ด่วน! ผู้ตรวจการฯ หัก ข้อบังคับ41 ปมอ้าง ห้ามโหวต “พิธา” เป็นนายกฯ ซ้ำทำไม่ได้

ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติ ข้อบังคับ 41 ของที่ประชุมรัฐสภา ที่ห้ามนำชื่อ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” โหวตซ้ำเป็นายกฯ ขัดต่อกฎหมาย พร้อมให้ ชะลอ การโหวตนายกฯ วันที่ 27 ก.ค.นี้ ออกไปก่อน พร้อมชงเรื่อง ศาลรธน.วินิจฉัยด่วน

วันที่ 24 ก.ค.2566 พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เป็นเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงข่าว กรณี มีผู้ร้องให้ ผู้ตรวจพิจาารณา ถึงมติของที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2566 ที่เห็นว่า การเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นมติซ้ำ กระทำไม่ได้ โดยที่ประชุม ผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่า กรณีดังกล่าว ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้การอ้างนำข้อบังคับที่ 41 มาใช้ ถือว่ากระทำไม่ได้ เพราะขัดต่อ กฎหมาย มาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 ที่ระบุว่า ตราบใดที่กระบวนการเลือกนายกฯยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ย่อมสามารถถูกเสนอชื่อต่อไปได้เรื่อยๆ โดยจะนำมติของผู้ตรวจการไปยื่นให้ ศาลรธน.วินิจฉัยต่าอไป ภายใน 1-2 วันนี้ เพื่อให้ทันต่อการ โหวตนายกฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 ก.ค.นี้ โดยจะขอให้ ศาลรธน.มีคำสั่งให้ชะลอการโหวตนายกฯ ในวันดังกล่าวออกไปก่อน

โดยก่อนหน้านี้ นายพรชัย เทพปัญญา นักวิชาการอิสระ และ นายบุญส่ง ชเลธร อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 เข้าชื่อเพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยว่า การที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา มีมติว่าการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาลงมติเป็นนายกรัฐมนตรี ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อที่ 41 เป็นการเสนอญัตติซ้ำนั้นเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้หรือไม่ และหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ก็ขอให้มีคำสั่งไปยังที่ประชุมรัฐสภาให้ยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

สำหรับคำร้องของนักวิชาการทั้ง 2 ระบุว่า การลงมติของที่ประชุมรัฐสภาว่าไม่สามารถเสนอชื่อนายพิธา รอบ 2 ได้ เนื่องจากเป็นการเสนอญัตติซ้ำ โดยอ้างข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 มองว่ารัฐธรรมนูญกำหนดการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการเฉพาะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 และตราบใดที่กระบวนการเลือกนายกฯยังไม่เสร็จสิ้น ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีย่อมสามารถถูกเสนอชื่อได้เรื่อยๆ มติที่ประชุมรัฐสภาดังกล่าวเท่ากับรัฐธรรมนูญถูกละเมิดโดยข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 41 หรือไม่ จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 20 ก.ค.นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ก็ไดยื่นร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ส่งศาล รธน.วินิจฉัยในประเด็นเดียวกัน.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password