‘ประชัย’ ฉายภาพ ข้อดี การคุมค่าเงิน 38-40 บาท / ดอลลาร์ จี้ ธปท.ต้องทำเร่งด่วน

ต้องทำเร่งด่วน!!! ‘ประชัย’ฉายภาพให้ดูชัดๆ ชี้ข้อดีการคุมค่าบาท 38-40 บาทต่อดอลลาร์ จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มผลผลิต ทำให้ตัวเลข GDP เติบโต แม้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่ก็ยังดีกว่าลดค่าเงินบาท จะสร้างปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น

วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาชี้ถึงข้อดีของการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทเป็นตอนที่ 22 ระบุว่า นักวิชาการยังมีข้อกังวลอยู่ถึงผลกระทบของการทำให้เงินบาทอ่อนถึง 38 -40 บาทต่อดอลลาร์ (หรืออ่อนลง10%-20%)ในทางลบ

ความจริงผลกระทบทางมหภาคก็คือ GDP จะโตขึ้น 3% -10% แทนที่จะเป็น 2.5% เพราะผลผลิตของโรงงานจะเพิ่มขึ้นแทนการปิดโรงงานเพราะสามารถผลิตส่งออกและขายภายในประเทศสู้กับสินค้านำเข้าได้ ผลผลิตมวลรวมของประเทศ (GDP) ก็จะเพิ่มขึ้น หนี้สินครัวเรือนลดลง และเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลและธปท.ต้องรีบจัดการกับวิกฤติการณ์ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนอยู่ทุกวันนี้ อันได้แก่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ วันนี้ มีอยู่ 1 ล้านล้านบาท จากหนี้ครัวเรือนทั้งหมด 16 ล้านล้านบาท ถ้าไม่รีบแก้ไขสถานการณ์ปล่อยให้โรงงานปิดโรงแล้วโรงเล่า ต่อไปอาจจะไม่เหลือเลยสักโรง แล้วหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ที่กำลังจะมีปัญหาอีก 3 ล้านล้านบาท กลายเป็นปัญหาและอาจจะขยายลามไปเป็น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มทั้งหมด เป็น16 ล้านล้านบาท แล้วก็จะกระทบกระเทือนถึงสถานบันการเงินทั้งประเทศ จนสถาบันการเงินอาจจะถึงขั้นวิกฤติทำให้สถาบันการเงินต้องเพิ่มทุน ถ้าเพิ่มทุนไม่ได้ก็ต้องปิดกิจการแบบเดียวกับต้มยำกุ้งเมื่อ 27 ปีที่แล้ว แล้ว World Bank ก็คงจะมาสั่งให้แช่แข็งศพ แล้วก็ผ่าศพเอาอวัยวะไปขายทิ้งในราคาถูกๆแบบเศษเนื้อให้กับพวกผู้ก่อการร้ายนิวยอร์กตามเคย

แต่ถ้า ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงเป็น 38 บาท/ดอลลาร์ถึง 40 บาท/ดอลลาร์ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ก็จะแก้ไขได้ เศรษฐกิจไทย ก็จะหายวิกฤติประเทศชาติ ก็ไม่ต้องมีกลียุคจากความไม่สงบภายในประเทศเนื่องจากความยากจนเดือดร้อนของประชาชน สถาบันการเงินก็จะสามารถปล่อยกู้ได้ตามปรกติ ดอกเบี้ยปล่อยกู้ลดลง เมื่อไม่มีการปิดโรงงาน คนงานก็จะไม่ตกงาน มีเงินจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ความสามารถในการชำระหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากการมีกำไรของธุรกิจอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและเกษตรกรรม การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้นงบประมาณแผ่นดินก็จะเพิ่มขึ้น เงินสำรองเงินตราต่างประเทศก็จะเพิ่มขึ้น

แต่สิ่งที่ตามมาก็คือจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเพิ่มเป็น 1.5%-5% ซึ่งเป็นเรื่องปรกติคู่กับความเจริญเติบโตของประเทศที่มี GDP โตระดับ 3%-10% ในส่านผลดีอื่นๆทั้งหมดนั้นได้บรรยายไปหมดแล้วใน ตอนที่ 17

ข้อกังวล ที่บางท่านนำมากล่าวชี้นำ ต่อต้านการรักษาเสถียรภาพเงินบาทที่ 38-40 บาทต่อดอลลาร์ คือประชาชนจะต้องซื้อสินค้าที่จำเป็น ที่จะต้องนำเข้าจริงๆ เช่นน้ำมัน นำเข้าแพงขึ้น ทำให้ค่าขนส่งแพงขึ้น แต่ความจริงถ้าธุรกิจดีขึ้นจำนวนสินค้าที่ขนส่งก็มีมากขึ้น แม้ต้นทุนค่าขนส่งที่แพงขึ้น เนื่องจากน้ำมันแพงขึ้น ก็สามารถชดเชยได้โดยต้นทุนการเงินเช่นค่าเสื่อมราคา ดอกเบี้ยของรถบรรทุก และ ค่าจ้าง แรงงานคนขับรถและค่าใช้จ่ายบริหารต่อหน่วยซึ่งจะลดลงเทียบกับการไม่มี สินค้าที่จะขน อันเนื่องจากมีการปิดกิจการ ปิดโรงงาน ธุรกิจหดหาย เพราะตันทุนการผลิตสู้สินค้าต่างชาติไม่ได้ อันเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทแข็งเกินไป เป็นเหตุให้คนตกงานไร้งานทำไม่มีเงินใช้จ่ายไม่สามารถชำระหนี้ครัวเรือน 16 ล้านล้านบาทได้ เนื่องมาจาก อัตราแลกเปลี่ยนสูงเกินไป ซึ่งจะทำให้ บริษัทขนส่งขาดทุน จนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัวถูกยึดรถยึดบ้านยึดกิจการ

แต่ถ้าราคาน้ำมันแพงขึ้นแล้วมีการขนส่งสินค้ามากขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยของค่าขนส่งก็อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่มาก ดีกว่าให้รถบรรทุกจอดอยู่เฉยๆไม่มีงานทำ แม้ค่าขนส่งขึ้นเล็กน้อยแต่มีงานทำและมีเงินที่จะผ่อนใช้คืนเงินผ่อนรถและจ่ายค่าจ้างแรงงานค่าบริหารงานได้

สำหรับสินค้าที่มีผลิตในประเทศไทย ผู้นำเข้าสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยได้ก็สามารถผันตัวไปเป็นเอเย่นต์ขายสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยได้ ทำการค้าปกติ ไม่ได้เสียหาย สำหรับคนงานก็มีงานทำ แม้ว่าค่าครองชีพจะสูงขึ้นเพราะว่าเกิดเงินเฟ้อขึ้นมาไม่เกินความเติบโตของ GDP แต่เมื่อมีงานทำมากขื้น ค่าจ้างแรงงาน และเงินเดือนก็ต้องสูงขึ้น พอที่จะ คนงานสามารถอยู่ได้ พร้อมเงินออมชดเชยกับราคาสินค้าที่แพงขึ้นได้ เพราะฉะนั้นคนจนที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ก็ไม่อดตายไปนอนข้างถนนเหมือนที่อเมริกาแล้วยังมีเงินออมเหลือด้วย ถ้ามีการว่าจ้างแรงงานกันขึ้นมามากๆค่าจ้างแรงงานก็จะสูงขึ้น

สำหรับสินค้าเกษตร ราคาก็จะสูงขึ้นเพราะว่าราคาสินค้าเกษตรส่งออกสูงขึ้น เกษตรกรก็ไม่เดือดร้อน เพราะเงินเฟ้อจะไม่เกิน GDP growth.

ราคาสินค้าโดยทั่วๆไป เฉลี่ยแล้วก็จะขึ้นบ้างเพราะว่าค่าแรงขึ้นและต้นทุนน้ำมันแพงขึ้น แต่ว่าเนื่องจากทุกคนมีงานทำ โรงงานมีผลผลิตมากขึ้นต้นทุนการผลิตต่อหน่วยก็ลดลง ตามทฤษฎีของ Mass Production ดีกว่าปิดโรงงานแล้วไม่มีงานทำไม่มีปัญญาชำระเงินกู้และดอกเบี้ยทำให้โรงงานถูกยึดไปขายเป็นเศษเหล็ก

เพราะฉะนั้นเมื่อคิดโดยรวมแล้วต้นทุนสินค้าก็ขึ้นบ้างไม่ได้มากเกินไป

สำหรับผู้ที่มีเงินออมเหลืออยู่ก็สามารถเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นได้อย่างเช่นทอง เครื่องเพชรหรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ แล้วเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทลดลงเศรษฐกิจดีขึ้นราคาของก็ต้องสูงขึ้นราคาที่ดินและบ้านก็ต้องสูงขึ้น

รัฐบาลเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นมีงบประมาณแผ่นดินมากขึ้นสามารถทำรัฐสวัสดิการให้ประชาชนมีการเรียนฟรีรักษาโรคฟรีมีสวัสดิการปลูกบ้านประชาสงเคราะห์ให้เช่าในราคาถูก 99 ปี ซึ่งก็จะทำให้คนไม่เดือดร้อนมีที่อยู่อาศัย

สำหรับคนที่มีเงินอยู่มากและจะไปท่องเที่ยวต่างประเทศก็ถือว่าไม่เดือดร้อน เพียงแต่ค่าท่องเที่ยวแพงขึ้นและใช้เงินในต่างประเทศซื้อของแบรนด์เนมได้จำนวนน้อยชิ้นลง ก็ไม่ได้เดือดร้อนมากมาย แต่ไปต่างประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ต้องไปขอต่างชาติอยู่อาศัยอย่างยาจก

สรุปแล้วการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทให้ เป็น 38-40 บาทเป็นเรื่องเร่งด่วนเพื่อแก้วิกฤติการของประเทศให้พ้นจากกลียุคและจะทำให้ ประเทศเจริญและประชาชนอยู่ดึกินดีปราศจากความเดือดร้อนประเทศร่ำรวย รัฐบาล เก็บภาษีได้มากขึ้น มีเงินงบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้น และแบงค์ชาติยังสามารถตั้งกองทุนพัฒนาประเทศขึ้นมา จากเงินสำรองเงินตราต่างประเทศ และทองที่เพิ่มขึ้น (ซึ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถออกบัตรได้เพิ่มขึ้น )

กองทุนพัฒนาประเทศนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อให้รัฐบาล กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ย 0.5%ไป พัฒนาประเทศในด้านต่างๆเช่น การศึกษา การแพทย์ศิลปวัฒนธรรมการวิจัยพัฒนาวิทยาการใน แขนงต่างๆกัน เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถของนักศืกษา นักวิชาการนักวิทยาศาสตร์ แพทย์และ วิศวกรในแขนงต่างๆเป็น ระดับชั้นนำของโลก รวมทั้งพัฒนาระบบ สาธารณูปโภค และความเป็นอยูที่ดีของประชาชนให้เป็นรัฐสวัสดิการเพื่อความเจริญของประเทศและความอยู่ดีกินดีของประชาชนชาวไทย.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password