สว.จี้ ‘4 กระทรวงหลัก’ ผนึกดัน ร่าง พ.ร.บ. ปาล์น้ำมันและน้ำมันปาล์ม

ปัญหา “ปาล์น้ำมันและน้ำมันปาล์ม” ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีความพยายามในการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ร่าง พ.ร.บ. ปาล์น้ำมันและน้ำมันปาล์ม ที่แม้จะผ่านพ้นมานานถึง 10 ปี ทว่ากฎหมายฉบับนี้ ก็คงไม่อาจคลอดออกมาบังคับใช้ได้

สาเหตุสำคัญก็น่าจะเป็นเพราะ เรื่อง…ปาล์น้ำมันและน้ำมันปาล์ม  ดันไปเกี่ยวพันกับหลายหน่วยงาน หลายกระทรวง

ต้นน้ำ…เริ่มตั้งแต่การเพาะปลูกยันเก็บเกี่ยวผลผลิต อยู่ในความรับผิดชอบของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กลางน้ำ…เมื่อเข้าสู่กระบวนการสกัดในโรงสกัดน้ำมันพืชใช้ในครัว อยู่ในความดูแลของ กระทรวงอุตสาหกรรม และหากต่อยอดไปสู่การนำน้ำมันปาล์มไปผสมเป็นน้ำมันไบโอดีเซล ก็จะมี กระทรวงพลังงาน มากำกับดูแล

ปลายน้ำกระทรวงพาณิชย์ ก็จะเข้ามาดูแลในส่วนของขั้นตอนการตลาด ทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ

เรียกว่า…เป็นพืชชนิดเดียวที่มี 4 กระทรวงหลัก “เกษตรฯ – อุตสาหกรรม – พลังงาน – พาณิชย์” เข้ามาข้องเกี่ยว

แต่ละกระทรวง ก็มีหน่วยงานย่อยคอยดูแลเชิงลึก และยังมี “ฝ่ายการเมือง” เข้ามากำกับดูแลเชิงนโยบาย ทำให้เรื่องที่ยุ่งอยู่แล้ว…กลับยุ่งกันเข้าไปใหญ่!!!

ล่าสุด เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ณ อาคารรัฐสภา, นายสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม ประธานคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาด้านพลังงานทดแทน วุฒิสภา ได้เชิญตัวแทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ เข้ามาชี้แจง กรณีการยกร่าง พ.ร.บ. ปาล์น้ำมันและน้ำมันปาล์ม

ส่วนหนึ่ง…เพราะในฟากของ พรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีในสังกัดพรรคฯ กำกับดูแลทั้ง…กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม อยากผลักดันร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่พรรคเป็นผู้เสนอ เพื่อหวังจะลดขั้นตอนการพิจารณา และเร่งรัดผลักดันให้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร โดยเร็ว 

ประธาน อนุฯพิจารณาศึกษาด้านพลังงานทดแทน วุฒิสภา ย้ำว่า…ที่ประชุม กมธ. พิจารณาศึกษาด้านพลังงานทดแทน ได้เสนอแนะให้เชิญผู้แทนจากกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ 4 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ร่วมผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.  ปาล์น้ำมันและน้ำมันปาล์ม  เพื่อร่วมกันดูแลอย่างครบวงจร

โดยหลังจาก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ปาล์น้ำมันและน้ำมันปาล์ม แล้ว หากปล่อยให้แต่ละกระทรวงต่างทำ ก็หวั่นเกรงว่าจะมีปัญหาเหมือนกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น อ้อยและยางพารา ที่แม้จะมีกฎหมายออกมาควบคุมดูแล และจัดตั้งสำนักงานขึ้นมากำกับดูแล รวมถึงได้รับการจัดสรรงบประมาณไปแล้ว แต่ยังมีปัญหาเหมือนเดิม กระทั่ง มีการบังคับให้เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียน โดยหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป ตนเกรงว่าจะกลายเป็น “พ.ร.บ.พิเศษ” ที่ไปบังคับใช้ทุกคน ดังนั้น จึงขอให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกำหนดวิธีการคำนวณราคาขายปาล์มน้ำมันให้ชัดเจน มีมาตรฐาน เหมือนเช่นในประทเศมาเลเซีย โดยมีแนวทางในการดูแลผลผลิตของชาวสวน ไปจนถึวโรงสกัด และโรงกลั่นอย่างชัดเจน

ทั้งนี้ ที่ประชุม กมธ.ฯ แนะให้กำหนดแนวทางในการยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ชัดเจน โดยจะใช้งบเบื้องต้นช่วยเหลือชาวสวนปาล์มอย่างไร? มีการกำหนดส่วนแบ่งรายได้ให้เกษตรกรอย่างไร? แผนการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร การหาช่องทางพัฒนาพันธุ์ปาล์น้ำมัน เพื่อเปอร์เซ็นของน้ำมันให้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากเดิมทลายปาล์มน้ำมัน 100 กิโลกรัมสกัดเป็นน้ำมันได้เพียง 18 กิโลกรัม หรือร้อยละ 19 เพิ่มเป็น ร้อยละ 22 ในปี 2570 – 2575 รวมถึงการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ภายในปี 2570 ให้ได้ 3.4 ตันต่อไร่  และภายในปี 2573 เพิ่มเป็น 3.5 ตันต่อไร่  โดยเมื่อรัฐบาลยอมรับมาตรฐานยูโร 5 และจะต้องใช้ไบโอดีเซลผสมเพียงน้ำมันดีเซล B7 เท่านั้น สิ่งนี้ จะทำให้ปริมาณการรับซื้อน้ำมันปาล์มลดลงไปอีก

นายสรชาติ กล่าวว่า ที่ประชุม กมธ. พิจารณาศึกษาด้านพลังงานทดแทน วุฒิสภา มองว่า การปลูกปาล์มน้ำมัน มีหลายหน่วยงานร่วมดูแล  จึงทำให้ทุกกระทรวงต้องการกำกับดูแลกฎหมายด้วยตนเอง โดยกระทรวงเกษตรฯ ดูแลต้นน้ำ ในการปลูกปาล์มน้ำมัน จนถึงโรงสกัด กระทรวงอุตสาหกรรม ดูแลโรงกลั่น กระทรวงพลังงาน ดูแลน้ำมันปาล์ม เพื่อผสมไบโอดีเซล กระทรวงพาณิชย์ดูแลด้านการตลาด การส่งออก  ราคาน้ำมันปาล์ม ยอมรับ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวหารือเพื่อตั้งไข่นาน 10 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ  จึงเสนอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้อย่างจริงจัง ในการดูแลทุกห่วงโซ่ปาล์มน้ำมัน

นอกจากนี้ ที่ประชุม กมธ. พิจารณาศึกษาด้านพลังงานทดแทน วุฒิสภา จะได้เชิญตัวแทนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษพลังงาน ที่ได้รับจัดสรรงบปี 68 วงเงิน 3,500 ล้านบาท มาจัดสรรช่วยเหลือในด้านพลังงานทดแทน  เพื่อต้องการให้กลุ่มชาวบ้านได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  เช่น การสร้างโรงตากแห้งจากแสงอาทิตย์ เพื่อใช้จากผลไม้อบแห้ง โดยที่ประชุมฯ เสอนะแนะว่า การจัดสรรเงินยุ่งอยากซับซ้อน กระจายไม่ทั่วถึง ซึ่งทางหน่วยงานกองทุนฯแจ้งว่า สตง.และปปง. ต้องการให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการทุจริต จึงต้องกำหนดเงื่อนไขให้รัดกุม และอยากให้จัดประชุมอนุมัติงบฯทุกเดือน เนื่องจากปัญหาบอร์ดชุดใหญ่ นัดประชุมยาก ติดภาระกิจ  ชาวบ้านจึงได้รับอนุมัติงบล่าช้า.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password