TTB หนุนธุรกิจไทยเปลี่ยนองค์กรสู่ ESG เรียนรู้ปรับตัวสู่ความเป็น Blue Finance

ทีเอ็มบีธนชาต-ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป สนับสนุนธุรกิจไทยเปลี่ยนองค์กรสู่ ESG เรียนรู้ปรับตัว เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

กรุงเทพฯ, 17 กรกฎาคม 2566 – การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทีนับวันจะส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้น ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ทําให้ทั่วโลกผนึกกําลังร่วมกันหาสมดุล เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน โดยมี ESG เป็นตัวขับเคลื่อน นํามาสู่กติกาใหม่ของโลกในหลายด้าน ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี จึงได้จัดเสวนาพิเศษ Empower Business towards Environmental Sustainability ตอกย้ำทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงความสําคัญและกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเร่งปรับกลยุทธ์ธุรกิจให้สอดรับกับ ESG โดยมี บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ร่วมพูดคุยถึงวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และการปรับตัวเพื่อก้าวสู่ความเป็น Blue Finance

นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ESG คือ วิธีการบริหารธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีมานานแล้ว โดยในอดีตอยู่ในรูปแบบของการขอความร่วมมือ แต่ปัจจุบันเริ่มมีไม้แข็งจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาบังคับใช้ หากไม่ปฏิบัติตามก็อาจจะทําการค้าขายกับประเทศที่ออกกฎไม่ได้ โดยยุโรปถือเป็นแนวหน้าออกมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) สินค้ากลุ่มแรก เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ปุ๋ย และซีเมนต์และสหรัฐฯ ที่เป็นประเทศคู่ค้าสําคัญของไทยก็กําลังพิจารณากฎหมายที่มีแนวคิดเดียวกับ CBAM คาดว่าจะบังคับใช้ในปี 2567 ส่วนประเทศไทยก็มีการออกมาตรฐานกลางที8ใช้อ้างอิงในการจําแนกและจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมของไทย (Thailand Taxonomy) โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทําให้กระแส ESG ปรับตัวเร็วขึ้น”

วันนี้เรื่องของ ESG ได้ขยายวงกว้างออกไป ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และพนักงานก็ได้ให้ความสําคัญอย่างสูง เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกาได้ทําการสํารวจและพบว่ามีลูกค้ามากถึง 60% ยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพนักงานมากกว่า 80% รู้สึกภูมิใจและอยากทํางานกับบริษัทที่มีจุดยืนด้าน ESG สิ่งเหล่านี้ สะท้อนว่าคนในสังคมเริ่มตื่นรู้และตระหนักว่าถ้าไม่เริ่มเปลี่ยนแปลง และไม่เปลี่ยนวิธีการดําเนินธุรกิจ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายจะวกกลับมากระทบกับธุรกิจ ดังนั้น ESG จึงไม่ใช่แค่กระแสอย่างแน่นอน และไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ แต่เป็นวิถีใหม่ที่เป็นประโยชน์กับทุกคน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

แม้ธุรกิจธนาคารจะเป็นธุรกิจที่สร้างก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างน้อย แต่ในฐานะผู้ปล่อยกู้ให้กับทุกอุตสาหกรรมหน้าที่ของทีทีบี คือ การสนับสนุน (Empower) ให้ผู้ประกอบการเติบโตได้อย่างยั่งยืน ผ่าน 2 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.สร้างความตื่นรู้ โดยการให้คําปรึกษาและเพิ่มองค์ความรู้เชิงลึกต่อการทําธุรกิจในวิถีนี้อาทิ โครงการ finbiz by ttb ที่เป็นศูนย์กลางความรู้ให้ผู้ประกอบการในทุกแพลตฟอร์ม มีเนื้อหาในเรื่องความท้าทายของผู้ประกอบการ รวมถึงเรื่อง ESG และหลักสูตร LEAN for Sustainable Growth by ttb ให้องค์ความรู้ผ่านการจัดอบรมมาตลอดกว่า 10 ปี ซึ่งได้เริ่มนําหัวข้อ ESG เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร 2. สร้างแรงจูงใจและสนับสนุนโครงการที8มุ่งเน้นในเรื่อง ESG เช่น การปล่อยสินเชื่ออาคารสีเขียวที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง โครงการ สนับสนุนให้ลูกค้าเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น โดยทีทีบีเชื่อว่าการปล่อยสินเชื่อ อย่างรับผิดชอบผ่านโครงการดีๆ จะสร้างผลกระทบให้กับสังคมได้ สุดท้ายก็จะสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเติบโตอย่างยั่งยืน

นายศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทีทีบี มุ่งมั่นขับเคลื่อนสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) ตามหลัก ESG ที่เป็นอีกหน้าที่ของธนาคารที่ต้องการให้การสนับสนุนลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และสังคมให้สามารถดําเนินชีวิตและธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป เพราะธนาคารเชื่อว่าเรื่องของการดําเนินธุรกิจและความยั่งยืนไม่สามารถแยกออกจากกันได้”

ในมุมของผู้ประกอบการ นายยงยุทธ เสฎฐววิรรธน์ กรรมการผู้จดัการ ฝ่ายการบริหารการเงินกลุ่มและศูนย์บริการร่วมทางการเงิน บมจ.ไทยยูเนียน กรุ๊ป เล่าถึงจุดเปลี่ยนและการปรับตัวว่า ในปี 2557 ประเทศไทยถูก Trafficking in Persons Report (TIP) จัดอันดับให้อยู่ใน Tier 3 ในเรื่องการดูแลแรงงานและสวัสดิภาพความเป็นอยู่ของแรงงาน ส่งผลให้สินค้าที่มาจากประเทศไทยเผชิญปัญหาส่งออกไปยังประเทศฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ให้ความสําคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และปีถัดมา 2558 ก็เจอปัญหาการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (IUU Fishing) ของสหภาพยุโรปถือเป็นจุดเปลี่ยนสําคัญ ไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมแต่รวมถึงประเทศไทยด้วย ดังนั้น แม้ว่าไทยยูเนี่ยนฯ จะปฏิบัติตามกฎหมายก็ยังได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมในภาพรวม จึงมีความตั้งใจผลักดันเรื่องนี้ อย่างเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับรัฐบาลที่ต้องการปรับกระบวนการมาตรฐานของความยั่งยืนในประเทศทั้งหมด

“ปีที่เจอวิกฤต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเรา คือ คุณธีรพงษ์ จันศิริ บอกว่าเรื่องความยั่งยืนเป็น License to Operate แปลว่า ถ้าไม่ทําเรื่องนี้ เราอาจจะเดินหน้าธุรกิจต่อไปไม่ได้แล้ว เราในฐานะผู้นําธุรกิจอาหารทะเลของโลก จึงได้เดินหน้าคิดค้นกลยุทธ์และปรับตัวครั้งสําคัญ ในปี 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืน หรือ SeaChange® โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ความยั่งยืนของท้องทะเล เพราะถ้าไม่มีทะเลก็ไม่มีธุรกิจของเรา และนํามาดูแลความเป็นอยู่ของผู้คน เพราะอาหารทะเลเป็นแหล่งโปรตีนที่ถูกและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อย และเรื่องแรงงาน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2559-2563 บริษัทสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 28%”

ภายใต้กลยุทธ์ SeaChange® ที่ประกาศเมื่อปี 2559 นั้นจะครอบคลุมในเรื่องการดูแลความเป็นอยู่ของแรงงาน ให้มีการจ้างอย่างถูกต้องรวมถึงดูแลความปลอดภัยให้มีชีวิตที่ดีขึ้น รวมไปถึง Responsibility Sourcing การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ โดยคํานึงถึงกฎเกณฑ์การทําประมงให้ถูกหลักเกณฑ์ของเวทีโลก และ Responsibility Operation การดําเนินงานต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกจากนี้ ยังดูแลในเรื่อง People and Communities การตอบแทนสังคม ซึ่งปัจจุบันไทยยูเนี่ยนกําลังจะประกาศกลยุทธ์และเป้าหมายไปจนถึงปี 2573 หรือ SeaChange®2030 เพิ่มความกว้างและลึกขึ้นในทุกมิติครอบคลุมทั้งซัพพลายเชน ทําให้ความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์และคู่ค้าในแง่เป้าหมายของความยั่งยืนผูกกันแน่นขึ้น ซึ่งไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ต้องการสร้างมาตรฐานให้อุตสาหกรรม เพื่อกําหนดเป็นเป้าหมายเดียวกัน จนสามารถก้าวสู่ความเป็น Blue Finance หรือ การเงินที่ส่งเสริมความยั่งยืน

ESG ไม่ใช่กระแส แต่เป็นของจริงที่ทุกคนต้องเจอแน่ ๆ และความเข้มข้นจะมากขึ้นเรื่อยๆ เราเห็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชัดเจน ซึ่งมีผลกระทบต่อทุกธุรกิจ ดังนั้นทางเลือกคือจะเลียงหรืออยู่ด้วยกัน ผมขอแนะนําว่าควรเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกัน วันนี้โลกมีกติกาชัดขึ้น การอยู่ร่วมกับกระแส ESG เราจําเป็นต้องปรับตัวและนับเป็นเรื่องดีที่ทีทีบีมีโปรแกรมสนับสนุนเรื่องความยั่งยืน ซึ่งการ Empower เป็นสิ่งสําคัญที่สุด เพราะธนาคารเป็นคนปล่อยกู้ให้กับอุตสาหกรรมจํานวนมาก ยิ่งเรื่องนี้ ขยายวงออกไปครอบคลุมถึงซัพพลายเชน ธนาคารก็จะยิ่ง มีบทบาทสําคัญเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น” นายยงยุทธ กล่าวทิ้งท้าย.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password