“ปตท. – กฟผ.” จับมือ จัดงานการใช้ “พลังงาน”ยั่งยืน จี้ รบ.ใหม่ มีนโยบายชัดเจน

กระทรวงพลังงงาน เตรียมจัดงานใหญ่ “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย และ “ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย 2023” 17-19 พ.ค.2566 คาดจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1.8หมื่นราย จาก 70 ประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ส่งเสริม BCG จี้รัฐบาลใหม่ ต้องมีนโยบายด้านพลังงานให้ชัดเจน

วันที่ 23 พ.ค.2566 นายสุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รักษาการณ์ รมว.พลังงาน เตรียมจัดงานใหญ่ ด้านพลังงาน โดยการร่วมมือกันของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกันจัดงาน “ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี่ เอเชีย” และ “ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย 2023” (Future Energy Asia and Future Mobility Asia 2023) เพื่อหารือถึงบทบาทของเอเชียต่อการเปลี่ยนแปลงผ่านพลังงานในระดับโลก ตามตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี 2608

นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานสะอาดและยานยนต์แห่งเอเชีย รองรับเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คาดการณ์ว่าจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก ภายในปี 2573 และความต้องการพลังงานในภูมิภาคจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าระหว่างปี 2556-2583 โดยการจัดงานครั้งนี้มีขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พ.ค.2566 คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 18,000 ราย จากกว่า 70 ประเทศ

โดยผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือทางธุรกิจ และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในอุตสาหกรรมพลังงานและยานยนต์ ผ่านการประสานภาคธุรกิจ นวัตกร และฝ่ายนโยบาย ให้สามารถสร้างก้าวสำคัญในการข้ามความท้าทายด้านพลังงานทั้ง 3 ประการ (Energy Trilemma) ประกอบด้วย 1.การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน 2.การเข้าถึงพลังงานในราคาที่เหมาะสม และ 3.ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมาช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก

นายพิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการ รมว.พลังงาน ระบุว่ามนอีก 10-20 ปีข้างหน้า สัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 20% ตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน พ.ศ.2566-2580 หรือ ‘แผนพลังงานชาติ’ ที่เน้นการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าใหม่ให้มากกว่า 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ 20%

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานภาคขนส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าสีเขียว หรือ BCG เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานตามแนวทาง 4D1E เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593 ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างแก้ไขรายละเอียดประกอบแผน​ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ เพื่อเสนอร่างแผนพลังงานชาติให้รัฐบาลชุดใหม่พิจารณา และมีผลบังคับใช้ภายในปี 2566

“นโยบายพลังงานกับรัฐบาลใหม่ ต้องมีการประกาศให้ชัดเจนมากขึ้น เป็นหน้าที่ของรัฐบาล​ ซึ่งแผนพลังงานแห่งชาติมีความเป็นสากลอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการปรับแก้ไขมากนัก แต่หากรัฐบาลใหม่และรมว.พลังงาน ที่จะเข้ามาดำเนินนโยบายมความรู้ ความเชี่ยวชาญและความคิดที่เป็นมุมมองใหม่ๆ ก็อาจจะมีการรีเฟรชไอเดีย ให้สอดคล้องและยืดหยุ่นไปในทิศทางเดียวกันได้ ทั้งด้านความมั่นคงของพลังงาน และราคาไฟฟ้าที่เหมาะสม เข้าถึงและรับได้ สามารถสะท้อนราคาจริงตามตลาดโลกมากขึ้น”นายพิสุทธิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มองว่าสถานการณ์ราคาพลังงานตลาดโลก เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังคงต้องติดตามและเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงที่ยังมีความผันผวนค่อนข้างมาก ดังนั้นการจะปรับลดราคาพลังงานของประเทศ ต้องพิจารณาถึงปัจจัยหลักรอบด้านทั้งราคาตลาดโลก ปริมาณการใช้พลังงานในประเทศ และสัญญาพลังงานที่ทำไว้ตั้งแต่ในอดีต.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password