เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ‘20 ปีแห่งการรวมบุคคลทรงคุณค่าของชาติ’ ร่วมสร้างคุณค่านักเขียน

20 ปี เซเว่นบุ๊คอวอร์ดรวมพลังคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับชั้นนำของประเทศแต่ละสาขา ศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิต กว่า 50 ท่าน ร่วมตัดสินรางวัลสร้างคุณค่าให้นักเขียน ในการพิจารณามอบรางวัล เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 20 ประจำปี 2566

เซเว่นบุ๊คอวอร์ด (7 Book Awards) นับเป็นเวทีระดับประเทศในการจัดประกวดหนังสือดีเด่น ที่ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมากมาร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินในหมวดต่างๆ ทั้ง ศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญระดับชั้นนำของประเทศ โดยการพิจารณา รางวัล เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 20 ประจำปี 2566 ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการถึง 51 ท่านร่วมกันพิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้ง 7 ประเภท ได้แก่ กวีนิพนธ์ นวนิยาย การ์ตูน รวมเรื่องสั้น วรรณกรรมสำหรับเยาวชน สารคดี (ทั่วไป) และรางวัลนักเขียนรุ่นเยาว์  อาทิ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ กวีซีไรต์ เป็นประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลประเภทกวีนิพนธ์, บุญเตือน ศรีวรพจน์  ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอักษรศาสตร์ กรมศิลปากร ,ยุทธ โตอดิเทพย์ ประธานสถาบันกวีนิพนธ์ไทย เป็นกรรมการ,ชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน ประเภทนวนิยาย, อัศศิริ ธรรมโชติ  ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ นักเขียนรางวัลซีไรต์ เป็นกรรมการตัดสิน ประเภทเรื่องสั้น ฯลฯ

นิ้วกลม

และในปีนี้ยังได้รับเกียรจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีเป็นประธานในพิธีมอบโล่พระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้แก่บุคคลที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” ครั้งที่ 20 ประจำปี 2566 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรตินักเขียน ในแวดวงนักเขียนและวรรณกรรม รวมถึงเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ได้หันมาให้ความสนใจเรื่องการอ่าน การเขียน ตามนโยบายส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชนของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) ผู้บริหาร เซเว่น อีเลฟเว่น

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ที่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จัดเวที “ประกวดหนังสือดีเด่นรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด” เพื่อเป็นพื้นที่แห่งโอกาสในการส่งเสริมนักเขียนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เยาวชนคนรุ่นใหม่จนถึงนักเขียนมืออาชีพ ได้มาร่วมสร้างสรรค์ผลงานทรงคุณค่าให้กับสังคมไทยตามปณิธาน “Giving and Sharing” มีผลงานส่งเข้าประกวดจำนวนมาก โดยปีนี้ มีผลงานประเภทต่าง ๆ ส่งเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น 216 ผลงาน และมีผลงานที่ได้รับรางวัล 20 ผลงาน และรางวัลยกย่องการสืบสานขนบวรรณศิลป์ท้องถิ่น 1 รางวัลและหนังสือแนะนำ 9 ผลงานรวมทั้งสิ้น 30 ผลงาน

รอมแพง

หลากหลายผลงานจาก เวทีเซเว่นบุ๊คอวอร์ดสร้างกระแส สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนในสังคม เช่น“บุพเพสันนิวาส” หนังสือรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ปี 2553 ประเภทนวนิยาย ผลงานโดย “จันทร์ยวีร์ สมปรีดา” เจ้าของนามปากกา “รอมแพง” เป็นหนึ่งในเครื่องสะท้อนการเป็นเวทีประกวดหนังสือระดับประเทศ ซึ่งสร้างปรากฏการณ์ได้รับความนิยมถล่มทลาย เมื่อถูกนำมาผลิตเป็นละครเผยแพร่ทางจอแก้ว ไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่ผลงานชิ้นนี้ยังถือเป็น Soft Power ชั้นดี ในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปยังประเทศต่างๆ ด้วย 

หรือผลงานของ “นิ้วกลม”  “สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์” ได้สร้างแรงบันดาลใจให้แฟนคลับทุกเพศทุกวัย จากจุดเริ่มต้นด้วยการเขียนเว็บบอร์ด จนมาถึงผลงานในรูปแบบหนังสือเล่ม ก็เป็นอีกหนึ่งนักเขียนที่สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมายในเวทีเซเว่นบุ๊คอวอร์ด อาทิ หิมาลัยไม่มีจริง (เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 15) Homo Finishers (เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 16) ทักษะความสุข (เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 18) และล่าสุดผลงาน Ultraman เส้นชัยไร้เหตุผล ก็เพิ่งคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทสารคดี จากเวทีรางวัลเซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 20 มาสดๆ ร้อนๆ  

กุสุมา รักษมณี

อีกหนึ่งผลงานที่จะต้องกล่าวถึงจากเวทีประกวดปีล่าสุด 2566 ก็คือ ผู้ที่ได้รับรางวัลประเภทสารคดี ชนะเลิศ “กุหลาบเปอร์เชียในแดนสยาม” ของ “กุสุมา รักษมณี” นักภาษาและวรรณคดีที่ได้รับการยอมรับนับถือสูงมาก หรือ “แม่นาก ภาคสมบูรณ์: MAE NAK CLASSICAL GHOST OF SIAM” ที่คว้ารองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทสารคดี โดย เอนก นาวิกมูล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ผลงานที่ต้องใช้เวลาถึง 20 ปี ในการสืบค้นเก็บรวบรวมข้อมูล ตอบทุกข้อสงสัย ไขความกระจ่าง จนทำให้แม่นากเล่มนี้เป็นเรื่องผีอมตะของเมืองไทย ซึ่ง เอนก นาวิกมูล ทุ่มเทให้มากที่สุดเล่มหนึ่งในชีวิต หรือ “ประชาคม ลุนาชัย” ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทนวนิยายในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ที่ถือเป็นนักเขียนมืออาชีพที่มีแฟนคลับอยู่ทั่วประเทศ

เซเว่นบุ๊คอวอร์ดจึงเป็นเวทีที่ทุกคนรอคอย เป็นเวทีที่ให้มากกว่าเกียรติยศชื่อเสียง หรือเงินรางวัล หากแต่เป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจ และกำลังใจ สร้างความเชื่อมั่นให้บุคคลในแวดวงนักอ่าน นักเขียน ได้ไปต่อ เป็นศูนย์รวมใจของคนจำนวนมากที่อยากสร้างสรรค์สังคมผ่านตัวอักษร สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพเติมเต็มให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ส่งต่อคุณค่าให้กันและกัน.

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ
ประชาคม

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password