Huawei APAC Digital Innovation Congress ชู ‘นวัตกรรมเพื่อเอเชียแปซิฟิกยุคดิจิทัล’

หัวเว่ยร่วมกับมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) จัดงาน Huawei APAC Digital Innovation Congress ที่สิงคโปร์ มีผู้ร่วมงานกว่า 1,500 คน จากกว่า 10 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ร่วมวางโครงสร้างอนาคตของนวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิทัล

หัวข้อการประชุมครอบคลุมเรื่องความรุดหน้าในเทคโนโลยีไอซีที การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตลอดจนการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

มร.เคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวเปิดงาน Huawei APAC Digital Innovation Congress และย้ำว่า หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกระดับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลสู่นโยบายเชิงกลยุทธ์ และร่วมสนับสนุนนโยบายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

“เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาเป็นเวลานาน และปัจจุบันก็มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลอีกด้วย”

ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระ กล่าวต่อไปว่า หัวเว่ยมีรากฐานหยั่งลึกในเอเชียแปซิฟิก และให้บริการลูกค้าในภูมิภาคมาเป็นเวลากว่า 30 ปี บริษัทได้ร่วมสนับสนุนการพัฒนาด้านดิจิทัลให้รุดหน้า และต่อจากนี้ จะมุ่งลงทุนต่อเนื่องด้านนวัตกรรมเพื่อเสริมศักยภาพของพันธมิตรให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาเชิงกลยุทธ์

“หัวเว่ยวางแผนสนับสนุนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มเติมด้านดิจิทัลและสิ่งแวดล้อมในปี 2565 ด้วยการเสริมศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เน้นการพัฒนาที่ลดการปล่อยคาร์บอน และสนับสนุนความเท่าเทียมในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล”

ดร.หยาง มี เอง กรรมการบริหารมูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า การรวมตัวที่แข็งแกร่งระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเท่านั้นที่จะร่วมสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในยุคดิจิทัลที่เท่าเทียมกันและพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต การประชุมเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญ เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาทักษะของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

มร.ไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับโอกาสมหาศาลด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและกล่าวถึงพันธกิจ “ในเอเชียแปซิฟิก สำหรับเอเชียแปซิฟิก” หรือ In Asia-Pacific, for Asia-Pacific ของหัวเว่ย เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรเพื่อสร้างวิถีชีวิตดิจิทัลที่ดีขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยย้ำว่า หัวเว่ยส่งมอบบริการเชื่อมต่อให้กับประชากรกว่า 90 ล้านครัวเรือนและผู้ใช้มือถือหนึ่งพันล้านคนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่ 4 ด้านการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (IaaS) ในตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์กำลังเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในด้านพลังงานเพื่อสร้างโลกอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ หัวเว่ยร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรและคลาวด์เกือบ 10,000 ราย และวางแผนการลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการ Spark เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มสตาร์ทอัพในเอเชียแปซิฟิก มีแผนจัดฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลให้ประชากรกว่า 170,000 คน และอีกกว่า 500,000 คนภายใน 5 ปี เพื่อพัฒนาอีโคซิสเต็มที่เปี่ยมศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้รุดหน้า

มร.สัตวินเดอร์ ซิงห์ รองเลขาธิการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจ ผู้ลงทะเบียนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นถึง 60 ล้านคนในอาเซียน ส่งผลให้มีฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใหญ่เป็นอันดับสาม ด้วยจำนวนผู้ใช้รวมเกือบ 400 ล้านคน

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ารายได้ด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนจะสูงถึง 363,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2568

สัตวินเดอร์ ซิงห์ ยังเสริมด้วยว่า การผนึกกำลังที่เข้มแข็งจากหลายฝ่ายรวมถึงภาคเอกชน จำเป็นอย่างยิ่งในการเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน

ขณะที่ ดร. เอช. ซานเดียกา ซาลาฮัดดิน อูโน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจนันทนาการของอินโดนีเซีย กล่าวถึงนวัตกรรมที่ผลักดันประเทศในยุคดิจิทัล ว่า เทคโนโลยี ‘Frontier’ ช่วยผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและนันทนาการในปัจจุบัน คือมาตรการยั่งยืนด้านสุขอนามัย, การดูแลสุขภาพ ตลอดจนความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ปรับเปลี่ยนได้เฉพาะบุคคลและกลมกลืนกับวิถีชีวิตท้องถิ่น

ด้าน ดาโตสรี ดร. อดัม บิน บาบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียเพิ่งเปิดตัวพิมพ์เขียวเศรษฐกิจดิจิทัล (MyDIGITAL) เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและยกระดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มการทำงานร่วมกัน และสร้างอุปสงค์สำหรับโซลูชันดิจิทัลที่พัฒนาโดยสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลท้องถิ่น รวมถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งด้านอุปกรณ์ งานระบบตลอดจนซอฟต์แวร์ที่ครอบคลุมถึงโปรแกรมและปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ผู้อภิปรายร่วมสรุปว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแบบดิจิทัลที่ก้าวหน้าและยั่งยืนนั้นขึ้นอยู่กับการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ นโยบายอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวย โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่แข็งแกร่ง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ครอบคลุม และอีโคซิสเต็มที่แข็งแกร่งของผู้เชี่ยวชาญทักษะดิจิทัล.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password