ไทยเร่งปิดดีลภาษีสหรัฐฯ ลุ้นจบก่อน 1 ส.ค.นี้ เผย! USTR พึงพอใจเบื้องต้น

“ฉันทวิชญ์” รมช.พาณิชย์ เผยความคืบหน้าเจรจาการค้ากับ USTR สหรัฐฯ เสนอไทยพิจารณาเพิ่ม MarketAxess ลด NTB และหนุนลงทุนในสหรัฐ USTR พึงพอใจ ขณะที่ไทยยอมรับข้อเสนอเปลี่ยนตลอด ต้องเร่งตัดสินใจภายใน 1 ส.ค.นี้

นายฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยความคืบหน้าการเจรจาภาษีสหรัฐว่า มีความคืบหน้าไปในทิศทางที่ดีทั้ง 2 ฝ่ายมีความพึงพอใจมากขึ้น ครั้งนี้เป็นการเจรจากับ USTR ได้มีข้อเสนอให้ไทยพิจารณา ประมาณ 3 เรื่อง
1. เพิ่มรายการสินค้าที่เป็น Market access
2.ลดข้อกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี (NTB)
3. สนับสนุนการลงทุนในสหรัฐ
อย่างไรก็ตามต้องมีการพิจารณาอย่างใกล้ชิดว่าจะตอบรับข้อเสนอสหรัฐมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะรายละเอียดของสินค้ามากว่าหมื่นรายการ เช่น สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม ที่สหรัฐยังไม่บรรลุการเจรจา
นอกจากนั้น สินค้าที่ไม่ใช่ภาษี ที่ทีมไทยแลนด์ ต้องมาดูผลกระทบ ซึ่งหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่ผ่านมา ได้เตรียมข้อมูลการเจรจาเชิงเทคนิค (ลิสต์มาร์เก็ต) อาทิ
1. NTB มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
2. โลคอลคอนเทนต์ พิจารณาปรับสัดส่วนของวัตถุดิบภายในประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่ามีความคืบหน้าแน่นอน
ทั้งนี้ เบื้องต้นหลังจากมีการส่งข้อเสนอให้กับ USTR ทางทีมเจรจาฝั่งสหรัฐนั้น ทางสหรัฐค่อนข้างพึงพอใจในทิศทางแต่ทั้งที่ถูกต้อง ยืนยันว่าการเจรจาจะจบ ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2568 ยอมรับว่าทีมเจรจา มีความกังวลในสินค้าโลคอลคอนเทนต์ เนื่องจากมีประเด็นที่อ่อนไหวจะกระทบประเทศที่ 3 ส่วนแผนการลงทุนที่ไทยเสนอให้ สหรัฐพึงพอใจ เพื่อให้ธุรกิจสหรัฐฯ ลงทุนในประเทศไทย ส่วนในรายละเอียดต้องดูความเหมาะสมว่าไทยสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด
“ยอมรับว่าระยะเวลาเจรจามีจำกัด ทุกชาติเร่งที่จะไปคุย USTR ทุกประเทศต้องปิดดีลให้จบภายในวันที่ 1 ส.ค. 68 หากสหรัฐส่งข้อเรียกร้องมาทางไทย ทีมไทยแลนด์พร้อมพิจารณาและส่งกลับได้เร็วยิ่งขึ้น ยอมรับว่าข้อเสนอหรือข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”
อย่างไรก็ดียอมรับว่า โลคอลคอนเทนต์ในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้สัดส่วนของสินค้าต่างประเทศในการผลิตมากขึ้น การพูดคุยอย่างต่อเนื่องถือว่าเป็นสัญญานเจรจาที่ดี แต่ก็ไม่ได้ไว้วางใจและเดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ การเจรจาขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย
1.สิ่งที่อยู่ USTR คุยกับไทย
2.ต้องคุยกับเอกชนในประเทศให้เร็วที่สุด ยอมรับว่าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงเร็วมาก ประเทศต่างๆ มีการเจรจาทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ แม้ว่าจะมีการพูดคุยอยู่ก็ต้องคุยให้เร็วมากยิ่งขึ้น เพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและสถานการณ์เปลี่ยนแปลงทุกวัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการแข่งขันเข้ามา เป็นโอกาสให้ประเทศไทยปรับตัว เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยแข่งขันได้ แม้ว่าจะมีการเจรจาหรือไม่ก็ต้องปรับตัวให้ได้ อย่าให้เขามองว่าสหรัฐได้ประโยขน์จากไทยอย่างเดียว ส่วนความไม่แน่นอนทางการเมือง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นแต่เชื่อว่าทุกฝ่ายน่าจะเห็นประโยชน์ของประเทศ.