‘ผยง’ จี้รัฐไทย! ใช้มาตรการระตุก! ‘ประครอง-ปฏิรูป’ ปลดล็อกสิ่งเปราะบาง หนี ‘กับดักซ้ำซ้อน’

ประธานสมาคมธนาคารไทย  ชี้! เศรษฐกิจไทย “ติดกับดักซ้ำซ้อน” แนะใช้มาตรการกระตุกประคองและปฏิรูปเชิงโครงสร้าง ปลดล็อกความเปราะบาง ใช้ทรัพยากรอย่างตรงจุด  ย้ำ! รัฐไทยควรเลิกนโยบาย “เหมาเข่ง” แก้ปัญหาเศรษฐกิจ

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย ในฐานะ ประธานสมาคมธนาคารไทย ร่วมเวทีสัมมนา iBusiness Forum Decode 2025: The Mid-Year Signal ถอดสัญญาณเศรษฐกิจโลก พลิกอนาคตเศรษฐกิจไทย” โดยชี้ว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีความเปราะบาง จากหลายแรงกดดัน ทั้งเรื่องภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ และปัญหาเชิงโครงสร้างภายในประเทศ โดยเฉพาะ เศรษฐกิจนอกระบบที่มีขนาดใหญ่ ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เป็นภาระของระบบการคลัง และลดทอนประสิทธิภาพและความสามารถในการสร้างผลตอบแทนของภาคธุรกิจ

ทั้งนี้ ได้เห็นสัญญาณจากการที่ประเทศไทยยังมีสภาพคล่องเหลือ แต่เม็ดเงินไหลออกไปลงทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่า ทั้งการลงทุนในกองทุนรวมและการลงทุนโดยตรง อีกหนึ่งตัวชี้วัด คือ Price to Book Value (P/B)ของตลาดทุนไทยซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 เท่านั้น โดยกว่า 70% ของบริษัทจดทะเบียนมี P/B ต่ำกว่า 1.0 สะท้อนปัญหาความเชื่อมั่น  และศักยภาพในการเติบโตของภาคธุรกิจไทยในระยะยาว

นอกจากนี้ ยังพบสัญญาณของเศรษฐกิจนอกระบบในการเคลื่อนย้ายเงินทุน เช่น การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่เป็นผลจากส่วนที่อธิบายไม่ได้ หรือ “Error and Omission” เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ ซึ่งอาจจะสะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของเงินทุนผ่านสินทรัพย์อย่างทองคำและคริปโตเคอร์เรนซีที่ไม่สามารถตรวจสอบหรือจับต้องในระบบเศรษฐกิจจริงได้

อีกด้านของเศรษฐกิจนอกระบบสะท้อนในการเป็นหนี้ของครัวเรือน โดยหาก รวมหนี้ในระบบและ “หนี้นอกระบบ” ขายืม (Gross debt) จะทำให้หนี้ครัวเรือนของไทยสูงถึง 117% ของ GDP นอกจากนั้น หนี้นอกระบบเป็นแหล่งสภาพคล่องสำคัญของเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยพบว่า 40% ของผู้กู้หนี้นอกระบบ เป็นเจ้าหนี้นอกระบบในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงความเปราะบางทางการเงินและการขาดข้อมูลที่จำเป็นในการเข้าถึงการเงินในระบบ

ทั้งนี้ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ จำเป็นต้องเลิกแนวทางแบบ “เหมาเข่ง” หรือการใช้งบประมาณและทรัพยากรแบบไม่ตรงเป้าหมาย โดยเดินหน้าแก้ไขปัญหาผ่าน 3 แนวทางพร้อมกัน คือ “การกระตุก” เศรษฐกิจในระยะสั้น ผ่านมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะ กลุ่มหนี้ครัวเรือนและ SME ที่เปราะบาง ซึ่งปัจจุบันมีโครงการ คุณสู้เราช่วย รองรับอยู่ เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจซึมลึก  “การประคองและกระตุ้น” กลุ่มที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อไม่ให้กลุ่มปริ่มน้ำหลุดออกจากระบบ พร้อมทั้งสร้าง Safety net ที่เพียงพอและทั่วถึง และยกระดับรายได้และเพิ่มโอกาส ขณะที่ธุรกิจรายใหญ่ช่วยประคองรายเล็ก และ Supply Chain การปฏิรูป” ปรับโครงสร้าง ผ่านการผันเศรษฐกิจนอกระบบเข้าสู่ในระบบด้วยการให้แรงจูงใจและเห็นประโยชน์จากการเข้ามาอยู่ในระบบ การปฏิรูปกฎหมาย (Regulatory Reform) โดยให้ความสำคัญกับ Enforcement & Compliance และทลาย Silo ของหน่วยงานที่ออกกฎหมาย การเพิ่มการลงทุนใน R&D เพื่อผลิตภาพและรายได้ที่สูงกว่า การสร้าง Informed Citizen ที่เท่าทัน Dynamic ของโลกและสามารถใช้ประโยชน์จาก Disruptive technology ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และ การปฏิรูปข้อมูล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การถกเถียงนโยบายที่อยู่บนความเข้าใจที่แท้จริง

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก การขยายเพดานหนี้สาธารณะ อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ต้องนำไปใช้เพื่อการปฏิรูป สร้าง Trust & Confidence ไม่ใช่เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น อีกทั้ง ทบทวนงบประมาณปี 2569 เพื่อจัดลำดับความสำคัญใหม่ รวมถึง พิจารณาใช้เครื่องมือทางการคลังต่างๆ อย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของการเชื่อมโยงทุกมิติ (Connect the dots) และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและวัดผลได้ วิกฤตคือโอกาส หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนจุดเปราะบางให้กลายเป็นกล้ามเนื้อใหม่ของระบบเศรษฐกิจได้” ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวในที่สุด.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password