มุมกรุงไทย! เชื่อการค้าโลกปีหน้าหดตัว 2% ทำส่งผู้ออกไทยเผชิญเสี่ยงสูง

นักวิเคราะห์ Krungthai COMPASS คาดปีหน้า ผู้ส่งออกไทยต้องผจญความเสี่ยงจากความต้องการซื้อของตลาดโลกชะลอตัว ผลจากตัวเลขส่งออก พ.ย.65 ของไทย ติดลบ 6 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ระบุ ปริมาณการค้าโลกมีโอกาสหดตัว 0.2%

นายชนม์นิธิศ ไชยสิงห์ทอง นักวิเคราะห์จาก Krungthai COMPASS ให้มุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์การส่งออกของไทย หลังทางการไทยประกาศตัวเลขการส่งออกเดือน พ.ย.2565 ติดลบ  6.0%YoY หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่า มูลค่าส่งออก 11 เดือนแรก มีการขยายตัว 7.6% เฉพาะมูลค่าส่งออกเดือน พ.ย. อยู่ที่ 22,308 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวต่อเนื่องที่ 6.0%YoY จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 4.4%YoY ตามการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่อง จากการชะลอตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น จีน อาเซียน-5 และ CLMV โดยการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกขยายตัว 7.6% ส่วนการส่งออกทองคำเดือนนี้กลับมาหดตัว 54.4% ทำให้เมื่อหักทองคำแล้ว มูลค่าส่งออกเดือนนี้หดตัว 5.2%YoY

ด้านการส่งออกรายสินค้าบางส่วนหดตัวต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ -5.1%YoY หดตัวมาขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัว 3.5%YoY จากสินค้าที่เกี่ยวเนื่องจากน้ำมัน (-27.5%YoY) หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนตัวลง และการหดตัวต่อเนื่องของสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (-20.9%YoY) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-16.0%YoY) ตามอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี สินค้าหลายชนิดยังขยายตัวได้ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (+5.5%YoY) อัญมณีและเครื่องประดับ (+8.0%YoY) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+5.5%YoY) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+91.0%YoY) และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด (+73.5%YoY) เป็นต้น

ขณะที่ การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ -2.0%YoY หดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัว 3.4%YoY โดยการส่งออกข้าว (-4.7%YoY)และอาหารสัตว์เลี้ยง (-5.8%YoY) กลับมาหดตัว ขณะที่ ยางพารา (-34.2%YoY) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป (-7.8%YoY) หดตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี สินค้าหลายชนิดยังขยายตัวดี ได้แก่ ไก่สดแช่เย็น/แช่แข็ง/แปรรูป (+20.9%YoY) ผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/แห้ง (+7.5%YoY) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ  (+13.0%YoY) และน้ำตาลทราย (+43.4%YoY) เป็นต้น

สำหรับ การส่งออกรายตลาดส่วนใหญ่หดตัวต่อเนื่อง โดย ตลาดสหรัฐฯ พบว่า กลับมาขยายตัว 1.2%YoY โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องโทรสารและโทรศัพท์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และทรานซิสเตอร์และไดโอด เป็นต้น ขณะที่สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น (ส่งออก 11 เดือนแรกขยายตัว 15.3%)

ตลาดจีน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ -9.9%YoY โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/แห้ง และข้าว เป็นต้น (ส่งออก 11 เดือนแรกหดตัว

-6.5%)

ด้าน ตลาดญี่ปุ่น  หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ -4.6%YoY โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น (ส่งออก 11 เดือนแรกหดตัว -0.2%)

ส่วน ตลาด EU27  กลับมาขยายตัวที่ 0.4%YoY โดยสินค้าสำคัญขยายตัว ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องโทรสารและโทรศัพท์ ขณะที่สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และยางพารา เป็นต้น (ส่งออก 11 เดือนแรกขยายตัว 6.2%) 

ขณะที่ ตลาด ASEAN5 พบว่า หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ -15.5 %YoY โดยสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องสันดาปภายใน เป็นต้น ขณะที่สินค้าที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น (ส่งออก 11 เดือนแรกขยายตัว 13.1%)

สำหรับ มูลค่าการนำเข้าเดือน พ.ย. อยู่ที่ 23,650 ล้านดอลลาร์ฯ กลับมาขยายตัว 5.6%YoY จากเดือนก่อนที่หดตัว 2.1%YoY จากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเร่งขึ้น (+50.6%YoY) ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ขณะที่การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (-10.7%YoY) และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (-1.7%YoY) หดตัวต่อเนื่อง การนำเข้ารวม 11 เดือนแรกขยายตัว 16.3% ด้านดุลการค้าเดือน พ.ย. ขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ที่ระดับ -1,342 ล้านดอลลาร์ฯ โดยดุลการค้า 11 เดือนแรกขาดดุลสะสม -15,089 ล้านดอลลาร์ฯ

นักวิเคราะห์ Krungthai COMPASS คาดว่า ในปี 2566 ผู้ส่งออกไทยจะเผชิญความเสี่ยงจากอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวชัดเจน การส่งออกไทยในเดือน พ.ย. หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2566 จากเศรษฐกิจโลกที่แผ่วลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศหลักอย่าง สหรัฐฯ และยุโรป ที่อยู่ในภาวะชะลอตัวและเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยจากการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดทำให้ต้นทุนทางการเงินปรับสูงขึ้นท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในดับสูง ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แผ่วลง สะท้อนจากเครื่องชี้กิจกรรมการผลิต (Manufacturing PMI) ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ต่อเนื่องบ่งชี้ถึงภาคการผลิตที่มีแนวโน้มหดตัวในระยะข้างหน้า

นอกจากนี้ อุปสงค์ต่อสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคของโลกมีแนวโน้มชะลอลงหลังจากที่เติบโตได้ดีในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อนหน้านี้ ทำให้ความต้องการสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคเปลี่ยนไปสู่ความต้องการในภาคบริการมากขึ้น และออเดอร์คงค้าง (backlog order) ได้ทยอยคลี่คลาย ปัจจัยเหล่านี้จึงกดดันให้การส่งออกของไทยในปี 2566 มีแนวโน้มเติบโตได้ในระดับต่ำ สอดคล้องกับ Oxford Economics ที่ประเมินว่าปริมาณการค้าโลกในปี 2566 จะหดตัว 0.2% โดยกลุ่มประเทศในแถบเอเชียจะได้รับผลกระทบมากที่สุด.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password