดาวน์ ส่งผลให้ตลาดอสังหาฯ ไม่กระเตื้องขึ้นเท่าที่ควร บ้านมือสองอาจเป็นสินค้าทดแทนบ้านใหม่ การขาดแคลนแรงงานอาจทำให้การก่อสร้างล่าช้า และหากมีการเกิด NPL ขึ้นมา สถาบันการเงินอาจมีนโยบายสินเชื่อที่เข้มงวดต่ออีกในปี 2565 ซึ่งจะส่งผลต่อผู้ซื้อที่มีความไม่แข็งแรงในสถานะการเงิน

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password