‘มนพร’ นำทีมตรวจเยี่ยม- มอบนโยบาย สบพ. สร้างบุคลากรการบิน ขานรับวิสัยทัศน์นายกฯ

“รชค.มนพร” ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบาย สบพ. มุ่งสร้างบุคลากรการบิน ขานรับวิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรี “IGNITE THAILAND, AVIATION HUB” มั่นใจในศักยภาพของ สบพ. หนุนไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาคได้แน่ แนะตรียมพร้อม “จัดและพัฒนาหลักสูตร” ให้ตรงตามความต้องการ ผุดเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัย

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานสถาบันการบินพลเรือน, นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม พร้อมด้วย นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ที่ปรึกษา รมช.คมนาคม นายสรพันธ์ คุณากรวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ รมช.คมนาคม นายวิทยา ยาม่วง รองปลัดกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายสถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) โดยมี พลเอก ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ ประธานกรรมการสถาบันการบินพลเรือน, คณะกรรมการ สบพ. นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน และคณะผู้บริหาร สบพ. ให้การต้อนรับ ณ สบพ. กรุงเทพฯ พร้อมร่วมสักการะพระพุทธะจัตตาฬีสะมงคล พระพุทธรูปประจำ สบพ. ปลูกไม้มงคลหน้าเสาธง หลังจากนั้นได้เข้ารับฟังบรรยายสรุปภารกิจ ผลการดาเนินงานโครงการสำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของ สบพ. เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการการเรียนการสอนของ สบพ. จากนั้นได้มอบนโยบายขับเคลื่อนองค์กร ให้พัฒนาบุคลากรด้านการบิน ขานรับวิสัยทัศน์ Aviation Hub ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ รมช.คมนาคม ได้มอบนโยบายให้ สบพ. เตรียมความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อรองรับการกลับมาของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการขยายตัวสูงขึ้น ได้รับความนิยมเป็นทางเลือกในการเดินทางและการขนส่งสินค้า ส่งผลให้ความต้องการบุคลากรด้านการบินเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย นับเป็นการยกระดับการคมนาคมขนส่งทางอากาศของไทย สู่การเป็นศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาค ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ซึ่ง สบพ. ถือเป็นหน่วยงานหลักชั้นนำที่ผลิตบุคลากรด้านการบิน และมีหลักสูตรที่หลากหลายเป็นที่ยอมรับ เช่น การจัดการจราจรทางอากาศ การจัดการสนามบิน การจัดการสายการบิน การฝึกนักบิน วิศวกรการบิน และช่างอากาศยาน จึงนับเป็นหน่วยงานสำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขยายโอกาสในการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน

นางมนพร กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้ สบพ. มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองจากองค์กรสากล (ICAO และ EASA) มีบุคลากรผู้สอนที่มีศักยภาพเพียงพอกับจานวนผู้เรียน และมีอุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัย เพื่อให้บุคลากรที่จบการศึกษามีคุณภาพในระดับสากล และตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการธุรกิจด้านการบิน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการส่งเสริมภารกิจดังกล่าว เห็นควรขอความร่วมมือจากหน่วยงานในอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีแผนการเตรียมความพร้อมบุคลากรการบินให้ ร่วมกันสนับสนุน สบพ. โดยการส่งบุคลากรไปฝึกอบรม ณ สบพ. แทนการส่งไปฝึกอบรมในต่างประเทศ            

ดังนั้น สบพ. จึงควรเตรียมความพร้อมโดยจัดและพัฒนาหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน และพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัย รวมถึงให้ครอบคลุมถึงประเด็นการปรับเปลี่ยนบริบททางธุรกิจของอุตสาหกรรมการบิน พร้อมทั้งพิจารณาถึง ระบบการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ เพื่อช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ปรับเปลี่ยนนโยบายการพัฒนาบุคลากรด้วยการส่งฝึกอบรมภายในประเทศแทนการส่งไปฝึกอบรมยังต่างประเทศและลดการเดินทางของบุคลากรในการอบรมซึ่งถือเป็นการดาเนินงานตามมาตรการลดค่าใช้จ่ายของกระทรวงคมนาคมและสามารถเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรอีกทางหนึ่งเพื่อรองรับการกลับมาของอุตสาหกรรมการบินของไทยภายหลังจากวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา

“ขอให้เชื่อมั่นในศักยภาพของบุคลากรด้านการบินของประเทศไทย ว่าเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินของประเทศให้กลับมาเข้มแข็ง และขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อีกครั้งในอีกไม่ช้า เพราะวันนี้เรามีสถาบันการบินพลเรือนที่ประสบความสำเร็จ ได้รับการรับรองจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ในฐานะ สมาชิกโครงการ ICAO TRAINAIR PLUS ระดับ Platinum ซึ่งเป็นสถานะสมาชิกระดับสูงสุดของโครงการ และเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย นับเป็นความภาคภูมิใจที่ สบพ. เป็นหนึ่งในสถาบันฝึกอบรมที่มีมาตรฐานสูงสุดเป็น 1 ใน 4 ของสถาบันฝึกอบรมในภูมิภาคเอเชีย และเป็น 1 ใน 9 สถาบันฝึกอบรมจากสมาชิกทั่วโลก เป็นก้าวแห่งความสาเร็จในมาตรฐานระดับโลก กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะสนับสนุนและผลักดันในทุกมิติ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ช่วยขับเคลื่อนและสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจของชาติตามนโยบายของรัฐบาลอย่างยั่งยืนต่อไป” รมช.คมนาคม ย้ำ

ด้าน นางสาวภัคณัฏฐ์ มากช่วย ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน ได้กล่าวว่า สบพ. พร้อมดาเนินการเพื่อสนับสนุนนโยบาย ที่มีการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ในระบบโลจิสติกส์ (Logistics) ทางด้านการบินของประเทศ จึงมุ่งเน้นเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการบินให้มีมาตรฐานทัดเทียมนานาชาติ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาค ซึ่งในปัจจุบัน สบพ. เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์ทางด้านการบินทั้งในประเทศและภูมิภาค ทั้งกระทรวงคมนาคมยังมีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรร่วมกัน

โดยให้ สบพ. เป็นหน่วยงานกลางให้การอบรมพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการบินทั้งหมด การพัฒนาดังกล่าวจะต้องดาเนินการควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรด้านการบินให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลโดยเฉพาะเป็นบุคลากรที่มีทักษะ (skilled personnel) เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวทางอากาศของประเทศและภูมิภาคต่อไปได้.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password