‘เอกนัฏ’ ลงใต้ ยกระดับอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่กับปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เยี่ยมชมสถานประกอบการ SME และชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อพัฒนาศักยภาพสร้างความเท่าเทียมให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ในการให้ความสำคัญ “Save อุตสาหกรรมไทย” สู่การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค โดย SME มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ

จากรายงานสถานการณ์ SME ไทย ของสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในปี 2566 พบว่า มีผู้ประกอบการกว่า 3.24 ล้านราย กระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และจากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต (สอจ.ภูเก็ต) จึงได้ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค ผ่านกิจกรรมสร้างงาน สร้างอาชีพ และการกระจายรายได้ ให้คำปรึกษาพัฒนาบรรจุภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

ด้านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ยังได้จัดฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม หรือ คพอ.ดีพร้อม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะด้านการบริหารจัดการในทุกมิติผ่านกระบวนการฝึกอบรม ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจ สู่การพัฒนาศักยภาพให้สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ยังได้เชิญ ธพว. มาร่วมสำรวจพื้นที่ด้วยกันว่ามีกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมาเพื่อใช้ประกอบกิจการและให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเทคโนโลยีได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

นอกจากนั้นยังได้เยี่ยมชมย่านเมืองเก่าภูเก็ต ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตจะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ จีน อินเดีย ยุโรป มุสลิม เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และได้สร้างบ้านเป็นตึกแถว มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ”ชิโน-ยูโรเปียน” ทั้งสองสองฝั่งถนน ถือเป็นจุดท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมอันเกิดจากการผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมจนเกิดเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด

โดย สอจ.ภูเก็ต ได้เข้าไปส่งเสริมในด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) การส่งเสริมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ อาทิ การทอเศษผ้าปาเต๊ะด้วยกระบวนการประยุกต์การทอเส้นด้าย การปักลูกปัดสีและเลื่อม สกรีน การเพ้นท์สีลายน้ำให้มีมิติผสมผสานศิลปะ สถาปัตยกรรมจีน เป็นต้น

และยังได้ไปเยี่ยมชมร้านคุณแม่จู้ของฝากเมืองภูเก็ต (บริษัท แม่จู้ จำกัด) ร้านค้าภูมิปัญญาไทย (DIS SHOP) รายแรกของภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประกอบกิจการทำขนมอบแห้ง น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกตาแดง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมืองหลากหลายชนิดและของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ต โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ให้การรับรอง Green Industry ระดับที่ 1 “ความมุ่งมั่นสีเขียว” ให้กับบริษัทฯ ในความมุ่งมั่นของนโยบายเป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน

พร้อมพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูเก็ต โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ เราเข้าใจถึงความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ประกอบการในโครงการสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม” หรือ คพอ.(ดีพร้อม) สำหรับภูเก็ตมีการดำเนินงานมาแล้วทั้งหมด 7 รุ่น ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการ และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ ก็พร้อมที่จะสนับสนุนในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ นอกจากนี้อุตสาหกรรมหลักของภูเก็ตคือภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจในพื้นที่

วมถึงการเป็นศูนย์กลางด้าน Soft Power ภูเก็ต คือ อาหาร อาคาร อาภรณ์ อารมณ์ โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมและอาหาร การเชื่อมโยงพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหาร หรือการโปรโมทสินค้าท้องถิ่นและวัฒนธรรมผ่านเวทีนานาชาติสู่การขยายตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นก้าวสำคัญในการผลักดัน Soft Power ของไทยสู่ตลาดโลก

และยังสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรม เน้นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตอย่างยั่งยืน สู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภูมิภาคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามกรอบแนวคิด BCG เพื่อให้สถานประกอบการหรือวิสาหกิจนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับผลิตภาพการผลิตและสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนอีกด้วย.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password