เอสซีจี โชว์นวัตกรรมสีเขียว บน APEC 2022 Thailand

เอสซีจี จัดแสดงนวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บนเวที APEC 2022 Thailand โชว์ศักยภาพ พร้อมเชื่อมโยงทุกภาคส่วน ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ปรับตัวรับมือความท้าทายโลก ด้วยโซลูชันเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด และนวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดตัวผลงานชะลอม APEC 2022 Thailand จากนวัตกรรม CPAC 3D Printing หนึ่งเดียวในโลก สานต่อแนวทาง BCG

นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจี มีความตั้งใจนำความเชี่ยวชาญของเรา มาผสานศักยภาพกับทุกภาคส่วน เพื่อทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงโอกาสใหม่ ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ที่สมดุลทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยให้เกิดการรวมพลังทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยเอสซีจีได้จัดแสดงโซลูชันเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition Solutions) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ “พลังงานชีวมวล (Biomass)” จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สำหรับทดแทนพลังงานฟอสซิลในกระบวนการผลิต และ “SCG Cleanergy โซลูชันพลังงานสะอาดครบวงจร” ในรูปแบบ Smart Grid เครือข่ายอัจฉริยะจัดการพลังงานสะอาด เพื่อการซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้อย่างง่ายดาย

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวเสริมว่า “เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC พร้อมสานต่อแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG (Bio–Circular–Green Economy) โดยพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ “SCGC GREEN POLYMER” เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมทั้ง “ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีนสำหรับการผลิตพลาสติกชีวภาพ” โดยร่วมมือกับ Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล ตอบโจทย์ความต้องการใช้พลาสติกรักษ์โลกที่กำลังเติบโต”

เอสซีจี นำเสนอหลากหลายนวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ภายใต้แนวคิด Together to Sustainable Future” ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 14-19 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้เปิดตัว “ผลงานชะลอม ตราสัญลักษณ์ APEC 2022 Thailand” หนึ่งเดียวในโลก ผลิตจากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution เทคโนโลยีการพิมพ์ได้อย่างอิสระ สวยงามซึ่งเป็นการนำเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติ ขนาดใหญ่ ขึ้นรูปด้วยปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮดรอลิก คาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล สร้างเสร็จไว ช่วยลดวัสดุเหลือทิ้งอย่างน้อย 70% สามารถสร้างสรรค์ได้หลายรูปแบบ ทั้งงานก่อสร้าง และงานตกแต่ง ทั้ง เฟอร์นิเจอร์ หรือชิ้นงานตกแต่งแลนด์สเคปรวมทั้งสามารถพริ้นท์เป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง ซึ่ง “ผลงานชะลอม ตราสัญลักษณ์ APEC 2022 Thailand” นี้ จะร่วมมือกับ APEC 2022 Thailand นำไปวางเป็นบ้านปะการังเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่เสียหาย เพิ่มความหลากหลายระบบนิเวศทางทะเล ส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้ยั่งยืนให้ชุมชนต่อไป

นอกจากนี้ เอสซีจี ยังนำเสนอ “โครงการพัฒนาทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการ” เช่น วิสาหกิจชุมชน ช่างประจำบ้าน คนขับรถบรรทุก เพื่อเปิดกว้างโอกาส สร้างอาชีพรายได้มั่นคงให้ชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า “การประชุม APEC 2022 Thailand ได้นำแนวคิด BCG มาสานต่อเพื่อเปิดกว้างการค้าการลงทุน ส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งทุกเขตเศรษฐกิจให้ความสำคัญ โดยวางเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรยั่งยืน ซึ่งจะสำเร็จได้จำเป็นต้องรวมพลังและศักยภาพจากทุกภาคส่วนโดยภาคเอกชนไทยซึ่งมีความสามารถได้รับการยอมรับจากนานาประเทศจะเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการเชื่อมโยงโอกาสใหม่ ๆเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว หลังยุคโควิด 19”.

Login

Welcome! Login in to your account

Remember me Lost your password?

Lost Password