ค่ายกรุงไทยมองจีดีพีไทย ปี’68 เหมือนสภาพัฒน์คาดการณ์ 2.8% พิษจาก ‘สงครามการค้า-สินค้าจีนทะลัก!’

นักวิเคราะห์ Krungthai COMPASS มองเศรษฐกิจไทย Q4/2567 ที่สภาพัฒน์แจงการเติบโต 3.2% ฉุดจีดีพีรวมทั้งปีเหลือ 2.5% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ คาดจีดีพีไทยในปี 2568 อาจรับความเสี่ยงจากสงครามการค้า พ่วงสินค้าจีนทะลักเข้าไทย กดเหลือแค่ 2.8% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยกลางของสภาพัฒน์

นายกฤษฏิ์ ศรีปราชญ์ นักวิเคราะห์จาก Krungthai COMPASS จัดทำบทวิเคราะห์ว่าด้วยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4/2024 อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ได้รายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพ) ไตรมาสดังกล่าว โดยขยายตัว 3.2%YoY และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าขยายตัวได้ 0.4%QoQSA โดยมีแรงขับเคลื่อนที่สำคัญจาก

การส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้ายังขยายตัวได้ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ 8.8%YoY และขยายตัวในอัตราสูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2022 โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่วนหนึ่งจากการเร่งส่งออกสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงผลจากความไม่แน่นอนของมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ด้านการท่องเที่ยวขยายตัวดีที่ 22.9%YoY ตามจำนวนนักเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มาเลเซีย และอินเดีย

การลงทุนภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้น 39.4% โดยขยายตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากการเร่งขึ้นทั้งการลงทุนก่อสร้างและเครื่องจักรเครื่องมือ

การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.4% ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ตามการใช้จ่ายในทุกหมวดสินค้าที่ขยายตัวดี ยกเว้นการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน โดยเฉพาะการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ ส่วนหนึ่งจากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง และสถาบันการเงินที่ระมัดระวังในการให้สินเชื่อใหม่

อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ -2.1% ตามการหดตัวในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือที่ -1.7% โดยเฉพาะการลงทุนในกลุ่มยานพาหนะเป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนก่อสร้างหดตัว -3.9% ตามการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 2024 ขยายตัวได้ 2.5% โดยแรงขับเคลื่อนหลักจากการส่งออกที่ขยายตัวดี 4.3%โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสหรัฐฯ คาดว่าเป็นผลจากการเร่งส่งออกก่อนมีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการค้าของสหรัฐฯ สินค้าที่ขยายตัวดี อาทิ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง

การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดีที่ 4.4% ท่ามกลางปัจจัยลบทั้งกำลังซื้อที่ยังไม่เข้มแข็ง หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และภาวะอุทกภัย ส่วนหนึ่งจากผลดีของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แม้ว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ แต่บางส่วนเป็นผลจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายหลังจากที่มีการล่าช้าในปีงบประมาณก่อน ด้านการลงทุนภาคเอกชนหดตัวจากการลงทุนในเครื่องจักรที่ -1.5% โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ เช่นเดียวกับภาคการก่อสร้างที่หดตัว -2.1% ตามกำลังซื้อผู้บริโภคที่ยังไม่เข้มแข็ง

สำหรับ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2025 สภาพัฒน์ ยังคงการประมาณการณ์ว่า จะขยายตัวในช่วง 2.3% ถึง 3.3% (ค่ากลาง 2.8%) จากปัจจัยสนับสนุนทั้ง 1) การเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะงบลงทุน 2) แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนตามการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนของ BOI รวมถึง การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง 3) การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่าจะกลับเข้าสู่ระดับก่อน covid-19 และ 4.การขยายตัวต่อเนื่องของส่งออกสินค้า

อย่างไรก็ดี สภาพัฒน์ มองว่า เศรษฐกิจในปี2025 ยังมีปัจจัยกดดันจาก 1) ภาวะผันผวนจากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และนโยบายกีดกันทางการค้า 2) ภาระหนี้สินของภาคครัวเรือนและธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง และ 3) ความผันผวนในภาคเกษตร ประกอบกับปัญหาสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนสูง

นักวิเคราะห์ Krungthai COMPASS อธิบายความหมายจากปรากฏการณ์เศรษฐกิจข้างต้น ดังนี้…

เศรษฐกิจปี 2024 ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 2.5% และต่ำกว่าระดับศักยภาพ แม้การส่งออกสินค้าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับไม่เห็นผลดีที่ชัดเจน สะท้อนผ่านดัชนี MPI ที่หดตัวในหลายหมวดสินค้า อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ สินค้าคงคลังที่ลดลงสูงและมี contribution ต่อ GDP ในปีนี้มากเป็นประวัติการณ์ทำให้ต้องเร่งติดตามพัฒนาการของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่อาจกลายสภาพเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างใหม่ของเศรษฐกิจไทย

มาตรการกีดกันทางการค้าที่เริ่มขยายวงกว้างมากขึ้น และเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ อาจส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2025 เติบโตได้น้อยกว่าที่คาด โดยเฉพาะด้านการส่งออกสินค้าที่ Krungthai COMPASS คาดว่าจะขยายตัวได้ใกล้เคียงระดับ 6% ใน 2025H1 ก็อาจได้รับผลกระทบให้ขยายตัวได้ต่ำ อีกทั้งอาจส่งผลให้ ปัญหาการรทะลักเข้ามาของสินค้าจากต่างประเทศที่มีอยู่เดิมทวีความรุนแรงมากขึ้น ความเสี่ยงที่ทยอยชัดเจนมากขึ้นทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังยังมีความจำเป็นที่ต้องอาศัยมาตรการภาครัฐเพิ่มเติมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อรัมือกับความผันผวน.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password