ดัชนีเชื่อมั่นภูมิภาคโต สะท้อนเศรษฐกิจขยายตัวจากภาคเกษตร-อุตสาหกรรม

“ทีมโฆษก สศค.” แจงละเอียดยิบเศรษฐกิจทุกภูมิภาคทั่วไทย ทั้งปมดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค มี.ค.65 และภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคของ ก.พ.ที่ผ่านมา ระบุ! ความเชื่อมั่นขยับขึ้น สะท้อนภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคที่จะปรับตัวดีขึ้นในอนาคต เหตุรับแรงหนุนจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง และ นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค แถลงถึงดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมีนาคม 2565 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค เดือนมีนาคม 2565 ยังสะท้อนความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคที่จะปรับตัวดีขึ้นในอนาคต โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก

โดย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 67.8 แม้ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าแต่ยังแสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภาคเกษตรในอนาคตที่ดีขึ้น จากเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น มันสำปะหลัง และข้าว เป็นต้น 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 66.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคเกษตร เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรจากตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคใต้อยู่ที่ระดับ 63.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในภาคเกษตร เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ยางพารา และในภาคบริการ เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการทัวร์เที่ยวไทย 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตกอยู่ที่ระดับ 62.7 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ยังดีขึ้น โดยเป็นความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในภาคเกษตร เนื่องจากจะเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น อ้อยและข้าว เป็นต้น สำหรับความเชื่อมั่นในภาคการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 58.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ยังดีขึ้นในภาคการลงทุน เนื่องจากสถานการณ์การท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการภาคบริการมีการลงทุนขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น และในภาคบริการ จากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลางอยู่ที่ระดับ 56.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในภาคเกษตร เนื่องจากคาดว่ามีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก และในภาคการจ้างงาน จากการที่หลายธุรกิจกลับมาจ้างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่คาดว่าจะดีขึ้น 

สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 53.3 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศเพิ่มขึ้น และในภาคบริการ เนื่องจากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และการเปิดรับนักท่องเที่ยวรูปแบบ Test & Go ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

“เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันตก และภาคกลาง รวมทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นในภาคตะวันออกและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโคนา 2019 และผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน” ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ระบุ

นอกจากนี้ ทีมโฆษก สศค. ยังได้แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 อีกด้วย ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันตก และภาคกลาง รวมทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโคนา 2019 และผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 25.5 11.7 และ 10.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอตัวทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.9 ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 2.9 ต่อปี แต่ชะลอลงร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 31.5 และ 14.3 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมลดลง มาอยู่ที่ระดับ 41.7 และ 85.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.3 และ 88.7 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว 
และ การบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่ง
จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 7.1 และ 11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.1
 ขณะที่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 25.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -4.9 

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 420.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยเงินทุน 0.7 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 2.997 เมกะวัตต์ ในจังหวัดสุพรรณบุรี และจากโรงงานขุดตักดิน กรวด ทราย และคัดขนาด ในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.1 ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 97.8 และ 50.9 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมลดลง มาอยู่ที่ระดับ 42.6 และ 85.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 44.0 และ 88.7 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว 
และ การบริโภคภาคเอกชน ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่ง
จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 13.8 และ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.0 ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 23.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -1.8

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัว เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -1.5 ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 2.8 เช่นเดียวกับ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -47.2 แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 163.7 ด้วยเงินทุน 0.3 พันล้านบาท จากโรงงานทำผลิตภัณฑ์โลหะ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ 

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 139.5 และ 110.4 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมลดลง มาอยู่ที่ระดับ 42.6 และ 85.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 44.0 และ 88.7 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 3.8 และ 23.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 36.4 และ 20.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 
-1.9 และ -4.5 ตามลำดับ 

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 228.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยเงินทุน 0.7 พันล้านบาท จากโรงงานฆ่าและชำแหละสุกร ในจังหวัดกระบี่ เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
จดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.2 ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 67.3 และ 218.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมลดลง มาอยู่ที่ระดับ 39.6 และ 83.1 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 41.0 และ 85.0 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่ง
จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 3.6 และ 23.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -0.8  ขณะที่รายได้เกษตรกรชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ด้านอุปทาน มีสัญญาณฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 248.2 และ 345.8 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 109.2 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 108.8 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 46.2 จากเดือนก่อนหน้า
ที่ระดับ 47.7 

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การลงทุนภาคเอกชน และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์
จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 16.0 และ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 15.0 แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -1.6 สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ  -3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 2.9 

ด้าน เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนสะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยเงินทุน 0.8 พันล้านบาท จากโรงงานทำเครื่องประดับโดยใช้ทองคำ เงิน นาค หรืออัญมณี ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.0 ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 3.5 

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 28.8 และ 9.8 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 81.6 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 80.5 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.4 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.9

เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์
จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 6.5 และ 13.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.4 แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -5.3 สำหรับจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ  -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 0.6 

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 9.3เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 8.3 สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 51.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงร้อยละ -58.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 101.8 และ 113.4 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมลดลง มาอยู่ที่ระดับ 46.1 และ 61.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.6 และ 63.5 ตามลำดับ.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password