ถา’ปัตย์ จุฬาฯ คว้า 3 รางวัล BIMobject Green Design
สถาปัตย์ จุฬาฯ คว้า 3 รางวัล ประกวดแบบ “BIMobject Green Design Competition 2023” ด้าน “CPAC Green Solution” ร่วมสนับสนุน พร้อมมอบเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 500,000 บาท
ประสบความสำเร็จต่อเนื่องกับ โครงการประกวด BIMobject Green Design Competition 2023 ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 กับ กิจกรรมการประกวดแบบ BIM ระดับประเทศ ที่ให้ นิสิต-นักศึกษาทั่วฟ้าเมืองไทยมาร่วมมือกันสร้างสรรค์การก่อสร้างสีเขียว ร่วมส่งผลงานไอเดียการออกแบบอาคาร “คาร์บอนต่ำ” ภายใต้หัวข้อ “ Low Carbon Toward Net Zero Building” เพื่อเป็นการผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ และให้เกิดการนำกระบวนการ BIM และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ร่วมกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อมและผลักดันความร่วมมือในทุกภาคส่วนเพื่อมุ่งสู่ Low Carbon Society
โดยการประกวดในปีนี้มีเหล่านิสิต-นักศึกษาที่แท็กทีมส่งผลงานกันมากว่า 88 ทีม จาก 12 สถาบัน และคัดเหลือเพียง 10 ทีมสุดท้ายในการร่วมโชว์ศักยภาพการประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบสิ่งก่อสร้างสีเขียว ภายใต้โจทย์การออกแบบอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดการจัดการเพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์เป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 500,000 บาท จัดขึ้นโดย BIMobject Thailand พร้อมด้วย CPAC Green Solution ในฐานะผู้สนับสนุนหลักฯ ซึ่งผลการประกวดปีนี้
รางวัลชนะเลิศเป็นของทีม “คบเด็กตึกเขียว” ประกอบด้วยสมาชิกในทีม ได้แก่ นายธีร์ธวัช เกียวกุล, นางสาวอัชญา อินทรสงเคราะห์, นางสาวศศมน พูลพิพัฒน์,นางสาวรุจิรา ปานผล และนางสาววีรดา สนธิโพธิ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับผลงานที่มีชื่อว่า “โชว์ห่วย” ร้านสะดวกซื้อรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นางสาวกัลยา วรุณโณ Green Solution and New Business Marketing Director – Marketing and Branding, Cement and Green Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ในฐานะผู้สนับสนุนหลักโครงการประกวดฯ กล่าวว่า “ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ทุกคนที่ได้รับรางวัลในวันนี้ ทาง CPAC Green Solution เอง รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้สนับสนุนการประกวดโครงการ BIMobject Green Design Competition 2023 ในครั้งนี้ ซึ่งจากที่ได้เห็นผลงานการออกแบบ และการทำงานของเหล่านิสิต-นักศึกษา แต่ละทีมที่ส่งผลงานเข้ามาประกวดในปีนี้ เชื่อมั่นได้ว่าอนาคตวงการก่อสร้างของเมืองไทยจะมุ่งสู่ Net Zero ได้อย่างแน่นอน
สำหรับการประกวดนี้ CPAC Green Solution ได้เป็นผู้สนับสนุนเป็นปีที่ 2 แล้วเพื่อเป็นการผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ และให้เกิดการนำกระบวนการ BIM และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ร่วมกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม ซึ่งถือเป็นส่วนผลักดันในการขับเคลื่อนแนวทาง ESG และเป็นการปลูกฝังให้เหล่านิสิต-นักศึกษา หรือคนรุ่นใหม่ได้ใส่ใจในสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังได้มอบประสบการณ์และความรู้ ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนเปลี่ยน Waste หรือความสูญเสียให้เป็น Value หรือการสร้างผลประโยชน์คืนกลับสู่สังคม เพื่อยกระดับมาตรฐานการก่อสร้างของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน”
CPAC Green Solution มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดัน Green Construction ผ่านการให้ความรู้เชิงปฏิบัติงานจริง ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย และพร้อมเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและผลักดันความร่วมมือในทุกภาคส่วนเพื่อมุ่งสู่ Low Carbon Society ได้แก่ CPAC Precast Concrete System Solution, CPAC 3D Printing Solution และ CPAC Low Carbon Concrete เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการประกวด Green Material การเลือกใช้วัสดุเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย และ Green Construction ใช้กระบวนการ BIM ในการออกแบบอาคาร
ทั้งนี้ ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ดร.วิลสา วิจิตรวาทการ กรรมการผู้จัดการ BIMobject Thailand ร่ามงาน พร้อมด้วย ดร.ณรงค์วิทย์ อารีมิตร Executive Director, Regional manager Architects 49 Limited, นางสาวกัลยา วรุณโณ Green Solution and New Business Marketing Director –Marketing and Branding, Cement and Green Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี, นายไพทยา บัญชากิติคุณ Managing Director จาก Atom Design, นางสาวเกศินี วัฒนะวีระชัย เลขาธิการ สมาคมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (TBIM), ดร.สรัสไชย องค์ประเสริฐ ผู้อำนวยการ ธุรกิจด้านนวัตกรรม บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จํากัด (มหาชน) ทีมกรุ๊ป และนายธงชาติ ชินสีห์ Managing Director Hook Architects & Goodwill of Work Company Limited ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน ณ SCG บางซื่อ สำนักงานใหญ่ พร้อมเผยผลผู้ชนะรางวัลต่างๆ ดังนี้
– รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 150,000 บาท พร้อมรับ Vocher จาก Hafele Design Studio มูลค่า 50,000 บาท และ Education Voucher จาก SYNERGYSOFT มูลค่า 40,000 บาท ได้แก่ นายธีร์ธวัช เกียวกุล,นางสาวอัชญา อินทรสงเคราะห์, นางสาวศศมน พูลพิพัฒน์, นางสาวรุจิรา ปานผล และ นางสาววีรดา สนธิโพธิ์ “ทีมคบเด็กตึกเขียว” นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 เงินรางวัล 80,000 บาท พร้อมรับ Vocher จาก Hafele Design Studio มูลค่า 20,000 บาท และ Education Voucher จาก SYNERGYSOFT มูลค่า 20,000 บาท ได้แก่ นายธนภัทร จินวงษ์,นายศราวิน กาญจนาคม, นายปรัชญ์ โรจนพานิช และนายปฏิพล ศักดิ์ธนวัฒน์ “ทีม Inner_circle_architect” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– รองชนะเลิศ อันดับที่ 2 เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมรับ Vocher จาก Hafele Design Studio มูลค่า 10,000 บาท และ Education Voucher จาก SYNERGYSOFT มูลค่า 10,000 บาท ได้แก่ นายต้นฉบับ จรูญโรจน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และ นางสาวพิชญาวีร์ วงศ์ถิรพร นักศึกษาชั้นปีที่ 5 “ทีม SPEAR STUDIO” จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– รางวัลชมเชย รางวัลละ 10,000 บาท อีก 7 รางวัล รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 500,000 บาท
– นอกจากนี้ยังมี รางวัลพิเศษ Green Circular เงินรางวัล 10,000 บาท สำหรับโครงการที่ออกแบบ Waste Management การบริหารจัดการขยะได้เหมาะสมมากที่สุดได้แก่ นางสาวเฟื่องลดา วันทองสุข, นางสาวชุติมา อันแสน, นายจักรพงษ์ เวียงรัตน์ และนายโอมนันท์ แมดพิมาย “ทีม ZAB-KERN” จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นายธีร์ธวัช เกียวกุล ตัวแทนจากทีม “คบเด็กตึกเขียว” ผู้ชนะเลิศการประกวดฯ เผยถึงการเข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ว่า “รู้สึกดีใจ และภูมิใจมากที่ทีมชนะรางวัล 1 แล้วก็รู้สึกสนุก โดยการประกวดในโครงการนี้เป็นกิจกรรมที่เราได้ประสบการ์ณที่ดีมากๆ นอกเหนือจากที่ได้เรียนในหลักสูตร ซึ่งค่อนข้างที่จะท้าทาย แต่เราก็รู้สึกอยากสัมผัสและเรียนรู้ว่ามันเป็นยังไง พวกเราทุกคนในทีมเลยสนุกมากที่ได้เรียนรู้และทดลองอะไรใหม่ๆ ได้เรียนรู้การออกแบบและสร้างอาคารให้ผ่านมาตรฐานอาคารสีเขียว ต้องคำนึงถึงวัสดุก่อสร้างอะไรบ้าง เช่น ก่อนก่อสร้างและออกแบบอาคารจะต้องคำนึงถึงโครงสร้างและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และวางระบบก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ ร่วมถึงการเลือกใช้พลังงานทดแทนเพื่อให้ผ่านมาตรฐานอาคารสีเขียวได้รู้จักข้อจำกัดของวัสดุต่างๆ ในการก่อสร้างอาคารเขียวมากขึ้น โดยเฉพาะการออกแบบด้วย BIM เป็นประสบการณ์ที่ดีเลยสำหรับเราทั้งในแง่ของเนื้อหาและการทำงานร่วมกันกับเพื่อน
“สำหรับแนวคิดผลงาน 24 – โชว์ห่วย คือตัวแทนของร้านสะดวกซื้อรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการนำร้านสะดวกซื้อในรูปแบบเดิมๆ มาออกใหม่หมดโดยหลักการ Passive Design และใช้เทคโนโลยีประกอบการออกแบบ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการปล่อยคาร์บอนที่น้อยลงเพื่อที่จะช่วยโลกของเรามากขึ้น”
ด้าน นายธนภัทร จินวงษ์ ตัวแทนจากทีม “Inner_circle_architect” ผู้ได้รางวัลรองชนะเลิศ เผยว่า “สำหรับการประกวดแบบ BIMobject Green Design Competition ครั้งนี้ สิ่งที่ประทับใจในการเข้าร่วมโครงการ คือประสบการณ์ที่ทำให้ได้รู้จักวิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น และยังเข้าใจวิธีส่งมอบงานต่อในขั้นตอนต่างๆ ว่าจะต้องทำยังไง อีกทั้งได้เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม หรือการใช้เครื่องมือที่จะนำมาปรับใช้ให้เข้ากับโครงการของเราให้ได้ดีมากขึ้น ตอนแรกผมไม่รู้จักโปรแกรม Forma, LCA, Ladybug ด้วยซ้ำจนกระทั่งได้มาทำโปรเจคนี้ผมได้เรียนรู้มากขึ้น พร้อมทั้งได้เรียนรู้จากเพื่อนๆ คนอื่น เช่น วิธีการพรีเซนต์หรือวิธีทำงานร่วมกับวิศวกร การเข้าร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ นับเป็นโอกาสที่ดีของตนเอง และเพื่อนๆ ทุกคน ที่ได้มีโอกาสได้ทดลองและฝึกใช้เครื่องมือ จึงอยากให้มีการจัดโครงการอีกในปีต่อๆ ไป เพราะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนที่สนใจจะได้มาฝึกใช้เครื่องมือ ฝึกพัฒนาตัวเองและฝึกที่จะเข้าร่วมกับผู้อื่นครับ”.