BBL โชว์กำไร Q1/65  7.1 พันล. เหตุค่าธรรมเนียม-ต้นทุนดีขึ้น

แบงก์กรุงเทพแจงผลกำไร Q1/65 เพิ่มขึ้น 3%YoY และ 13%QoQ  กำไรจากการดำเนินงานก่อนตั้งสำรองฯ เติบโต 9%YoY แต่ลดลง 1%QoQ ด้านสินเชื่อยังมีแนวโน้มเติบโต หลักจากสินเชื่อองค์กร และสินเชื่อรายย่อย NIM ทรงตัว รายได้ไม่ใช่ดอกเเบี้ยเพิ่มขึ้น  จากรายได้ค่าธรรมเนียมฟื้นตัว การจัดการต้นทุนที่ดี และการตั้งสำรองที่ลดลง 

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) รายงานผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาสที่ 1/2565 ของธนาคารฯและบริษัทย่อย ว่า สามารถสร้างกำไรเพิ่มขึ้น 3%YoY และ 13%QoQ  โดยกำไรจากการดำเนินงานก่อนตั้งสำรองฯ เติบโต 9%YoY แต่ลดลง 1%QoQ นอกจากนั้น สินเชื่อยังมีแนวโน้มเติบโต หลักจากสินเชื่อองค์กร และสินเชื่อรายย่อย NIM ทรงตัว รายได้ไม่ใช่ดอกเเบี้ยเพิ่มขึ้น  จากรายได้ค่าธรรมเนียมฟื้นตัว การจัดการต้นทุนที่ดี และการตั้งสำรองที่ลดลง ทั้งนี้ กำไรสุทธิที่เกิดขึ้น มีจำนวน 7,118 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% จากไตรมาส 1 ปี 2564 โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 10.4% จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินให้สินเชื่อ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 2.11%

โดย รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลง 16.1% ส่วนใหญ่จากกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรมลดลงตามสภาวะตลาด และรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิลดลงจากธุรกิจบัตรเครดิต และบริการประกันผ่านธนาคารและกองทุนรวม ส่วน ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานลดลง 1.6% ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 49.8% ทั้งนี้ ธนาคารฯได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 6,489 ล้านบาท

รายงานระบุว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ธนาคารฯมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,587,534 ล้านบาท อยู่ในระดับเดียวกับสิ้นเดือนธันวาคม 2564 โดยมีสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่เพิ่มขึ้นสุทธิกับการลดลงของสินเชื่อกิจการต่างประเทศ 

ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารยึดหลักการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังและรอบคอบมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและเพิ่มขึ้นเป็น 229.0%

โดย ธนาคารฯมีเงินรับฝาก ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 3,194,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2% จากสิ้นปีก่อน เป็นผลจากการที่ลูกค้ายังคงต้องการดำรงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงในภาวะที่ยังมีความไม่แน่นอน ทำให้อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากอยู่ที่ 81.0% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของต่อสินทรัพย์เสี่ยงของธนาคารและบริษัทย่อยอยู่ที่ 19.5% 16.0% และ 15.2% ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password