คลังเผย! มี.ค.67 ‘ท่องเที่ยว’ หนุนทุกเศรษฐกิจการคลังของทุกภูมิภาค  

กระทรวงการคลังแถลงภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมีนาคม 2567 เผย! ได้รับอานิงส์จากปัจจัยสนับสนุนของการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ในทุกภูมิภาค และการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนในบางภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในขณะที่การลงทุนชะลอตัวในหลายภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออก และ กทม. และปริมณฑล 

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผย ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนมีนาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวได้ในทุกภูมิภาค และการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนในบางภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในขณะที่การลงทุนชะลอตัวในหลายภูมิภาค เช่น ภาคตะวันออก และ กทม. และปริมณฑล โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนมีนาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน อีกทั้งรายได้เกษตรกร เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 14.2 และ 3.6 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 65.4 ลดลง จากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 66.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัว อย่างไรก็ตาม เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 28.2 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานสีข้าวชนิดแยกแกลบแยกรำ ในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 77.6 ลดลง จากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 78.8 ขณะที่ เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 16.5 และ 24.2 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนมีนาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนอีกทั้งรายได้เกษตรกร เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 10.2 และ 24.2 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 93.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.3 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว ร้อยละ 38.4 และ 34.7 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนมีนาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนอีกทั้งเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 62.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -29.1 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -15.1 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 338.3 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ในจังหวัดสระบุรี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจาก ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.4 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 21.8 และ 33.8 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนมีนาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคของภาคเอกชน และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -24.4 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรหดตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 63.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 64.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 91.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.2 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 12.3 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนมีนาคม 2567 มีปัจจัยสนับสนุนจากเกษตรกร เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 61.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 62.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุก ส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -34.2 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูงโดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ในจังหวัดราชบุรี เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.4 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 7.2 และ 19.1 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนมีนาคม 2567 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนหดตัว อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 62.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 63.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.4  อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 4.6 และ 16.4 ต่อปี ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนมีนาคม 2567 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนหดตัว อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัว ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 65.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 66.5 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.4 อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 3.8 และ 16.6 ต่อปี ตามลำดับ.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password