หวังยกท่าเรือไทย สู่การบริหารจัดการระดับโลก ใช้ระบบ ‘ออโทเมชั่น – เป็นมิตรกับ สวล.’
“มนพร เจริญศรี” นำคณะเข้าศึกษาดูงานท่าเรือ QQCTN ในมณฑลชานตง ประเทศจีน เผย! มีโอกาสที่ไทยจะนำรูปแบบการบริหารจัดการ “ออโทเมชั่น” ท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาปรับปรุงและพัฒนาใช้ในอนาคต
นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ ที่ปรึกษารัฐมนตีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายสรพันธ์ คุณากรวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีฯ, นายเกรียงไกร ไชยศิริวงศ์สุข ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และ คณะทำงานฯ เดินทางไปยังมณฑลชานตง ประเทศจีน เพื่อเยี่ยมชมการก่อสร้าง การบริหารท่าเรือ Qingdao New Qianwan Container Terminal ( QQCTN ) ระหว่างวันที่ 17 – 20 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเดินทางมาในครั้งนี้ เพราะตนให้ความสำคัญกับเรื่องท่าเรือกรีนพอร์ตที่มีระบบการบริหารแบบออโทเมชั่น เน้นพลังงานสะอาด และสามารถเชื่อมต่อระบบรางได้เต็มรูปแบบ อีกทั้ง ยังมีท่าเรือครูซเทอร์มินอลที่สมบูรณ์แบบ และมี Duty Free ซึ่งเป็นท่าเรืออัตโนมัติเต็มรูปแบบแห่งแรกในเอเชียและในโลกที่มีความล้ำหน้าที่สุด อัจฉริยะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากข้อมูลพบว่า ในปี 2566 ท่าเรือแห่งนี้สามารถขนส่งสินค้าครองอันดับ 1 ของโลก มีกำลังการขนถ่ายได้ถึง 4.2 ล้าน TEU ต่อปี ซึ่งมณฑลซานตงอยู่ทางตะวันออกของประเทศจีน โดยการพัฒนาของบริษัท Sinotrans Central China ที่มีการดำเนินงานแบบ One stop Service เพื่อความสะดวกสบายแก่ลูกค้าทุกด้าน ทั้งนี้ ประเทศไทยสามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาได้
โดยการเดินทางไปดูงานในครั้งนี้ มี Mr.Jia Funing Deputy GM SP, Mr.Leng Bing Chairman SPG, Overseas Development Group Chairman และ Yu Jianjun Director,Safety and Environmental Protection Department SPG และคณะผู้บริหารของกลุ่มบริษัทฯ คอยให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชม
สำหรับความสำคัญของ ท่าเรือที่เมืองซานตงพอร์ตกรุ๊ป (SPG) แห่งนี้ นับเป็น “ผู้นำการพัฒนาท่าเรืออัจฉริยะต้นเเบบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” และเป็น หน่วยงานนำร่องแห่งแรกของจีนสำหรับการก่อสร้างท่าเรืออัจฉริยะ ยกตู้คอนเทนเนอร์ระบบลอยฟ้าอัตโนมัติแบบ “ Zero transfer ” ข้ามท่าเรือ ทางบก และทางรถไฟ โดยใช้พลังงานสะอาด ช่วยลดปัญหาฝุ่นPM2.5
นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาท่าเรือเพื่อรองรับการท่องเที่ยว และมีร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) สร้างความสำเร็จในการก่อสร้างท่าเรืออัจฉริยะ ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และการเสริมสร้างความเข้มแข็งในตนเอง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการขนถ่ายสินค้าของท่าเรือที่เป็นอันดับหนึ่งของโลก
“ที่สำคัญ เท่าเรือแห่งนี้ยังได้ส่งเสริมการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน และสร้างนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงการจัดการและการบริการ สนับสนุนความร่วมมือที่เปิดกว้างและแบ่งปันเพื่อสร้างระบบนิเวศของท่าเรืออัจฉริยะ อาคารท่าเทียบเรืออัตโนมัติแบบ front-to-shore แห่งแรกของโลก ตู้คอนเทนเนอร์อัตโนมัติรูปแบบขนานแห่งแรกของโลก โดยใช้รถบรรทุกที่ไร้คนขับแบบเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการอัจฉริยะ ในอนาคตจะปรับท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์อัตโนมัติเต็มรูปแบบ “Cloud Native + พร้อมทั้งจะจัดการควบคุมแบบรวม เพื่อรองรับเทอร์มินอลขนาดใหญ่” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าว.