บสย. ร่วมประชุม ACSIC ครั้งที่ 36 มุ่งพัฒนา ‘นวัตกรรมทางการเงิน’

บสย. ร่วมประชุมสมาพันธ์ประกันสินเชื่อแห่งภูมิภาคเอเชีย (ACSIC) ครั้งที่ 36 ณ เนปาล ชูการพัฒนา “นวัตกรรมทางการเงิน” หัวใจขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตอกย้ำบทบาทการช่วยเหลือ SMEs สู่การเป็น “องค์กรค้ำประกันสินเชื่อแห่งชาติ” 

นางดุสิดา ทัพวงษ์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) หัวหน้าคณะผู้แทน พร้อมด้วย นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ นางสาวสิริรัตน์ อร่ามเสรีวงศ์ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานสารสนเทศและดิจิทัล นายประจบ ประทีปสว่างวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกิจการสาขา 2 และคณะผู้แทน เข้าร่วมประชุมสมาพันธ์ประกันสินเชื่อแห่งภูมิภาคเอเชีย (Asian Credit Supplementation Institution Confederation: ACSIC) ครั้งที่ 36 ประจำปี 2567 (The 36th ACSIC Conference)  โดยมีสถาบัน Deposit & Credit Guarantee Fund (DCGF) สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ กรุงกาฐมาณฑุ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ระหว่างวันที่ 20-25 กันยายน 2567

ในปีนี้ มีผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานและสถาบันการค้ำประกันสินเชื่อต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิก 12 ประเทศ 16 สถาบัน ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย มองโกเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ปาปัวนิวกีนี ราชอาณาจักรกัมพูชา และประเทศไทย โดยมี Mr.Ramesh Ghimire, Chief Executive Officer (CEO) Deposit & Credit Guarantee Fund (DCGF) เป็นประธานเปิดการประชุม และมี Dr.Ram  Prasad Ghimire, Finance Secretary, Ministry of Finance Chairman of the Board of Directors, Conference Chairperson for the 36th ACSIC Conference สถาบัน Deposit & Credit Guarantee Fund (DCGF) สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ในฐานะสถาบันเจ้าภาพให้การต้อนรับ

การประชุมครั้งนี้ มีการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ ระบบค้ำประกันสินเชื่อของกลุ่มประเทศสมาชิกแห่งภูมิภาคเอเชีย ภายใต้หัวข้อการประชุมหลัก Financing Innovations for Economic Growth” โดยกลุ่มประเทศสมาชิกมุ่งให้ความสำคัญในด้าน “นวัตกรรมทางการเงิน” เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นวัตกรรมทางการเงิน จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินและขับเคลื่อนการพัฒนาที่เป็นธรรม ขณะเดียวกันยังช่วยเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมและตอบสนองต่อความท้าทายระดับโลก เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับประเด็นที่สมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ภายใต้หัวข้อ Financing Innovations for Economic Growth” ประกอบด้วย 9 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.Unlocking Opportunities in Financing Innovations:The Role of Credit Guarantees 2.Bridging the financial gap in Asia:The role of innovations & credit guarantee institutions 3.Asian best practices for innovative financing 4.Unlocking Solutions Beyond Border 5. Fueling Innovation:Key Resources for Financing Success-Human Capital, IT Infrastructure and Minimum Fund Requirements & Leverage Ratios 6.Striking a Balance:Pricing Strategies for Financing Innovations, Managing Risk and Revenue 7.Charting the Course: Managing Risks in Financing Innovation, Strategies and Insights 8.Designing Sustainable Guarantee Programs amidst Uncertainties และ 9. Innovative Solutions: Financing for Nature

โอกาสนี้ นางดุสิดา ทัพวงษ์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส สายงานบริหารช่องทางและพัฒนาผู้ประกอบการ ได้เข้าร่วมนำเสนอ ในวันที่ 22 กันยายน 2567 Session 6  ภายใต้หัวข้อ “Asian Best Practices for Innovation Financing” แนวทางมาตรฐานการปฏิบัติการของกลุ่มประเทศเอเชียในการสร้างนวัตกรรมในการจัดหาเงินทุน โดยการร่วมประชุมในครั้งนี้ ยังเป็นการตอกย้ำบทบาทการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ของ บสย. สู่การเป็น “องค์กรค้ำประกันสินเชื่อแห่งชาติ”

นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมประชุม Chief Delegates’ Meeting ซึ่งเป็นเวที หารือประเด็นสำคัญต่างๆ ระหว่างผู้นำสูงสุดของกลุ่มประเทศสมาชิก ณ โรงแรม The Soaltee Kathmandu, สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล เมื่อวันที่ 21 กันยายน  2567 โดยมีสาระสำคัญในการเตรียมการประชุมของประเทศสมาชิกในปี 2025 และการแก้ไขกฎบัตรโดยความเห็นชอบของประเทศสมาชิกในการเปิดรับประเทศที่ขอเป็นสมาชิก ACSIC รายใหม่​​.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password