บสย. ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผุดแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ยกระดับองค์กร เพิ่มศักยภาพช่วย SMEs ทุกมิติ

“ประธานบอร์ด บสย.” นัดถกเชิงปฏิบัติการ! เดินหน้าจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ยกระดับองค์กรสู่การดำเนินงานเชิงรุก เชื่อมโยง SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน เพิ่มศักยภาพช่วย SMEs ทุกมิติ ประกาศแผนเชิงยุทธศาสตร์ 3 ระยะ “สั้น – กลาง – ยาว” เริ่มใช้จริงปีหน้า (2569)

นายสุพัฒน์ เมธีวรพจน์ ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็น ประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ บสย. (Board Workshop) พร้อมด้วยคณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารทุกฝ่ายงาน โดยมี นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อนำเสนอกรอบทิศทาง และกลยุทธ์การดำเนินงานของ บสย. พร้อมรับฟังนโยบาย ทิศทาง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ บสย. สำหรับจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ปี 2569 – 2573 และแผนปฏิบัติการประจำปี 2569 ณ โรงแรม สยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2568

โดยกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการดำเนินงานเชิงรุก และยกระดับองค์กรให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นตัวกลางเชื่อมโยง SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน (SMEs’ Gateway) และเป็นพันธมิตรที่ดีกับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Positioning) 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะสั้น (ปี 2569) Credit Mediator เป็นตัวกลางการเชื่อมโยง SMEs และสถาบันการเงิน ผ่านการใช้ข้อมูลและดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) ระยะกลาง (ปี 2570-2571) National Strategic Credit Facilitator เป็นองค์กรค้ำประกันระดับชาติที่มีผลิตภัณฑ์ค้ำประกันที่หลากหลายและครบวงจรเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศทางการเงินของ SMEs และ ระยะยาว (ปี 2572-2573) National Facilitator for Financing Accessibility เป็นองค์กรค้ำประกันระดับชาติ ที่ให้การสนับสนุนทางการเงินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลายอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันและช่องทางที่หลากหลายตอบโจทย์ผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การพัฒนาเครื่องมือ Alternative Credit Scoring Model ที่มีประสิทธิภาพตามระดับความเสี่ยงของลูกค้า การใช้ประโยชน์จาก Big Data และการใช้ Digital Disruptive & Digital Platform ควบคู่ไปกับการยกระดับการดำเนินงานตลอดทั้ง Customer Journey ภายใต้การปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีทางการเงิน

ทั้งนี้ คณะกรรมการได้มุ่งเน้น บทบาทที่สำคัญของ บสย. ในการช่วยเหลือ SMEs ที่มีอยู่ในระบบ และนอกระบบให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายใต้การปรับเปลี่ยนที่สำคัญที่มุ่งสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกัน Commercial Product ที่ตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม โดยใช้เครื่องมือ Credit Scoring Model ที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำ พร้อมสนับสนุนนโยบายภาครัฐเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป.