สุดทน! ‘ซีพี ออลล์’ แจ้งเตือน! ระวังเพจปลอมอ้างชื่อหลอกเหยื่อร่วมลงทุน

เผย! ขบวนการแอบอ้าง “ชื่อ-โลโก้” บริษัท/องค์กรขนาดใหญ่ และผู้บริหารระดับสูง กำลังปั่นป่วนในโลกออนไลน์ ล่าสุด ยักษ์ใหญ่อย่าง “ซีพี ออลล์” ต้องออกประกาศชี้แจง หลังโดนแอบอ้างอย่างหนัก เผย! หน่วยงานระดับ “เรคกูเรเตอร์” ทั้ง ก.ล.ต. ธปท. และกระทรวงการคลัง ก็ไม่พ้นโดนแอบอ้างชื่อหลอกลวงเหยื่อลงทุน ย้ำ! นอกจากไม่เชื่อ โดยให้เช็คจากเว็บไซต์จริงของต้นสังกัดหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างแล้ว ยังขอวอนอย่าได้แชร์หรือส่งต่อ “เฟคนิวส์” ประเภทนี้กันอีก

นับวันขบวนการฉ้อฉลในโลกออนไลน์ ที่ส่วนใหญ่มักจะมีฐานที่มั่นอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน จะเหิมเกริม สร้างขบวนการ “เฟคนิวส์” หรือข่าวปลอมรุนแรงและขยายวงกว้าง หวังหลอกลวงเหยื่อให้หลงเชื่อ ด้วยการแอบอ้างชื่อและโลโก้ของหน่วยงาน รวมถึงเจ้าของ และ/หรือ ผู้บริหารของหน่วยงานนั้นๆ มาสร้างความน่าเชื่อใน “เฟคนิวส์” ของตัวเอง

นอกจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) หน่วยงานที่ได้ชื่อว่าเป็น “เรคกูเรเตอร์” มีหน้าที่ตรงตามชื่อขององค์กร รวม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) “เรคกูเรเตอร์” ภาคการเงินและสถาบันการเงิน ไม่เว้นแม้กระทั่ง หน่วยงานอย่าง กระทรวงการคลังและส่วนราชการในสังกัด ต่างก็โดนแอบอ้างชื่อไม่ต่างกัน

“สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบข้อมูลและขอชี้แจงว่า ไลน์ดังกล่าวไม่ใช่ของหน่วยงาน ก.ล.ต. เป็นการชักชวนลงทุนโดยแอบอ้างใช้ชื่อ ภาพบุคคล และตำแหน่งของผู้บริหารของสำนักงาน ก.ล.ต. รวมทั้งมีการแอบอ้างใช้ชื่อของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยไม่ได้รับอนุญาต” รายงานจาก ก.ล.ต. ระบุ

ล่าสุด บริษัทยักษ์ใหญ่ภาคเอชน อย่าง…บมจ.ซีพี ออลล์ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ขณะนี้ อยู่ระหว่างการเสนอขายหุ้นกู้ครั้งที่ 2/2566 จำนวน 3 รุ่น คือ อายุ 5 ปี , 7 ปี และ 10 ปี ซึ่งเป็นการเชิญชวนให้นักลงทุนและผู้สนใจได้ลงทุนจริงๆ และไม่เกี่ยวอะไรกับ “เฟคนิวส์” ดังกล่าว ต่างก็ถูกแอบอ้างชื่อไปหลอกลวงนักลงทุนไม่ต่างกันสักเท่าใด

กระทั่ง เมื่อวันที่ 27 ต.ค.2566 ที่ผ่านมา บมจ.ซีพี ออลล์ ได้ออกประกาศเตือนประชาชนและนักลงทุนทั่วไป โดยได้ชี้แจงกรณีเพจปลอมบางเพจ ได้จัดทำข้อมูลอันเป็นเท็จเสนอในสื่อสังคมออไลน์ โดยระบุว่า เพจดังกล่าวได้มีการนำชื่อ บมจ.ซีพี ออลล์ (บริษัท) ตราสัญลักษณ์ (โลโก้) และภาพผู้บริหาร ไปใช้แอบอ้างและเผยแพร่ลงโฆษณาผ่านเว็บไซต์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook, Instagam, TikTok และอื่นๆ เพื่อชักชวนและหลอกลวงให้ลงทุนในหลายรูปแบบ

ทั้งนี้ จากการตรวจข้อมูลพบว่า เพจที่นำเสนอข้อมูลและชักชวนให้มีการลงทุนดังกล่าวเป็นเพจปลอมและเป็นการแอบอ้างชื่อบริษัทฯ เพื่อหลอกลวงให้ลงทุน ดังนั้น บริษัทฯจึงขอให้ประชาชนโปรดระมัดระวังอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว พร้อมกันนี้ ยังได้ขอให้ทุกคนได้ติดตามข้อมูลประชาสัมพันธ์หรือข่าวสารจากเว็บไซต์ทางการ www.cpall.co.th ของบริษัทฯเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ ทาง สำนักงาน ก.ล.ต. ธปท. กระทรวงการคลัง และอีกหลายๆ หน่วยงาน ต่างก็ขอความร่วมมือไปยังประชาชน อย่าได้หลงเชื่อการชักชวนที่มีแนวโน้มจะเป็น “เฟคนิวส์” รวมถึงการไม่แชร์และไม่ส่งต่อข้อความเหล่านี้ในสื่อสังคมออนไลน์ ด้วย.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password